สินค้าโภคภัณฑ์สู่ภาวะตึงตัว.!

“ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity)” ทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะ “ตึงตัวเป็นพิเศษ” ท่ามกลางการหยุดชะงักหรือความยุ่งเหยิงหลายด้านและการขาดแคลนการลงทุน


“ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity)” ทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะ“ตึงตัวเป็นพิเศษ” ท่ามกลางการหยุดชะงักหรือความยุ่งเหยิงหลายด้านและการขาดแคลนการลงทุน อันสืบเนื่องมาจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และด้านสภาพภูมิอากาศ กำลังทำให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น

“พอล บล็อกซ์แฮม” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ HSBC กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก กำลังอยู่ในภาวะ “ตึงตัวเป็นพิเศษ” นั่นหมายความว่าจากการขับเคลื่อนของราคา ที่สูงขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ โดยข้อจำกัดทางปริมาณการผลิตหรือซัพพลาย ที่สูงมากกว่าการเติบโตของอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง

โดย “บล็อกซ์แฮม” ระบุว่า หากปัญหามาจากข้อจำกัดด้านซัพพลาย ซึ่งได้ขับเคลื่อนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้สูง จะเป็นเรื่องที่แตกต่างกันอย่างมากสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ราคาสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากภาวะตึงตัวเป็นพิเศษนี้จะไม่เป็นในเชิงบวก

ปัจจัยหลายอย่างของภาวะตึงตัวเป็นพิเศษ ที่ฝังลึกมากขึ้นจากฝั่งปริมาณการผลิตหรือซัพพลาย คล้ายกับว่ายังกำหนดให้มีบทบาทสำคัญในการทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเน้นย้ำถึงปัจจัย อย่างเช่น ความไม่แน่นอนทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขาดแคลนการลงทุน ไปสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดหรือพลังงานสีเขียว

ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์รวมถึงความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่ต่อเนื่อง ระหว่างอิสราเอลและฮามาส และสงครามยูเครน ทำให้การค้าระหว่างประเทศทั่วโลกต้องหยุดชะงัก อย่างที่เห็นในภาวะชะงักงันหรือความยุ่งเหยิง จากการโจมตีล่าสุดของกลุ่มฮูตีในทะเลแดง

อีกเหตุผลหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักลง เช่นเดียวกันกับปริมาณการผลิตของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่องว่างที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม 

การพยายามให้ถึงความต้องการของปริมาณคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต (net-zero) ของโลกได้กระตุ้นอุปสงค์ของโลหะที่ใช้เปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเช่น ทองแดงและนิกเกิล (Nickel)

อย่างไรก็ตามการลงทุนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งจะมีการจัดสรรไปยังการจัดหาแร่ธาตุ ที่มีความสำคัญอย่างมากเหล่านี้ ได้นำไปสู่ภาวะที่ตึงตัว หรือกดดันรุนแรงมากขึ้นต่อโลหะที่ใช้ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทองแดง, อลูมิเนียมและนิกเกิล

ขณะที่คณะกรรมการด้านเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transitions Commission หรือ ETC) ระบุในรายงานเดือน ก.ค. 2567 ว่า ขณะที่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานมีอัตราเร่งสูงมากขึ้น ตลาดอาจถึงการขาดแคลน ในปริมาณมากของโลหะอย่างเช่น แกรไฟต์ (graphite), โคบอลท์ (Cobalt), ทองแดง, นิกเกิล และลิเธียม (lithium) ในทศวรรษหน้า

รายงานจาก ETC ระบุอีกว่า เงินทุนที่ใช้ในการลงทุนรายปีในโลหะเหล่านี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 2 ทศวรรษล่าสุดที่ผ่านมา และต้องเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ต่อเนื่องจนถึงปี 2573 เพื่อรับประกันถึงการไหลเวียนที่เพียงพอของอุปทานหรือปริมาณการผลิตดังกล่าว

Back to top button