วิกฤตหรือโอกาส

วันนี้ขอพูดเรื่องการบริหารบริษัทอีกหนึ่งวัน โดยเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรม M&A ซึ่งมีความคิดแตกออกเป็น 2 แนว คือแนวทางเก่าและแนวทางใหม่


วันนี้ขอพูดเรื่องการบริหารบริษัทอีกหนึ่งวัน โดยเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรม M&A (การควบรวมบริษัท) ซึ่งมีความคิดแตกออกเป็น 2 แนว คือแนวทางเก่าและแนวทางใหม่

แนวทางเก่าคือแนวทางที่เรารู้จักกันโดยทั่วไป นั่นคือบริษัท A เข้าซื้อบริษัท B ทำให้บริษัท B กลายเป็นบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมทุนของบริษัท A งบการเงินของบริษัท B จะถูกผนวกเข้ากับบริษัท A เช่นกรณีของบริษัท Gulf ทุ่มเงินหนึ่งหมื่นกว่าล้านบาทเข้าซื้อกิจการบริษัท INTUCH จนได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกินกว่า 45% และรับเงินปันผลปีละกว่า 2,000 ล้านบาท โดยที่ INTUCH จะไม่มีการเติบโตอีกต่อไป

ส่วนอีกกรณีหนึ่ง (ในแนวทางเก่า) คือการที่ SCC เข้าซื้อหุ้น GLOBAL และแสดงเจตจำนงว่าจะถือหุ้นไม่เกิน 33% ซึ่งทำให้บริษัท GLOBAL กลายเป็นแค่บริษัทร่วมทุนที่งบไม่ผูกพันเข้ากับ SCC เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่รู้จักกันดีของการที่ผู้ล่าที่เติบโตมากกว่าผู้ถูกล่า

ส่วนแนวทางใหม่นั้นเกิดขึ้นกับธุรกิจ IT และโทรคมนาคมที่ผู้ถูกล่าได้รับประโยชน์มากกว่าผู้ล่า ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับ Apple Inc ที่ถูก Microsoft เข้าซื้อกิจการในช่วงวิกฤตการเงินแล้วถอนตัวออกมาเมื่อเวลาผ่านไปหลังจากมีกำไรจากหุ้นแล้ว และ Apple ได้กลายเป็นบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกหลัง Microsoft ถอนตัวออกมาแล้วนำเงินที่ได้จาก Apple ไปซื้อกิจการของ Nokia ของฟินแลนด์ ซึ่งปรากฏว่าผิดคาดเพราะ software ชื่อซิมเบียนของโนเกียไม่ได้รับความนิยมเมื่อเทียบกับ IOS ของ Apple จนกระทั่ง Microsoft ตัดสินใจลบแบรนด์ Nokia ออกจากตลาด กลายเป็นปรากฏการณ์ที่อื้อฉาวเรื่องการแต่งงานของผู้แพ้ที่ทำให้ Microsoft และ Nokia ต้องถอนตัวออกจากตลาดมือถือและอุปกรณ์พกพาตลอดไป ในขณะที่ Microsoft ยังจมปลักอยู่กับซอฟต์แวร์ในชื่อ Windows ที่มีมาร์เก็ตแชร์ลดลงจาก 95% เหลือเพียง 30% กว่าเท่านั้น

ปรากฏการณ์ของ Softbank ในตลาดโลกที่อาศัยทุนและประสบการณ์ล้วน ๆ โดยไม่พึ่งพางานวิจัยและงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) แต่เน้นการเข้าถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทไอทีและมือถือจำนวนมาก ได้สร้างปรากฏการณ์ที่ทำให้โลกรู้จัก Alibaba ซึ่งเป็น E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากจีน แล้วยังเข้าเทกโอเวอร์บริษัท Lazada จนกระทั่ง Lazada กลายเป็น E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

การเทกโอเวอร์กิจการและทำ M&A ได้กลายเป็นแนวทางเลือกใหม่ของบริษัท IT และ E-Commerce จากการเปลี่ยนมุมมองของผู้บริหารบริษัท Start-Up ใหม่ทั่วโลกที่มองว่าโอกาสในการขยายธุรกิจของตนเองนั้นสามารถกระทำผ่านประสบการณ์และพึ่งพาเทคโนโลยีกับเงินทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ตลาดโลกที่มีความต่างทางภาษาและวัฒนธรรมโดยการยืมมือของผู้อื่น

ธุรกรรมในแนวทางใหม่นี้ มองว่าวิกฤตจากการถูกเทกโอเวอร์ ได้กลายเป็นโอกาสเสมือนหนึ่งการเลี้ยงลูกให้เติบโตด้วยน้ำมือของผู้อื่น ถึงขนาดที่การเลี้ยงลูกโดยลำพังอาจทำให้ลูกไม่แข็งแกร่งพร้อมจะเผชิญหน้ากับโลกอันโหดร้ายที่รออยู่ข้างหน้า

มุมมองที่ขัดแย้งกันเองระหว่างแนวทางเก่าที่ถือว่าการถูกเทกโอเวอร์คือความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่นำไปสู่การสูญเสียธุรกิจของผู้ถูกล่า กับแนวทางใหม่ที่มองว่าการถูกล่าคือโอกาสของการเติบโตทางลัดยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพิสูจน์อีกยาวนาน

Back to top button