ตลาดตราสารหนี้กับมาตรการอุ้มคนรวย

ตลาดตราสารหนี้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดทุนไทยที่มีการวิเคราะห์วิจารณ์ต่ำมาก อาจจะเป็นตลาดที่เข้าถึงได้ยากเพราะการซื้อขายของตลาดรองนั้นมิได้ตรงตามตำราก็เป็นได้


ตลาดตราสารหนี้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดทุนไทยที่มีการวิเคราะห์วิจารณ์ต่ำมาก อาจจะเป็นตลาดที่เข้าถึงได้ยากเพราะการซื้อขายของตลาดรองนั้นมิได้ตรงตามตำราก็เป็นได้

ตลาดนี้ถือว่ามีการกำเนิดขึ้นมาอย่างซับซ้อน แล้วมีผู้เล่นในตลาดอย่างจำกัดจำเขี่ยโดยผู้เล่นที่มีหน้าตักสูง  ซึ่งได้แก่นักลงทุนสถาบันเป็นหลัก

โครงสร้างของตลาดตราสารหนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.ตลาดตราสารหนี้ภาครัฐหรือตลาดพันธบัตรซึ่งผู้ออกตราสารหนี้ประกอบด้วยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย    

2.ตลาดหุ้นกู้เอกชนที่มีเรตติ้ง

3.ตลาดหุ้นกู้ที่ไม่มีการให้เรตติ้ง

ซึ่งสองตลาดแรกไม่มีปัญหาอะไร  เพราะมีการควบคุมโดย ก.ล.ต. ส่วนตลาดที่สามนั้นก.ล.ต.ไม่ได้ควบคุมเพราะมีการขายหุ้นกู้ให้กับนักลงทุนในวงจำกัด ทำให้เกิดการเบี้ยวเมื่อถึงเวลาไถ่ถอนหรือชำระเงินต้นคืนให้กับผู้ซื้อ น่าจะเรียกว่าเป็นตลาดหุ้นกู้ขยะ หรือ Junk Bond ซึ่งหลายปีมานี้นักลงทุนในตลาดจะคุ้นเคยกับการเบี้ยวชำระเงินต้นเมื่อครบกำหนดชำระหรือไถ่ถอน

แต่ล่าสุดการเบี้ยวชำระหนี้ของหุ้นกู้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีการให้เรตติ้งอย่างบริษัท ITD และบริษัท สยามนุวัตรทำให้ตลาดหุ้นกู้เอกชนมีความเสี่ยงมากขึ้น  เพราะเจ้าของผู้ออกตราสารหนี้ที่เคยมีหลักประกันจากก.ล.ต.ก็สามารถเบี้ยวได้ด้วยการขอชำระเฉพาะดอกเบี้ยแต่ขอเลื่อนชำระเงินต้นออกไป

ปรากฏการณ์เบี้ยวชำระเงินต้นของตลาดตราสารหนี้เอกชนที่มีการให้เรตติ้งซึ่งเป็นภาวะสั่นสะเทือนวงการว่าถึงแม้ตลาดที่สองที่เคยเชื่อว่ามีความปลอดภัยค่อนข้างสูงมาถึงปัจจุบันนี้อาจจะไม่คุ้มค่าเสี่ยงเสียแล้ว ทำให้ภาวะตลาดตราสารหนี้ซึ่งที่ผ่านมายังคงคึกคักจากมูลค่าการซื้อขายกว่า 8.75 แสนล้านบาทต่อสัปดาห์น่าจะหดหายลงไป ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดทุน

Back to top button