NGO Style ปรัชญาของไลป์นิซ
ไลป์นิซ นักปรัชญาร่วมสมัยเดียวกับเซอร์ไอแซค นิวตัน ที่ถูกวอลแตร์เอามาวิจารณ์จนไม่มีชิ้นดีในนิยายชื่อดังเรื่องก็องดีตอันโด่งดัง
ไลป์นิซ นักปรัชญาร่วมสมัยเดียวกับเซอร์ไอแซค นิวตัน ที่ถูกวอลแตร์เอามาวิจารณ์จนไม่มีชิ้นดีในนิยายชื่อดังเรื่องก็องดีตอันโด่งดัง
ที่ปรัชญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอในทางบวกเกี่ยวกับอนาคตของความเป็นไปได้ ที่ย้อนกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern) ซึ่งต้องการประนีประนอมกับแนวคิดอันหลากหลายในยุคสมัยของความไม่แน่นอนของสถานการณ์
แนวคิดดังกล่าวถูกพวก NGO ทั้งหลายโอบกอดเอามาเป็นแนวคิดหลักเพื่อต้องการการมีส่วนร่วมโดยไม่ใช้ความรุนแรงโดยเน้นแนวทางการปฏิรูปทางสังคมมากกว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนหรือแนวทางปฏิวัติแบบพวกมาร์กซิสต์
ตัวอย่างที่เห็นปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ฮอลลีวูดล่าสุดเรื่อง Leave the world behind นำแสดงโดย จูเลีย โรเบิร์ตส์
ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวตั้งคำถามให้เป็นโจทย์ทิ้งไว้เป็นฝันร้ายสำหรับมนุษย์ที่วันหนึ่งพบว่าอุปกรณ์สื่อสารในโลก เช่น WiFi และ คลื่นมือถือทุกชนิดถูกพวกแฮกเกอร์ที่เป็นผู้ก่อการร้ายทำลายหายไปและมนุษย์จะอยู่ได้อย่างไร
ขณะที่คำตอบในเชิงบวกอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Rich in love ของบราซิล ที่ว่าด้วยเรื่องของความรักของคนหนุ่มสาว โดยตัวเอกชื่อ Teto ซึ่งตกหลุมรักแพทย์สาวชื่อ Poula ซึ่งมีทัศนคติต่อความรักแบบ NGO คือไม่เน้นเรื่องเงินทองและต้องการหาหนุ่มที่ทะเยอทะยานสร้างความฝันส่วนตัวเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า ในขณะที่ Teto ลูกชายคนเดียวของมหาเศรษฐีเจ้าของโรงงานผลิตน้ำมะเขือเทศรายใหญ่สุดของบราซิลได้ปลอมตัวเป็นลูกชายคนดูแลไร่มะเขือเทศเป็นคนที่ถูกใจนางเอก เรื่องวุ่นวายจึงเกิดขึ้นตรงที่ว่าการโกหกของ Teto มีข้อจำกัดเมื่อถูกจับได้และ Poula ปฏิเสธ Teto ซึ่งทำให้ TeTo ต้องหาทางออกในชีวิตด้วยการนำรถยนต์ที่ได้รับเป็นของขวัญวันเกิดจากพ่อมาทำเป็นทุนส่งเสริมให้ชาวสลัมในเมืองริโอเดอจาเนโรกู้เป็นทุนปลูกมะเขือเทศป้อนโรงงานของพ่อเขาจนกลายเป็นธุรกิจปล่อยเงินกู้ที่ใหญ่โตที่สร้างประโยชน์ให้ทุกฝ่าย หลังจาก Teto ประสบความสำเร็จ Poula ก็กลับคืนมา
คำตอบอันโรแมนติกนี้น่าจะถูกใจบรรดา NGO ทั้งหลายแม้ว่าจะดูไม่สมจริง แต่ก็ช่วยปลอบใจคนที่มองโลกในเชิงบวกได้ดีพอสมควร
แนวทางปรัชญาของไลป์นิซว่าด้วย the best of all possible world ที่อาจจะดูไม่สมเหตุสมผลเพราะลักษณะเอาสีข้างเข้าถู อาจช่วยปลอบใจนักต่อสู้ของสังคมบางพวก
วิษณุ โชลิตกุล