‘ญี่ปุ่น’ สิ้นสุดดอกเบี้ยติดลบ.!?

ช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา “ตลาดหุ้นญี่ปุ่น” ปรับลงกว่า 3% หลังจากปรับขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่กว่า 40,400 จุด หรือสูงสุดรอบ 34 ปี


ช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา “ตลาดหุ้นญี่ปุ่น” ปรับลงกว่า 3% หลังจากปรับขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All-Time High) ที่กว่า 40,400 จุดหรือสูงสุดรอบ 34 ปี เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 67 การปรับตัวลงดังกล่าวนอกเหนือไปจากการขายทำกำไรปกติทั่วไปแล้ว

อีกปัจจัยหนึ่งนั่นคือ..ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ออกมาส่งสัญญาณ “การยุติดอกเบี้ยขาลง” ช่วงเวลาอันใกล้นี้

สำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กำลังมีแนวคิดจะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบช่วงเดือน มี.ค.นี้ บนความคาดหวังของการปรับขึ้นค่าจ้าง ที่แข็งแกร่งจากการเจรจาปรับค่าจ้างประจำปีปีนี้

โดยการยกเลิกนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ธนาคารกลางญี่ปุ่น น่าจะมีการปรับปรุงโครงการกระตุ้นทางการเงินขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษของธนาคารกลางญี่ปุ่น อันประกอบด้วยการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและการซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นความต้องการที่คล้ายกัน เนื่องจากไม่มีฉันทามติหรือความเห็นสอดคล้องกันภายในกรรมการนโนบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นว่าจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวในการประชุม 18-19 มี.ค.นี้ หรือระงับการสิ้นสุดมาตรการออกไปก่อนอย่างน้อยจนกว่าหลังผลการประชุมวันที่ 25-26 เม.ย. 67

ผู้กำหนดนโยบายการเงิน BOJ หลายคนกำลังเฝ้าติดตามผลลัพธ์ของการเจรจาปรับค่าจ้างประจำปีของบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งกับสหภาพแรงงานวันที่ 13 มี.ค. 67 และผลการสำรวจครั้งแรกจะเปิดเผยโดยสมาพันธ์สหภาพแรงงานญี่ปุ่น (Rengo) วันที่ 15 มี.ค. 67

เพื่อพิจารณาหาช่วงเวลาเหมาะสม ที่จะยุติโครงการกระตุ้นทางการเงินขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษ..!?

การปรับขึ้นค่าจ้างที่มีนัยสำคัญเป็นไปได้ว่าจะเพิ่มโอกาสเกิดขึ้นได้เดือน มี.ค.นี้ เนื่องจากข้อเสนอโดยบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งโดยปกติจะกำหนดลักษณะทั่วไปของพวกเขาจากบริษัทขนาดเล็กทั่วประเทศ

โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดหวังว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างที่แข็งแกร่ง จะโน้มน้าวผู้บริโภคทั้งหลายให้จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และนั่นจะช่วยสนับสนุนดีมานด์และราคาสินค้าและบริการ หลังจากผ่านช่วงเวลาหลายปีของภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (stagnation) และภาวะเงินฝืด (deflation)

อีกมุมมองหนึ่งสะท้อนความเห็นว่า “หากผลลัพธ์ของการเจรจาเรื่องค่าจ้างฤดูใบไม้ผลินี้ ออกมาแข็งแกร่ง BOJ อาจไม่จำเป็นที่จะต้องรอจนถึงเดือน เม.ย. 67”

แต่ทว่า BOJ อาจยับยั้งไว้ก่อนจนกว่าจะถึงเดือน เม.ย. ถ้าสมาชิกในคณะกรรมการหลายคนพอใจมากกว่าในการรอผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ “ทังกัน (tankan)” และมุมมองค่าจ้างในรายงานผู้จัดการสาขาในระดับภูมิภาคทั่วประเทศ ที่จะเปิดเผยในเดือน เม.ย. 67 ก่อนที่จะตัดสินใจขั้นสุดท้าย

ขณะที่ “เงินเยน” ญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ จากการเก็งกำไรว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจยุตินโยบาย อัตราดอกเบี้ยติดลบเร็ว ๆ นี้ และเดิมพันถึงการหั่นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ใกล้เข้ามา

ล่าสุดเงินเยนแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 146.63 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการแข็งค่าสุดนับตั้งแต่ต้นก.พ.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ BOJ ตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อระยะยาวที่ระดับ 2% พร้อมชี้นำอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ -0.1% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ที่ระดับ  0% ภายใต้นโยบายที่เรียกกันว่า “การคุมเส้นโค้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตร” (yield curve control หรือ YCC) นั่นเอง

กรณีการดึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นออกจากขอบเขตที่ติดลบ มีการประเมินว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น น่าจะต้องยกเลิกเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี..

Back to top button