KKP คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น

KKP โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 1/2567 1.สินเชื่อรายย่อย 67.37% 2.สินเชื่อธุรกิจ 14.90% 3.สินเชื่อบรรษัท 14.68%


คุณค่าบริษัท

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 1/2567 1.สินเชื่อรายย่อย 67.37% 2.สินเชื่อธุรกิจ 14.90% 3.สินเชื่อบรรษัท 14.68% 4.สินเชื่อสายบริหารหนี้ 0.35% 5.สินเชื่อ Lombard 2.85% ภายใต้สินเชื่อรายย่อย 67.37% จำแนกต่อได้เป็น 1.สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 45.81% 2.สินเชื่อบุคคล 3.57% 3.สินเชื่อ Micro SMEs 3.65% 4.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 14.34%

KKP รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 มีกำไรสุทธิ 1,506.02 ล้านบาท ลดลง 27.76% จากไตรมาส 1/2566 แต่เพิ่มขึ้น 124.87% จากไตรมาส 4/2566 ที่มีกำไรสุทธิ 669.74 ล้านบาท กำไรไตรมาส 1/2567 ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ 37% โดยหนุนจากผลขาดทุนด้านเครดิตทีคาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ที่น้อยกว่าคาด ปัจจัยหนุนการเติบโตของกำไรเมื่อเทียบไตรมาส 4/2566 มาจาก ECL ที่ลดลง และกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งวัดมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) ขณะที่สาเหตุที่ทำให้กำไรลดลงเมื่อเทียบไตรมาส 1/2566 มาจากผลขาดทุนที่มากขึ้นจากการขายรถยึดมาเป็น 1.44 พันล้านบาท เทียบกับ 1.12 พันล้านบาท ในไตรมาส 1/2566

กำไรจากการดำเนินงานก่อนตั้งสำรอง (PPOP) อยู่ที่ 3.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาส 4/2566 แต่ลดลง 6% เมื่อเทียบไตรมาส 1/2566 สอดคล้องกับที่บล.กสิกรไทยคาดไว้ แรงขับเคลื่อนการเติบโตเมื่อเทียบไตรมาส 4/2566 มาจากสัดส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลงมาที่ 53% จาก 57% ในไตรมาส 4/2566 และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี (non-NII) ที่เพิมขึจากกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งวัดมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) อย่างไรก็ดี PPOP ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบไตรมาส 1/2566 จากรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่ลดลงจากธุรกิจตลาดทุนตามสภาวะตลาดหุ้นที่อ่อนแอ ด้านสินเชื่อรวมลดลง 1% จากไตรมาส 4/2566 จากสินเชื่อเช่าซื้อที่ลดลง

NPL ratio เพิ่มขึ้นอย่างมาก มาที่ 3.8% จาก 3.2% ในไตรมาส 4/2566 จากการจัดประเภทของลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ 1 รายเป็น NPL เชิงคุณภาพ ซึ่ง KKP ตั้งสำรองไปแล้วในไตรมาส 4/2566 หากไม่รวม NPL จากลูกค้ากลุ่มธุรกิจ 1 รายดังกล่าว NPL จากสินเชื่อเพื่อธุรกิจลดลงมาอยู่ที่ 6.5% จาก 6.7% ในไตรมาส 4/2566 ขณะที่ NPL จากสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.9% จาก 2.8% ในไตรมาส 4/2566 นอกจากนี้ผลขาดทุนจากการขายรถยึดยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 1.44 พันล้านบาท จาก 1.41 พันล้านบาท ในไตรมาส 4/2566 ผู้บริหาร KKP กล่าวว่า ธนาคารเข้มงวดปล่อยสินเชือมากขึ โดยสินเชื่อบ้านหันมาปล่อยกลุ่มราคา 5-7 ล้านบาท มากขึ้น ด้านสินเชื่อรถยนต์มีแนวโน้มเติบโตลดลง ขณะที่คุณภาพหนี้เสียในระยะข้างหน้าเชือว่าทรงตัว ด้านบล.เมย์แบงก์คาดว่าผลขาดทุนจากยอดขายรถยนต์จะลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในครึ่งหลังของปี 2567 เนื่องจากสต๊อกรถยนต์ลดลงเหลือ 3,450 คัน ในไตรมาส 1/2567 จาก 4,600 คัน ในไตรมาส 4/2566 และ 6,000 คัน ในไตรมาส 3/2566

ข้อมูลจาก LSEG Consensus สำหรับ KKP ระบุว่า ประมาณการรายได้รวมปี 2567 ที่ 29,108.24 ล้านบาท และประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 5,624.72 ล้านบาท โดยมีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 51.45 บาท จาก 12 โบรกเกอร์

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาดแนวโน้มกำไรสุทธิในไตรมาส 2/2567 จะลดลงเมื่อเทียบไตรมาส 1/2567 จากการตั้งสำรองที่ขยับขึ้นสู่ระดับปกติ ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยยังปรับลงต่อเนื่อง จากผลของต้นทุนทางการเงินที่เร่งตัวขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนการขยายสินเชื่อคาดยังโตในระดับที่จำกัด เพราะ KKP อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบพิจารณาสินเชื่อให้รัดกุมมากขึ้น ยังคงประมาณการเดิมโดยคาด KKP จะมีกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 5,508 ล้านบาท โต 1.2% จากปี 2566 และโต 4.1% ในปี 2568 เมื่อเทียบปี 2567

สำหรับการประเมินมูลค่า (Valuation) หุ้น KKP ราคาปัจจุบัน (ราคาปิดวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่ 50.50 บาท) ซื้อขายกันที่ P/E 8.79 เท่า สูงกว่า P/E กลุ่มธนาคารที่ 7.16 เท่า ส่วนค่า P/BV ของหุ้น KKP อยู่ที่ 0.68 เท่า สูงกว่า P/BV กลุ่มธนาคารที่ 0.60 เท่า

Back to top button