Influencer Marketing อาวุธลับการตลาดยุคใหม่
หลายปีที่ผ่านมา “พฤติกรรมการบริโภคและการซื้อสินค้า” จะมีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าก่อนแล้วหรืออาจเลือกซื้อสินค้าจากคำแนะนำของบุคคลที่ตนเองรู้สึกเชื่อถือและบุคคลนั้นอาจไม่ใช่เพื่อนหรือคนที่ใกล้ชิด
หลายปีที่ผ่านมา “พฤติกรรมการบริโภคและการซื้อสินค้า” จะมีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าก่อนแล้วหรืออาจเลือกซื้อสินค้าจากคำแนะนำของบุคคลที่ตนเองรู้สึกเชื่อถือและบุคคลนั้นอาจไม่ใช่เพื่อนหรือคนที่ใกล้ชิด แต่อาจเป็นบุคคลในโลกออนไลน์ ที่มีความชอบและความสนใจคล้าย ๆ กัน หรืออาจเป็นบุคคลที่ถูกมองว่ามีความเชี่ยวชาญพิเศษ ที่เรียกว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้า หรือที่รู้จักกันว่า Influencer นั่นเอง..
จึงทำให้เกิดกลยุทธ์การตลาดใหม่ ที่เรียกว่า Influencer marketing เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การตลาดยุคใหม่ ที่มีสื่อออนไลน์เป็นตัวนำ..ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าต่าง ๆ
ผลการศึกษาของ Partipost แพลตฟอร์มการตลาด Influencer Marketing บ่งชี้ว่าปี 2567 การตลาดแบบ Influencer Marketing จะได้รับความนิยมสูงขึ้น กลายเป็นแกนหลักในการดำเนินกลยุทธ์ของนักการตลาด โดยนักการตลาด 67% ระบุว่าจะเพิ่มงบการตลาดให้กับกลยุทธ์แบบ Influencer Marketing ช่วงปีนี้ และอีก 23% ระบุว่าจะเพิ่มงบที่ใช้สำหรับกลยุทธ์ Influencer Marketing ดังกล่าว
ที่สำคัญคือจะจัดสรรงบการตลาดเกือบครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด ให้กับการตลาดแบบ Influencer Marketing อีกด้วย
อิทธิพลของ Influencer marketing ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถูกผลักดันจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคปัจจุบันต่างโหยหาความเป็นของแท้ (Authenticity), การตอบสนองที่เฉพาะตัว (Personalization) และเนื้อหาที่สอดคล้องกับประสบการณ์และแรงบันดาลใจเฉพาะเจาะจง..
สำหรับ Influencer Marketing คือ การตลาดโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง มาช่วยในการโฆษณา ช่วยรีวิวสินค้า ช่วยแนะนำบริการให้สินค้าและบริการให้กับแบรนด์ โดยกลุ่ม Influencers ส่วนใหญ่จะใช้ช่องทางออนไลน์อย่างเช่น Facebook Instagram (IG), Youtube และ Tiktok เป็นช่องทางให้การโฆษณา, รีวิวสินค้า, รีวิวบริการ ของแบรนด์ ส่วน Influencer คือผู้มีอิทธิพล ไม่ว่าจะเป็นทางความคิดและการตัดสินใจของผู้บริโภค..โดย Influencer จะแบ่งเป็น…
–Micro Influencers (มีผู้ติดตาม 10,000-100,000 คน) คือกลุ่ม Influencer ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,000-100,000 คน ถึงแม้จะมีผู้ติดตามไม่มาก แต่มี Impact กับแบรนด์หรือตัวสินค้ามากพอสมควร เพราะเป็น Influencer เฉพาะด้าน
ข้อดีของ Micro influencer กลุ่มนี้คือ มีประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ติดตาม จากแนวทาง content ชัดเจน และเราสามารถจ้าง Influencers กลุ่มนี้ได้ตรงกับจุดประสงค์ของสินค้าเราได้
–Macro Influencer (มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100,000–1,000,000 คนขึ้นไป) กลุ่มนี้เป็นกลุ่ม Influencers ที่มีความเป็นมืออาชีพในการทำ Content, มีความโดดเด่นและมีแนวทางของ Channel ตัวเองชัดเจน สิ่งที่เราคาดหวังจาก influencers กลุ่มนี้คือ Brand Awareness เพราะการทำ content จะผ่านการคิด การวาง flow ของการเล่าเรื่องและการเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด และเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนที่เยอะ
–Mega Influencer (มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1 ล้านคนขึ้นไป) ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่มีชื่อเสียง เช่นดารา, นักร้อง, นักกีฬา หรือผู้เชี่ยวชาญที่เฉพาะด้านที่ผู้คนให้การยอมรับ สำหรับ Influencer กลุ่มนี้จะเหมาะสมที่จะสร้าง Brand Awareness และต้องการเข้าถึงคนจำนวนมากแบบไม่เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
อย่างไรก็ดียังมี Influencer อีกประเภทคือ Nano Influencers (มีผู้ติดตามตั้งแต่ 200-5,000 คน) ที่กำลังถูกจับตามองของนักการตลาด แม้ว่าจะมีผู้ติดตามน้อย แต่มีอัตราการมีส่วนร่วมสูง สร้างความรู้สึกการเป็นชุมชนใกล้ชิดและได้รับความไว้วางใจจากผู้ชมอย่างมาก และความรู้สึกว่าเป็นของแท้ (Authenticity) ทำให้กลุ่มมีประสิทธิภาพในการตลาดแบบปากต่อปาก และมีอิทธิพลที่เหนียวแน่นต่อการตัดสินใจซื้อภายในชุมชนอย่างชัดเจน
แหละนี่คือหนึ่ง “อาวุธลับทางกลยุทธ์การตลาด” เทรนด์ใหม่ที่น่าจับตาและทรงอิทธิพลมากขึ้นต่อการสื่อสารทางการตลาดยุคสื่อสารยุคใหม่..นั่นเอง