อนาคตของรัฐอิสราเอล ตอนที่หนึ่ง

ไม่ว่ามุมมองของชาวโลกที่มีต่อรัฐอิสราเอลและชาวยิวที่กำลังทำตัวเป็นผู้รุกรานและรังแกชาวปาเลสไตน์อย่างโหดร้าย


ไม่ว่ามุมมองของชาวโลกที่มีต่อรัฐอิสราเอลและชาวยิวที่กำลังทำตัวเป็นผู้รุกรานและรังแกชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์อย่างโหดร้ายและใจแคบ ได้ทำลายภาพลักษณ์ดั้งเดิมของชาวยิวในประวัติศาสตร์ยุคกลางและยุคใหม่ของยุโรป

ในประวัติศาสตร์ยุคกลางของยุโรปนั้นชาวยิวถูกปฏิบัติในฐานะคนนอกสังคมและมีพิธีกรรมโปกรอมซึ่งหมายถึงการฆ่าสังหารหมู่ชาวยิวเพื่อล้างหนี้ที่พวกเจ้าฟิวดัลของยุโรปติดหนี้ชาวยิวไว้จนต้องหาวิธีล้างหนี้อย่างโหดเหี้ยมเพราะถือว่าชาวยิวซึ่งหารายได้จากเงินกู้เป็นหลัก เป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับหลักการของศาสนาคริสต์ทำให้ถือว่าชาวยิวที่ถูกฆ่านั้นก็เหมือนคนที่ตายไปแล้ว

ส่วนในยุคใหม่ แม้ว่านโปเลียน โมนาปาร์ต จะได้ใช้หลักการของการปฏิวัติฝรั่งเศสในเรื่องของความเสมอภาค เสรีภาพ และภราดรภาพ มายกฐานะของชาวยิวให้สูงขึ้นโดยยอมรับฐานะของศาลยิวที่ชื่อซานเฮนดรินว่ามีสิทธิตัดสินคดีความได้เหมือนศาลยุติธรรมทั่วไป  แต่ชาวยิวยังถูกตั้งข้อรังเกียจและกีดกันให้อยู่อาศัยเฉพาะในเขตสลัมยิว (GHETTO) ในการเดินทางไปไหนมาไหนต้องสวมปลอกแขนสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองอดอฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ทำพิธีกรรมโปกรอมอย่างเบ็ดเสร็จต่อชาวยิวโดยทำการยึดทรัพย์และสังหารหมู่ชาวยิวมากกว่า 3 ล้านคน ในปฏิบัติการที่เรียกว่าโฮโลคอสต์ ซึ่งทำให้เป็นรอยด่างในหน้าประวัติศาสตร์ของชาติเยอรมนี

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ขบวนการไซออนนิซึมได้ผลักดันให้รัฐบาลอังกฤษและสหรัฐฯ ยอมรับการจัดตั้งรัฐอิสราเอลที่มีเอกราชบนที่ดินซึ่งเคยเป็นเขตยึดครองของอังกฤษที่มีชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่  หลังจากนั้นชาวยิวจากยุโรปและทั่วโลกก็ได้อพยพมาร่วมก่อตั้งชาติใหม่ของตนเองขึ้นในดินแดนนี้

ผลพวงดังกล่าวทำให้ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่เดิมต้องกลายเป็นพลเมืองชั้นสองและกลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่รู้จบมาจนถึงทุกวันนี้

แม้การก่อตั้งรัฐอิสราเอลจะช่วยลดปัญหาชาวยิวในยุโรป  แต่การเข้ามาสร้างรัฐใหม่บนพื้นที่เดิมที่มีชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่ได้ทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นในชาติอาหรับที่อยู่รอบ ๆ ประเทศอิสราเอล เช่น ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน และอียิปต์ รวมทั้งซาอุดีอาระเบียและอิรัก  จนมีผู้เปรียบเปรยว่าอิสราเอลคือรัฐครูเสดในประวัติศาสตร์ยุคกลางเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 นั่นเอง

ผลพวงที่ตามมาคือเกิดสงครามระหว่างรัฐอาหรับ (นำโดยอิยิปต์) กับอิสราเอลหลายครั้ง แต่รัฐอิสราเอลก็อยู่รอดมาได้  พร้อมกับให้บทเรียนที่โลกอาหรับจะต้องจดจำไปอีกยาวนาน

บทเรียนการต่อสู้กับรัฐอาหรับรอบด้านทำให้รัฐบาลอิสราเอลดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวกับชาวปาเลสไตน์ในเขตปกครองของตน

จนกระทั่งเกิดแรงต่อต้านเป็นขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์นำโดยยัสเซอร์อาราฟัต

ขบวนการดังกล่าวเริ่มปฏิบัติการกระฉ่อนโลกด้วยการบุกจี้ทีมนักกีฬาอิสราเอลเป็นตัวประกันในการแข่งขันโอลิมปิกภาคฤดูร้อนในปี 1982 ที่เมืองมิวนิก เยอรมันตะวันตก จนกลายเป็นโศกนาฏกรรมโดยอิสราเอลตอบโต้ด้วยการสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์

จากนั้นมาสถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปมากจนกระทั่งรัฐบาลอิสราเอลต้องยอมยกฐานะของปาเลสไตน์ให้เป็นเอกราชแต่ยังไม่เด็ดขาดเพราะสหรัฐอเมริกายังคงไม่ยอมรับปาเลสไตน์เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติและอิสราเอลยังคงกดดันชาวปาเลสไตน์ด้วยการสร้างกำแพงล้อมหมู่บ้านของชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ตามใจชอบ

จนทำให้ชาวโลกเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามที่อิสราเอลกระทำต่อชาวปาเลสไตน์

วิษณุ โชลิตกุล

Back to top button