มายาและความจริงบนสื่อออนไลน์ (ต่อ)

เมื่อการกระทำให้เทคนิคการโฆษณาที่บริษัทแฝงการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยการโฆษณาที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม โดยมากจะปรากฏในภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์


เมื่อการกระทำให้เทคนิคการโฆษณาที่บริษัทแฝงการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยการโฆษณาที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม โดยมากจะปรากฏในภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์ การกระทำเช่นว่านี้เติบโตอย่างรุนแรงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มาพร้อมเรื่อง disruption ที่น่าสนใจ

การวางผลิตภัณฑ์ประกอบฉากเป็นยุทธวิธีการตลาดที่โดดเด่น เพราะเป็นการพยายามโฆษณาโดยตรงจากบริบทและสิ่งแวดล้อมที่มีสินค้าปรากฏอยู่หรือใช้สินค้าอยู่ นอกจากนั้นแล้วยังอาจช่วยในการหลีกเลี่ยงกฎหมายควบคุมโฆษณาได้อีกด้วย โดยสื่อจะกล่าวถึง แสดง หรือใช้ผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งโดยไม่ได้บอกชัดแจ้งว่าเป็นการโฆษณาหรือพื้นที่โฆษณา

ถือว่าเป็นการหลบสายตาของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมกฎอย่างสำนักงานกำกับดูแลผู้บริโภค (สคบ.) หรือหน่วยงานกำกับดูแลสื่อ

การวางผลิตภัณฑ์ประกอบฉากที่พบได้บ่อยคือการที่ตัวละครสำคัญในภาพยนตร์หรือละคร ใช้ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่หรือสินค้าที่มีลักษณะโดดเด่น โดยปรากฏให้เห็นตราสินค้าชัดเจน หรือใช้ผลิตภัณฑ์หนึ่งเป็นระยะเวลานาน (เช่น ใช้ตลอดทั้งเรื่อง) โดยปรากฏตราสินค้าเช่นกัน ซึ่งหากวางผลิตภัณฑ์ประกอบฉากได้อย่างแนบเนียนก็เป็นผลดีต่อผู้ชม เพราะการโฆษณาที่ดูยัดเยียดจะถูกแทนที่ด้วยความบันเทิง อีกทั้งยังอาจเป็นผลดีต่อผลิตภัณฑ์หรือยี่ห้อ เช่นการที่ตัวละครเอกใช้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่งอาจทำให้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนั้นมีภาพที่ดูดีขึ้นมาในความรู้สึกของผู้ชม หรือเป็นการตอกย้ำตราสินค้า ซึ่งติ่งซีรีส์เกาหลีจะคุ้นเคยกันดี กับมือถือซัมซุง หรือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างซับเวย์

อย่างไรก็ดี วิธีการวางผลิตภัณฑ์ประกอบฉากที่ไม่แนบเนียนก็มี เช่น การที่ภาพยนตร์หรือละครใส่ภาพตราสินค้าหรือภาพป้ายโฆษณาแทรกเข้ามาโดยไม่จำเป็น หรือถ่ายภาพสินค้าที่ตัวละครใช้โดยเน้นไปที่ตราสินค้าหรือเครื่องหมายการค้า ซึ่งผู้ชมมักดูออกว่าผู้ผลิตสื่อบันเทิงทำเช่นนั้นเพื่อขายโฆษณา หรือละครซิทคอมในประเทศไทยบางเรื่องนั้นบางฉากอาจมีตราสินค้าปรากฏให้เห็นพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก เช่นในฉากร้านขายของ เป็นต้น ซึ่งดูเป็นการจงใจขายโฆษณาเช่นกัน รวมไปถึงการที่ตัวละครพูดถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ หรือบทพูดมีลักษณะโฆษณา

ในเดือน เมษายน ค.ศ. 2006 นิตยสาร Broadcasting & Cable รายงานว่า 2 ใน 3 ของผู้โฆษณาได้ว่าจ้างผู้ให้ความบันเทิง วางผลิตภัณฑ์สินค้าประกอบฉาก การผสมผสานตราสินค้า เข้าไปถึง 80% ตัวอย่างการวางผลิตภัณฑ์ประกอบฉาก

  • ในภาพยนตร์เรื่อง ไอ โรบอท พิฆาตแผนจักรกลเขมือบโลก พระเอกของเรื่องกล่าวถึงรองเท้ายี่ห้อคอนเวิร์สของเขาอยู่หลายครั้ง และใช้รถยนต์เอาดี้ (รถยนต์ต้นแบบที่เข้ากับฉากยุคอนาคต ซึ่งไม่ได้มีจำหน่ายจริง แต่มีตราเอาดี้ปรากฏชัดเจน)
  • บริษัทผู้ผลิตรถยี่ห้อคาดิลแลคได้เลือกโฆษณากับภาพยนตร์เรื่อง เดอะ เมทริกซ์ รีโหลดเดด ทำให้ในหนังเรื่องนี้มีรถคาดิลแลค (เป็นรถรุ่นที่มีจำหน่ายอยู่จริง) ปรากฏอยู่ในฉากแอ็กชันสำคัญ
  • ภาพยนตร์เรื่องคนหลุดโลก (Cast Away) ตัวละครเอกเป็นพนักงานบริษัทเฟดเอกซ์ โดยมีตราเฟดเอกซ์ปรากฏชัดเจนในหลายฉาก
  • สายการบินแอร์เอเชียเป็นผู้สนับสนุนหลักของละครโทรทัศน์เกาหลีใต้เรื่อง On The Way To The Airport ทำให้ในละครนี้ปรากฏสายการบินนี้ในหลายฉาก รวมถึงตัวละครหลักได้แก่ พระเอกเป็นนักบินของสายการบิน และนางเอกเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบิน
  • ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ และภาพยนตร์ชุดทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มีการวางผลิตภัณฑ์ประกอบฉากเป็นจำนวนมากจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม

ในกรณีของตลาดทุนไทย โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ซึ่งโดยธรรมชาติของตลาดจะเน้นที่อัตราดอกเบี้ยซึ่งสัมพันธ์ในเชิงผกผันกับราคาตลาด กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเป็นขาขึ้น ราคาตราสารหนี้จะถดถอยลง หรือกลับกันถ้าอัตราดอกเบี้ยเป็นขาลงจะทำให้ราคาตราสารหนี้เพิ่มขึ้น  การทำ product placement จะช่วยได้เพียงระยะสั้น ๆ ซึ่งเรื่องนี้ตราสารหนี้ประเภท non-rating ถือว่าเป็นการฝืนธรรมชาติของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

Back to top button