พรรคเพื่อไทยกับเงินให้ฟรีประชาชนคนละ 10,000 บาท
ในที่สุดหลังจาก เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีออกคำชี้แจงกับสื่อเรื่องให้ฟรีประชาชนอายุเกิน 16 ปีผ่านดิจิทัลวอลเล็ตก็ออกมาเป็นรูปเป็นร่างเสียที
ในที่สุดหลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ออกคำชี้แจงกับสื่อเรื่องให้ฟรีประชาชนอายุเกิน 16 ปี ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตก็ออกมาเป็นรูปเป็นร่างเสียที ซึ่งได้ถือว่าเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญแม้ว่าจะผิดรูปผิดร่างจากต้นฉบับเดิมที่เคยหาเสียงก่อนการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมเมื่อปีที่ผ่านมา
นายเศรษฐาอ้างว่าได้รับการหารือจากแบงก์ชาติและกฤษฎีกาว่าสามารถกระทำได้โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้
ข้อที่ 1 เงินที่ให้คนละ 10,000 บาทจะไม่ให้กับทุกคนโดยตัดสิทธิ์ผู้มีรายได้เกินเดือนละ 70,000 บาท และหรือผู้มีเงินฝากในรูปต่าง ๆ เกินกว่า 500,000 บาท
ข้อ 2 ผู้ที่จะได้รับเงินจะต้องแสดงตัวตนหรือ KYC กับแอปพลิเคชันที่รัฐบาลกำหนดซึ่งยังไม่ได้ออกมา
ข้อ 3 เงินดังกล่าวต้องใช้หมดภายในหกเดือนเพื่อซื้อสินค้าบริโภคจากร้านค้าที่เข้าสู่ระบบ VAT ของกระทรวงการคลังโดยขยายพื้นที่จากร้านค้าชุมชนภายใน 4 กิโลเมตรเป็นอำเภอ
ข้อ 4 เงื่อนไขเวลาการใช้เงินคือ 6 เดือนแต่อาจยืดหยุ่นเป็น 1 ปีได้
เงื่อนไขดังกล่าวทำให้เห็นว่าเงินที่รัฐบาลจะให้ฟรีประชาชนนั้นจะไม่ทำให้รัฐบาลเสียวินัยทางการคลังซึ่งมีความหมายว่ารัฐบาลจะได้รับเงินกลับคืนเป็นรูปภาษี VAT อย่างเต็มที่เพราะเงินที่ให้ประชาชนนั้นประชาชนจะไม่ได้จับเงินซะเองซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลได้ผ่านเห็นชอบจาก ป.ป.ช. ไปแล้ว
นโยบายดังกล่าวคือการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างอุปสงค์เทียมในระบบเศรษฐกิจ
วิธีกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างอุปสงค์เทียมนี้คล้าย ๆกับ โครงการ NEW DEAL ของสหรัฐฯ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตลาดหุ้นของสหรัฐฯ ปี 1928 ที่มีการออกแสตมป์อาหารเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ อย่างเร่งด่วนมาแล้ว
เพียงแต่ของไทยนั้นยังไม่เคยมีการกระทำโดยการเอาเงินสดมาแจกประชาชนในรูปดิจิทัลวอลเล็ตโดยรัฐบาลเป็นคนแทรกแซงเศรษฐกิจโดยผ่านนโยบายประชานิยมหรือ POPULISM ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จะมองเป็นมาตรการชั่วคราวที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
เพียงแต่การใช้เงินงบประมาณบวกกับเงินกู้บางส่วนที่คิดว่าจะมีวงเงินขั้นต่ำ 3.5 ถึง 5.0 แสนล้านบาทน่าจะเป็นความเสี่ยงในทางการก่อหนี้ของรัฐบาลในอนาคตเพราะว่านโยบายที่ได้ใช้เงินนี้มีผลจริงก็อาจจะเกิดการเสพติดด้านนโยบายตามมา
ในทางเศรษฐกิจที่เป็นจริงแม้จะยังไม่สามารถคาดการณ์ผลรับที่แท้จริงออกมาได้แต่เชื่อว่าในทางการเมืองนโยบายนี้จะได้ถูกจารึกในประวัติศาสตร์แบบเดียวกับนโยบายเงินชั้นในของพรรคกิจสังคมในยุค ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช และนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคของพรรคไทยรักไทย
เสียงต่อต้านและสนับสนุนรัฐบาลในการให้เงินสดฟรีประชาชนที่ออกมาอึงคะนึงในยามที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันและอนาคต ถือเป็นการตอกย้ำความสำเร็จของพรรคเพื่อไทยในความดื้อรั้นผลักดันนโยบายที่เสมือนหนึ่ง “เป็นความฝันกลางฤดูฝน” อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สุ่มเสี่ยงของการเมืองไทย