BBL กำไรเพิ่มขึ้น 42% สวนทางราคาหุ้น

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL และบริษัทย่อย รายงานกำไรสุทธิปี 2566 จำนวน 41,636 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.1% จากปีก่อน


ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL และบริษัทย่อย รายงานกำไรสุทธิปี 2566 จำนวน 41,636 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.1% จากปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 28.0% จากการเพิ่มความเข้มงวดกับคุณภาพของสินเชื่อที่หันมาเน้นที่รายใหญ่มากกว่ารายกลางและรายย่อย ทำให้อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาวะอัตราดอกเบี้ยสุทธิกับต้นทุนเงินรับฝากที่ทยอยเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก รวมถึงการปรับอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าสู่ระดับเดิมตั้งแต่ต้นปี 2566 ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 3.02%

กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นถือเป็นสถิติใหม่ของธนาคารแห่งนี้ที่ทำให้มีกำไรสุทธิต่อหุ้นมากถึง 21 บาท ส่งผลต่อบุ๊กแวลูของธนาคารให้เพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาหุ้นในท้องตลาดที่ยังต่ำเตี้ยใต้ 145 บาท หรือแค่ 0.52 เท่าของบุ๊กแวลู

ราคาหุ้นที่ต่ำเตี้ยน่าจะเป็นโอกาสของการซื้อเพื่อรับเงินปันผลหรือเพื่อเก็งกำไรก็ได้

การที่ฝ่ายบริหารของธนาคารได้รายงานว่า รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงเล็กน้อย จากธุรกิจหลักทรัพย์ตามปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ลดลง ขณะที่ค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวมและธุรกิจบัตรเครดิตปรับตัวดีขึ้น สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 18.5% ตามการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และส่วนหนึ่งจากค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่าย  ต่อรายได้จากการดำเนินงานลดลงอยู่ที่ 48.8%

ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารมีการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 4 ปี 2566 ธนาคารจึงตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง 18.1% จากไตรมาสก่อน ส่งผลให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2566 มีจำนวน 33,666 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน

ธนาคารกรุงเทพยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพฐานะการเงิน สภาพคล่อง และเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2566 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,671.96 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปีก่อน โดยมีสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่เพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายกลางและรายปลีกลดลง

สำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ที่ 2.7%  ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารยึดหลักการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังและรอบคอบอย่างต่อเนื่องทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 314.7% สูงเกินจริงไปอย่างมาก

ธนาคารมีเงินรับฝาก ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2566 จำนวน 3,184.28 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นปีก่อน และมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ 83.9%  ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ 19.6%, 16.1% และ 15.4% ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีตามค่าใช้จ่ายในหมวดบริการ รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตามภาคการส่งออกยังคงชะลอตัว ตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่อ่อนตัว

สำหรับในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเติบโตในอัตราที่ชะลอลงของประเทศเศรษฐกิจหลัก ผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ คงดอกเบี้ยไว้ในระดับที่สูงเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ  การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจกระทบต่อการส่งออกและภาคการผลิตของไทย ตลอดจนปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีตามค่าใช้จ่ายในหมวดบริการ รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกยังคงชะลอตัว ตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่อ่อนตัว สำหรับในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเติบโตในอัตราที่ชะลอลงของประเทศเศรษฐกิจหลัก

ผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ คงดอกเบี้ยไว้ในระดับที่สูงเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจกระทบต่อการส่งออกและภาคการผลิตของไทย ตลอดจนปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ธนาคารกรุงเทพตระหนักถึงความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตของลูกค้า จากเศรษฐกิจที่ยังคงมีความไม่แน่นอน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่กระทบการดำเนินธุรกิจ บริบทโลกที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎเกณฑ์ของทางการ ธนาคารกรุงเทพในฐานะ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” จึงมุ่งเน้นให้คำแนะนำและสร้างองค์ความรู้ด้านธุรกิจในเชิงลึก ให้สามารถปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม พร้อมสนับสนุนการสร้างพันธมิตรในระบบนิเวศทางธุรกิจ และการลงทุนใหม่ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ธนาคารมีความพร้อมที่จะดูแลลูกค้าให้ได้ประโยชน์จากโอกาสในการขยายกิจการไปยังต่างประเทศเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

นโยบายของผู้บริหารที่ค่อนข้างระมัดระวังอย่างมากคาดว่าจะทำให้ธนาคารยังคงมีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่องในปีนี้ แม้จะไม่มีความหวือหวาของนโยบายและธุรกรรมการปล่อยสินเชื่อ ในขณะที่ผลงานในการควบคุมคุณภาพสินเชื่อในปีที่ผ่านมาได้สร้างกำไรมากมาย

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการซื้อหุ้นธนาคารก็ถือเป็นข่าวดีที่ได้ซื้อหุ้น BBL ในราคาต่ำเพียงครึ่งหนึ่งของบุ๊กแวลู

Back to top button