Temu ภัยเงียบอันน่าสะพรึง.!!
หลังเปิดตัวที่ “มาเลเซีย” และ “ฟิลิปปินส์” ได้เพียงไม่ถึงขวบปี ล่าสุด Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีน เริ่มเข้ามาเปิดตัวอย่างเงียบ ๆ ในประเทศไทย
หลังเปิดตัวที่ “มาเลเซีย” และ “ฟิลิปปินส์” ได้เพียงไม่ถึงขวบปี ล่าสุด Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีน เริ่มเข้ามาเปิดตัวอย่างเงียบ ๆ ในประเทศไทย แต่สร้างความฮือฮาด้วยส่วนลดสูงมากถึง 90% เฉกเช่นเดียวกับที่มีการเปิดตัว 2 ประเทศ ในกลุ่มอาเซียนข้างต้น ภายใต้สโลแกน Shop like a billionaire ที่ต้องการสื่อสารให้ผู้ช้อปปิ้งออนไลน์รู้สึกเป็นเศรษฐีพันล้าน
กล่าวคือด้วยปกติผู้ซื้อจะมีงบประมาณ (Budget) อยู่ในใจ เมื่อต้องซื้ออะไรแบบมีเพดาน (Limitation) ว่าต้องไม่เกินเท่าไหร่ แต่ด้วย USP หรือ Unique Selling Points = “Price Strategy ราคาถูกและดีที่สุด” ของ Temu ต้องการให้บรรดาขาช้อปรู้สึกว่า “งบการช้อปปิ้งเราไม่มีข้อจำกัด”
จุดเด่นของ Temu ที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายประเภทโดยตรงจากผู้ขายชาวจีน ในราคาที่ถูกพิเศษ ในบางครั้งลดราคาสูงสุดถึง 99% กลยุทธ์การลดราคาพิเศษแบบสายฟ้าแลบ ทำให้ Temu สามารถดึงดูดลูกค้าได้จำนวนมากผ่านการติดต่อซัพพลายเออร์โดยตรง และจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าโดยไม่ผ่านบุคคลที่สาม
กลยุทธ์ Temu มุ่งเน้นหากลุ่มลูกค้า 3 กลุ่มหลัก..นั่นคือ..
กลุ่ม Inter-Consumers คือลูกค้าที่ซื้อสินค้าต่างประเทศบ่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่ชอบช้อปสินค้าจาก Aliexpress และ Amazon ที่เป็น Cross border e-Commerce platforms (CBEC)
กลุ่ม Early adopter & Price sensitive audiences คือลูกค้าที่พร้อมเปลี่ยนที่ซื้อสินค้าหรือร้านค้า หากราคาดี ถูก และตรงใจ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ชอบซื้อผ่าน Tiktok ด้วย Basket size average ที่ระดับ 300-400 บาท เนื่องจากตัดสินใจง่าย ลองก่อน ถ้าพอใจจะสั่งซื้อเพิ่ม
กลุ่ม Daily Online Shoppers ที่ซื้อสินค้าบ่อย ๆ ผ่าน Shopee/Lazada/ Social medias อื่น ๆ กลุ่มที่เปลี่ยนใจช้าสุด เพราะมีร้านและแพลตฟอร์มที่ซื้อแบบเคยชินและพอใจอยู่แล้ว (User experiences satisfaction) หาก Temu เปลี่ยนใจกลุ่มนี้ได้จะได้ลูกค้าที่เป็น Royalty customers อีกด้วย
โดย Temu ก่อตั้งปี 2022 ภายใต้กลุ่มพาณิชย์ระดับโลก PDD Holdings ที่ก่อตั้งโดย Colin Huang มหาเศรษฐีชาวจีนวัย 43 ปี หรือที่รู้จักกันในฐานะผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซและ Pinduoduo แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังในจีน ที่อยู่ภายใต้ PDD Holdings เช่นกัน
ช่วงแรก Temu เริ่มเปิดให้บริการที่สหรัฐฯ ช่วงปี 2022 จากนั้นตามด้วยแคนาดา, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ช่วงปี 2023 ต่อมา Temu เริ่มขยายให้บริการโซนยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สเปน เยอรมนี อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ช่วงปลายปี 2023
แม้ว่า Temu จะมีการเปิดตัวแบบเงียบ ๆ แต่ได้สร้างกระแสฮือฮาเป็นอย่างมาก และถือเป็นการเขย่าวงการอีคอมเมิร์ซอีกครั้ง หลัง Temu ใช้กลยุทธ์หั่นราคาสินค้าอย่างหนัก เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานและขยายส่วนแบ่งในตลาดมากที่สุด
นี่จึงกลายเป็นการตอกย้ำความกังวลว่า “สินค้าจีนไหลทะลักไทย” เฉกเช่นเดียวกับธุรกิจสัญชาติจีนอื่น ๆ ที่เข้ามาเปิดตัวในไทยและกินรวบส่วนแบ่งการตลาด จนกลายเป็นผู้เล่นรายหลักไปในที่สุด..!!
แต่ดูเหมือนว่า..รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพาณิชย์ ยัง “ตาบอดคลำช้าง” ตามโลกไม่ทันแบบนี้ ดูท่าทางผู้ประกอบการของไทย คงต้องลำบากอีกแน่นอน..!!
เล็กเซียวหงส์