ผู้ล้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ

มากันเกือบจะไล่เลี่ยกันทีเดียว ระหว่าง 3 หนุ่ม 3 มุมอันได้แก่เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี, กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และหนุ่มเมืองจันท์ คอลัมนิสต์ระดับอินฟลูเอนเซอร์


มากันเกือบจะไล่เลี่ยกันทีเดียว ระหว่าง 3 หนุ่ม 3 มุมอันได้แก่เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี, กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และหนุ่มเมืองจันท์ คอลัมนิสต์ระดับอินฟลูเอนเซอร์

จากพาดหัวข่าวประชาชาติธุรกิจว่า “แบงก์กำไรสูงสุด 2.2 แสนล้าน อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น” หนุ่มเมืองจันท์ สะท้อนออกมาทางเฟซบุ๊กตนเองว่า” อึ้งเลยครับ ผมไม่รู้ว่าแบงก์ชาติจะรู้สึกตงิดอะไรในใจบ้างไหม”

สะท้อนออกมาเช่นนี้ก็โดนสิครับ เพราะเรื่องนี้ติดค้างในใจคนอยู่แล้ว

นายกฯ เศรษฐาโพสต์ออกมานิ่ม ๆ ว่า ”แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยทั้ง ๆ ที่เงินเฟ้อติดลบติดต่อกันหลาย ๆ เดือนนั้น ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจเลย และยังมีผลกระทบต่อประชาชนที่มีรายได้น้อยและ SME อีกด้วย”

บุรุษที่ออกมาวิพากษ์แบงก์ชาติ ค่อนข้างเผ็ดร้อนที่สุด คือกิตติรัตน์ ณ ระนองโพสต์เฟซบุ๊กว่า ”ธุรกิจที่การแข่งขันต่ำ รวมหัวกัน “ทำกำไรสูง” บนความวินาศของลูกค้า ถือว่าน่ารังเกียจนัก และที่น่าตำหนิที่สุดคือ ผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรง ที่ (ไม่) กำกับดูแล

ครับในรอบ 2 ปี (65-66) แบงก์ชาติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายรวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง จากระดับ 0.50%-2.50%

“กิตติรัตน์” นามนี้ มีประวัติที่น่าจดจำอย่างยิ่งในการ “ล้างหนี้” กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) จำนวน 1,138,305.89 ล้านบาท อันเกิดจากการปิดสถาบันการเงินและการเยียวยาผู้ฝากเงินช่วงปี 2539-2541

นี่ก็เป็นผลงานการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นกัน รวมทั้งการนำเงินทุนสำรองไปต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินบาทด้วย

หนี้ FIDF ก้อนนี้ มีข้อตกลงความรับผิดชอบกันอยู่ว่า “ภาระรับผิดชอบเงินต้นเป็นของแบงก์ชาติ ส่วนภาระจ่ายดอกเบี้ยเป็นของกระทรวงการคลัง”

ดูไปแล้ว เหมือนจะดี! ที่ให้แบงก์ชาติผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สถาบันการเงินล้ม รับผิดชอบหนี้เงินต้น ซึ่งมีจำนวนสูงกว่าหนี้ดอกเบี้ยมากมายนัก

แต่ในความเป็นจริง แบงก์ชาติก็มีพ.ร.บ.ของตนเองในการจ่ายหนี้ว่า จะต้องมีผลประกอบการ ”กำไร” เท่านั้น หาก ”ขาดทุน” ห้ามจ่าย และแบงก์ชาติก็ขาดทุนมาโดยตลอด ภาระจึงตกหนักที่กระทรวงการคลังที่เฉือนรายได้จากภาษีอากรประชาชนไปจ่าย

จ่ายได้แต่ดอกเบี้ย ตกประมาณปีละ 60,000 ล้านบาท ถ้าจ่ายมา 10 ปีก็เท่ากับจ่าย 6 แสนล้านบาท ฟรี ๆ โดยหนี้เงินต้นไม่ลดสักบาทเดียว

กระทรวงการคลัง สมัยกิตติรัตน์ว่าการควบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จึง “ผ่าหลุมดำ” จากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก้อนโตก่อนนี้ โดยการออกพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555

โดยนำเงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ในอัตรา 0.46% ของฐานเงินฝาก ส่งเข้าไปที่กองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อนำไปทยอยใช้หนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย และนำส่งเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝากในอัตรา 0.01%

จนบัดนี้ เป็นเวลา 11 ปี กองทุนฟื้นฟูฯ มีผลงานการชำระหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ย จากยอดหนี้เงินต้น 1.14 ล้านบาทจนเหลือหนี้เงินต้น (ณ สิ้น ก.ย. 66) แค่ 625,422.50 ล้านบาท ลดลงไปถึง 5.13 แสนล้านบาท หรือกว่า45%

ถ้าไม่ใช้ความกล้าหาญ ที่ออกพ.ร.ก.ใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ของกิตติรัตน์ หนี้สาธารณะคงทะลุเกินกรอบ 70% ไปนานแล้ว ตั้งแต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์เป็นต้นมา

Back to top button