ดักเก็บแบงก์ดีหรือเปล่า
หุ้นกลุ่มธนาคารราคาปรับลงต่อเนื่อง ปัจจัยหลักที่กดดันมาจากเรื่องดอกเบี้ยนโยบายที่ กนง. อาจปรับลงในการประชุมของวันที่ 10 เม.ย.นี้
หุ้นกลุ่มธนาคารราคาปรับลงต่อเนื่อง
ปัจจัยหลักที่กดดันมาจากเรื่องดอกเบี้ยนโยบายที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. อาจปรับลงในการประชุมของวันที่ 10 เม.ย.นี้ และอีกครั้งคือในช่วงครึ่งปีหลัง
นักลงทุนนอาจจะกังวลเรื่องส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหรือ NIM ที่จะแคปลง
จากดอกเบี้ยที่เป็นขาลง
4 แบงก์ใหญ่ KBANK BBL SCB KTB ต่างถูกคาดหมายจะได้รับผลกระทบมากสุด
แต่ในความเป็นจริงแล้ว NIM ที่ปรับลง อาจไม่ใช่ปัจจัยที่เป็นนัยสำคัญมากนักก็ได้ เพราะมีการบอกว่า NIM ไม่ใช่เป็นทุกอย่างสำหรับแบงก์
แม้ว่าแบงก์จะมีอัตรากำไรสุทธิมาจากดอกเบี้ยมากสุด
เพราะแม้ว่าแบงก์อาจจะมี NIM ลดลง
แต่หากในปีนั้น ๆ รายจ่ายต่าง ๆ ของแบงก์ปรับลงมาด้วย
นั่นหมายความว่า กำไรของหุ้นแบงก์อาจไม่ได้รับผลกระทบ และในทางกลับกัน กำไรมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้
เช่น แบงก์แห่งหนึ่งมีรายได้ดอกเบี้ยลดลง
แต่ในปีนั้น ๆ เขาอาจะมีการตั้งสำรองลดลงจากเอ็นพีแอลที่ลดลง หรือไม่ได้มีการตั้งสำรองพิเศษ เช่นเดียวกับปีก่อน
รวมถึงอาจจะมีรายจ่าย ๆ อื่น ลดลงด้วย
ส่งผลให้อัตรากำไรยังคงอยู่ในระดับที่ดี หรืออาจจะมากกว่าปีก่อนหน้า และส่งผลบวกมายังอัตราการจ่ายเงินปันผลที่สูงขึ้น มี Dividend yield น่าสนใจ
ล่าสุด บทวิเคราะห์ของกรุงศรี พัฒนสิน ได้คาดการณ์กำไรสุทธิของแบงก์ 7 แห่งสำหรับงวดไตรมาส 1/2567
จะรายงานกำไรรวมกันที่ 5.03 หมื่นล้านบาท
หลัก ๆ ยังคงมาจากส่วนต่างดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยรับของเงินให้สินเชื่อเฉลี่ย (Yield on Loans) ตามทิศทางดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น
ภาพรวมของกำไรที่เพิ่ม หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
จะมาจากการตั้งสำรองที่ลดลง
เพราะในช่วงไตรมาส 4 แบงก์จะมีการตั้งสำรองกรณี บมจ.อิตาเลียนไทย หรือ ITD ไว้ค่อนข้างมาก
ด้านคุณภาพสินทรัพย์ NPL Ratio อยู่ที่ 3.87% เพิ่มจากไตรมาส 4/2566 ที่ 3.59% เป็นผลมาจากการตกชั้นของลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่ง (คาด คือ ITD)
ประเด็นที่น่าสนใจคือ กลุ่มแบงก์ยังมีความแข็งแกร่งด้านการเงินอย่างมาก
นั่นคือ ความเพียงพอเรื่องการตั้งสำรองต่อพอร์ต Coverage Ratio ที่ 173% ใกล้กับไตรมาส 4/2566 ที่ 186%
ส่วนของภาพรวมกำไรสุทธิในปี 2567 คาดที่ 2.05 แสนล้านบาท เติบโต 5% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ย (NII) และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-NII)
นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ลดลงจาก 2566 มีการตั้งค่าใช้จ่ายสำรองก้อนใหญ่ของ KBANK, KTB, SCB และ TTB
โดยสรุป ปี 2567 อัตรากำไรสุทธิของหุ้นแบงก์ยังคงเพิ่มขึ้นจากปี 2566 แม้ว่าจะมีการคาดการณ์กันว่า ดอกเบี้ยครึ่งหลังของปีนี้เป็นขาลง และส่งผลมายังส่วนต่างดอกเบี้ย
แต่จะเห็นว่า ไม่ได้กระทบกับกำไรมากนัก อย่างมีนัยฯ สักเท่าไหร่
ขณะที่ราคาหุ้นแบงก์ที่ปรับลง โดยเฉพาะ KBANK กับ BBL
อาจจะเป็นโอกาสในการสะสม
หรือหุ้นอย่างกรุงไทย และ เอสซีบี เอกซ์ ที่มีผลตอบแทนเงินปันผลค่อนข้างสูง
หากราคาย่อตัวลงมา อาจจะเป็นจังหวะดักเก็บแบบค่อย ๆ เข้าทีละไม้
ส่วนตัวนั้น มอง่วากลุ่มแบงก์เล่นค่อนข้างง่ายสุด และปลอดภัยสุดละ
หากราคาย่อหรือมีแรงกระแทกลงมา เป็นจังหวะซื้อ
และเมื่อราคาขึ้น ถือเป็นจังหวะขาย