KSL จะดีขึ้น

มีการวิเคราะห์กันว่า แนวโน้มในทางบวกต่อผลการดำเนินงานปี 2559 ของ KSL ว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นชัดเจน หลังการฟื้นตัวของราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น สนับสนุน 1) เกิดอุปทานส่วนขาดน้ำตาลเป็นปีแรกที่ราว 3.8 ล้านตันจาก 5 ปีที่ผ่านมาที่อยู่ในภาวะปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน


–คุณค่าบริษัท–

 

มีการวิเคราะห์กันว่า แนวโน้มในทางบวกต่อผลการดำเนินงานปี 2559 ของ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL ว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นชัดเจน หลังการฟื้นตัวของราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น สนับสนุน 1) เกิดอุปทานส่วนขาดน้ำตาลเป็นปีแรกที่ราว 3.8 ล้านตันจาก 5 ปีที่ผ่านมาที่อยู่ในภาวะปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน

ต่อมา 2) เอลนิโนที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อ 2.1) ปริมาณผลผลิตน้ำตาลจีนจะลดลงเหลือ 9.9 ล้านตันจากปีก่อนที่อยู่ 10.4 ล้านตัน ทำให้จีนจะมีการนำเข้าน้ำตาลมากขึ้น 2.2) ผลผลิตน้ำตาลในบราซิลลดลง 2.3) มาตรการปรับภาษีน้ำมันในบราซิลส่งผลให้ปริมาณขายเอทานอลเพิ่มขึ้นทำให้สัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น และ 2.4) ผลผลิตน้ำตาลในไทยลดลง ส่วนปริมาณการผลิตอ้อยคาดอยู่ที่ 110 ล้านตัน

และ 3) กองทุนกลับมาเปิดสถานะยาวอีกครั้ง จากในปีก่อนหน้าที่จะเปิดสถานะสั้น นอกจากนี้ปัจจุบัน อนท. มีการล็อกราคาขายน้ำตาลล่วงหน้าไปที่ราคามากกว่า 14 เซนต์ต่อปอนด์ไปแล้วในสัดส่วนราว 50%     

ปรากฏการณ์ ดังกล่าวทำให้ราคาน้ำตาลในอนาคตจะมีทิศทางที่ดีขึ้น และเป็นโอกาสสนับสนุนต่อผลการดำเนินงานปี 2559 ของ KSL ให้กลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง

แม้ว่าผลการดำเนินงานสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2558 บริษัทมีรายได้รวมลดลงเหลือ 18,865.84 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 19,184.84 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงเหลือ 815.39 ล้านบาท หรือ 0.203 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,626.22 ล้านบาท หรือ 0.487 บาทต่อหุ้น เหตุจากธุรกิจน้ำตาลในประเทศมีกำไรลดลง ธุรกิจไฟฟ้ามีกำไรลดลง ธุรกิจเอทานอลและธุรกิจที่เกี่ยวของมีกำไรลดลง และธุรกิจน้ำตาลต่างประเทศ ในประเทศลาวและกัมพูชา มีผลประกอบการขาดทุน

เมื่อพิจารณาฐานะทางการเงินเพื่อเป็นส่วนตัวแปรในการตัดสินใจต่อการลงทุนก็พบว่า ฐานะทางการเงินไม่ดีเท่าไร เนื่องจากบริษัทยังมีหนี้ในส่วนที่เป็นเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน, เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น, ส่วนของหุ้นกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี และส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี  ส่งผลให้บริษัทยังมีหนี้สินหมุนเวียนมากถึง  9,155.92 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน 8,102.98 ล้านบาท ได้ค่า Current Ratio อยู่ที่ระดับ 0.89 เท่า แสดงว่า สภาพคล่องทางการเงินยังไม่ค่อยดี

นอกจากนี้บริษัทยังแบกรับภาระหนี้สินเป็นจำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่ฐานะทางการเงินของบริษัทดูไม่ค่อยดี  เพราะเมื่อหันมาดูหนี้ก้อนใหญ่ๆ พบว่า หุ้นกู้ระยะยาว 9,989.25 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีหนี้สินรวม 24,687.66 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น 15,488.48 ล้านบาท ได้ค่า D/E อยู่ที่ระดับ 1.60 เท่า จึงกลายเป็นปัญหาที่บริษัทต้องรีบหาทางแก้ไขด่วน

ในขณะที่นักวิเคราะห์ บล.ฟิลลิปมองว่า แม้การดำเนินงานในกลุ่มไฟฟ้าและเอทานอลอาจจะไม่โดดเด่นอย่างในอดีต แต่ยังมีมุมมองเป็นบวกต่อการฟื้นตัวของราคาน้ำตาลตลาดโลกที่ดีขึ้นช่วยหนุนให้ผลการดำเนินงานในกลุ่มน้ำตาลมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตาม ณ ราคาปัจจุบัน แนะนำ “ทยอยซื้อ” ราคาพื้นฐาน 4.14 บาท

 

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

1.บริษัท เคเอสแอล ชูการ์ โฮลดิ้ง จำกัด 1,107,917,400 หุ้น 33.16%

2.นายชนะชัย ชุติมาวรพันธ์ 87,390,530 หุ้น 2.62%

3.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 82,131,202 หุ้น 2.46%

4.CREDIT SUISSE AG, SINGAPORE BRANCH 76,818,800 หุ้น 2.30%

5.น.ส.ดวงแข ชินธรรมมิตร์ 75,517,912 หุ้น 2.26%

 

รายชื่อกรรมการ

1.นาย มนู เลียวไพโรจน์ ประธานกรรมการ

2.นาย มนู เลียวไพโรจน์ กรรมการอิสระ

3.นาย จำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานกรรมการบริหาร

4.นาย จำรูญ ชินธรรมมิตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่

5.นาย ประภาส ชุติมาวรพันธ์ กรรมการ

Back to top button