ชอร์ตเซล 5.21 แสนล้านบาท!!

ในรอบเดือนพฤษภาคม 2567 ธุรกรรมชอร์ตเซล ยังมีมูลค่าสูงกว่า 110,270 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12.00% ของมูลค่าการซื้อขายรวม


ในรอบเดือนพฤษภาคม 2567

ธุรกรรมชอร์ตเซล (ยืมหุ้นจากโบรกเกอร์มาขายในราคาสูงก่อนจะซื้อกลับในราคาต่ำ) ยังมีมูลค่าสูงกว่า 110,270 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12.00% ของมูลค่าการซื้อขายรวม

โดยวันที่ 20–31 พ.ค. 2567 มีปริมาณการชอร์ตเซลเพิ่มเข้ามา 5.36 หมื่นล้านบาท

หรือเฉลี่ย 5.5 พันล้านบาทต่อวัน

บวกกับมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยตลาดหุ้นไทยในช่วงดังกล่าวกลับลดลงเหลือเพียง 3.96 หมื่นล้านบาทต่อวัน

กดดันให้สัดส่วนการชอร์ตเซลต่อของมูลค่าซื้อขายรวมเฉลี่ย ในช่วงเวลาดังกล่าวขยับขึ้นมาอยู่ที่ 13.5%

สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต (ปี 2564 ที่ 6.6%, ปี 2565 ที่ 9.7%, ปี 2566 ที่ 10.6%, ปี 2567 นับจากต้นปี ที่ 11.9%)

และหากดูตัวเลขจากต้นปี 2567 มาจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

มูลค่าชอร์ตเซลสูงถึง 521,335 แสนล้านบาท คิดเป็น 11.13% ของมูลค่าการซื้อขายรวม

ขณะที่มาตรการของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อควบคุมการทำชอร์ตเซล ยังมีกำหนดแน่นอนว่า จะนำมาใช้วันไหน

บอกแต่เพียงว่าจะเริ่มได้ในช่วงปลายไตรมาส 2 นี้

เหตุที่ต้องรอเวลาในการใช้ เพื่อต้องการให้บรรดาบริษัทหลักทรัพย์มีเวลาปรับตัว ปรับระบบต่าง ๆ ด้วย

ดังนั้น วันนี้ แม้ว่าจะมีปัจัยบวกมาจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ เกี่ยวกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ

หรือตลาดหุ้นเอเชียที่ถูกคาดหมายว่าจะเปิดแดนบวก และบางแห่งอาจะพุ่งแรงตามดาวน์โจน์เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา

นั่นไม่ใช่หมายความว่า ตลาดหุ้นของไทยจะวิ่งตาม

หรืออาจจะเปิดในแดนบวกได้

ทว่า อาจจะเผชิญกับดัชนีย่อตัวลงมา หากการทำธุรกรรมชอร์ตเซล ยังเป็นตัวกดดันสำคัญ

หุ้นขนาดใหญ่และกลางหลายหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มีปัจจัยบวกเข้ามา ที่มีแนวโน้มการเติบโตในไตรมาส 2/2567 หรือหุ้นที่กำลังเทิร์นอะราวด์

ต่างต้องเผชิญกับการถูกชอร์ตเซล

จนนักลงทุนต่างพากันตั้งคำถามว่า หุ้นตัวนั้น ตัวนี้เกิดอะไรขึ้น ทั้งที่พื้นฐานดี

ปกติ หรือโดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนที่ไปยืมหุ้นมาขาย หรือทำชอร์ตเซล เขาจะมองแล้วว่าหุ้นตัวนั้น ๆ ราคาเริ่มปรับตัวลง อาจจะมีปัจจัยลบต่าง ๆ

จึงทำชอร์ตเซลในราคาที่สูง ก่อนจะไปซื้อกลับมาในราคาต่ำ เพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง

ส่วนที่ผ่านมาและตอนนี้ หุ้นที่ถูกชอร์ตเซลหลาย ๆ ตัว มีปัจจัยพื้นฐานดี

ท่วา  ถูกชอร์ตเซลราคากระทั่งร่วงแบบไม่มีเหตุผลอยู่ในขณะนี้

ผ่านมาจนตอนนี้ หลายคนกำลังเฝ้ารอการทำ Cover short

โดยเฉพาะช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศใช้กฎให้ธุรกรรมขายชอร์ต ที่กำหนดว่า “ต้องทำที่ระดับราคาสูงกว่าราคาตลาดครั้งสุดท้ายเท่านั้น (Uptick rule)

คาดว่าจะเริ่ม ๆ ได้ช่วงปลายไตรมาส 2 หรือภายในเดือนมิถุนายนนี้นั่นแหละ

หาก Uptick rule ถูกนำมาใช้

น่าจะหนุนให้เกิดการ Cover Short Sell ได้ดี เพราะในอดีต เช่น ช่วง “โควิด” มีการใช้กฎนี้

และส่งผลให้ปริมาณการชอร์ตเซลลดลงไปกว่าเกือบ 80%

แต่หากมาตรการที่ออกมาใช้ไม่ได้ผล

“พิชัย ชุณหวชิร” รมว.คลัง เขาบอกไว้แล้วว่า จะมี “ยาแรง” อัดเข้ามาเพิ่มแน่นอน

ต้องมาลุ้นกันต่อว่า หลังจากมาตรการของตลาดฯ เกี่ยวกับเรื่องของชอร์ตเซลโรบอทเทรด

รวมถึงกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ที่จะถูกนำกลับมาใช้ และปัจจัยหนุนจากสหรัฐฯ จะช่วยให้หุ้นไทยกลับมาฟื้นได้ไหม

หรือว่าจะมีปัจจัยลบอื่น ๆ

เข้ามากดดันต่อ

ธนะชัย ณ นคร

Back to top button