หวังเจริญ …ซะอย่างแฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

ในอดีต อาชีพนายธนาคารพาณิชย์ ถือเป็นอาชีพอันทรงเกียรติ หรือ Nobless Oblique ที่โดดเด่นเหนือธุรกิจอื่นๆ แต่ในปัจจุบัน ก็เป็นแค่อาชีพหนึ่งที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินเท่านั้นเอง เพราะการเป็นนักการเงินในโลกปัจจุบัน ซับซ้อน เสียจนแยกไม่ออกว่า การเป็นนายธนาคารนั้น จะวิเศษกว่าอาชีพอื่นตรงไหน


ในอดีต อาชีพนายธนาคารพาณิชย์ ถือเป็นอาชีพอันทรงเกียรติ หรือ Nobless Oblique ที่โดดเด่นเหนือธุรกิจอื่นๆ แต่ในปัจจุบัน ก็เป็นแค่อาชีพหนึ่งที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินเท่านั้นเอง เพราะการเป็นนักการเงินในโลกปัจจุบัน ซับซ้อน เสียจนแยกไม่ออกว่า การเป็นนายธนาคารนั้น จะวิเศษกว่าอาชีพอื่นตรงไหน

ถึงกระนั้น อาชีพนี้ก็ยังถือเป็นอาชีพที่ทรงเกียรติต่อไปตามเดิม แม้ว่า จะไม่ได้มีอิทธิพลมากมายเหมือนเดิม เพราะเหตุว่ามีตลาดทุนเข้ามาถ่วงอำนาจของตลาดการเงินแบบในอดีต และบางครั้งมีขนาดแซงหน้าตลาดเงินไปไกลลิบไม่เห็นฝุ่น

บุญทักษ์ หวังเจริญ นายธนาคารที่ถูกฝึกงานวิชาชีพกับธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK มาโดยตลอดันยาวนาน ถูเชิญตัวมานั่งเพื่อฟื้นกิจการของธนาคารทหารไทย ยุคที่ 4  เมื่อมีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่สุดคือมาเป็นกลุ่มธนาคาร ING ของเนเธอร์แลนด์

ในปี 2552 กลุ่มธนาคาร ING ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ 1.6 หมื่นล้านของ TMB  ที่มีปัญหาทางการเงิน หลังจากผ่านยุคที่ 3 มาได้ไม่นาน ภายหลังการควบรวมกิจการกับอีก 2 สถาบันการเงิน ปี 2547 คือ ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ และ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำกัด จนการเพิ่มทุนหลายครั้ง ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น  

ก่อนหน้าจะถึงยุคดังกล่าว ธนาคารทหารไทยได้ผ่านมาแล้ว 2 ยุคคือ ยุคแรกภายใต้การถือหุ้นใหญ่โดย 3 เหล่าทัพ และยุคที่สองคือ ยุคการเพิ่มทุนหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งทำให้กองทัพหลุดจากสภาพการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่โดยปริยายมาเป็นกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะมีการตัดสินใจควบรวมกิจการต่อมาเพื่อเริ่มยุคที่ 3

ในฐานะของผู้ที่เข้ามารับผิดชอบงานอันแสนยากลำบาก จากกิจการที่เต็มไปด้วยปัญหา และมีความสามารถทำกำไรต่ำ บุญทักษ์ถูกตั้งความหวังว่า จะสามารถขับเคลื่อนนาวาที่คร่ำคร่านี้ ให้กลับมาเทิร์นอะราวด์ได้แข็งแกร่งอีกครั้ง โดยไม่มีปัญหาขัดแย้งจนกระทั่งเกิดความแตกร้าวอื้อฉาว ดังที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้าในองค์กรแห่งนี้หลายต่อหลายครั้ง

ความพยายาม “ล้างบ้าน” ให้สะอาดเอี่ยมอ่องอีกครั้ง พร้อมกับการมุ่งดำเนินงานให้กลับกลับมาลงตัวเรียบร้อยเพื่อให้ฐานะการเงินของธนาคารกลับมาแข็งแกร่ง และจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ ทั้งการล้างขาดทุนสะสม โดยอาศัยจุดเด่นเรื่องสาขาของธนาคารในประเทศที่มีมากกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ให้กลับมาสร้างความสามารถในการทำกำไรอันเป็นจุดอ่อนเรื้อรังให้ดีขึ้น

3 ปีผ่านไปกับความพยายามอันยากเย็น รวมทั้งการตั้งสำรองรอบพิเศษ เพื่อความแข็งแกร่งของคุณภาพทรัพย์สิน นอกเหนือจากการขาย NPL ออกไปมากขึ้น  แม้จะส่งผลให้กำไรของธนาคารลดลง แต่เพิ่มโอกาสโอกาสในการปล่อยสินเชื่อใหม่ และการสร้างรายได้ในอนาคตจะมั่นคงมากยิ่งขึ้นในอนาคต ผลพวงของการทำงานก็เริ่มผลิตออกออกผลเมื่องบปี 2555 ของ TMB1 สามารถมีตัวเลขสวยงาม ทำให้ธนาคารรอดพ้นวิบากกรรมอันยาวนานกว่า 14 ปีด้วยการล้างขาดทุนสะสมจนหมด และเริ่มเตรียมกลับมาจ่ายปันผล

วันนี้…ผ่านไปไวเหมือนโกหก….กำลังจะครบ 8 ปีของวาระการทำงาน 2 สมัยของบุญทักษ์ งบการเงินของ TMB สวยงามต่อเนื่อง มีการจ่ายปันผลต่อเนื่อง แม้ว่าราคาหุ้นจะยังคงต่ำเตี้ยที่ระดับ ใต้ 3.00 บาท และยังคงสามารถรักษาฐานะล่าสุดเป็นธนาคารพาณิชย์อันดับที่ 5 ของประเทศ หากนับจากสินทรัพย์ สินเชื่อ และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด

บนเส้นทางก้าวข้ามวิบากกรรมเช่นนี้ มีเรื่องน่าตื่นเต้นสำคัญในช่วงกลางปี 2556 เรื่องเดียวคือ การที่หุ้นส่วนที่ถืออยู่ในมือของ ING Group มีข่าวหลายครั้งว่าอาจจะถูกขายออกไป เพราะว่าบริษัทแม่ในยุโรปมีปัญหาการเงินจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯสาหัส

ในครั้งนั้น ถึงขั้นมีการแต่งตั้งวาณิชธนกิจระดับโลกอย่างกลุ่ม เจ.พี.มอร์แกน และ โกลด์แมน แซคส์ ของสหรัฐฯ  ทำการเปิดประมูลขายหุ้นที่ถือใน TMB ทั้งหมด 31% ซึ่งมีคนสนใจล้นหลาม

หนึ่งในจำนวนนั้น ซึ่งเกือบจะมีโอกาสได้ไปครอบครองแล้วคือ มิตซูโฮ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ธนาคารอันดับสามจากญี่ปุ่น ที่เสนอเงื่อนไขดีกว่ารายอื่นๆ ที่ประกอบด้วย  ซีไอเอ็มบี จากประเทศมาเลเซีย และ อินดัสเทรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า หรือ ICBC จากประเทศจีน

น่าเสียดาย มิซูโฮฯ เจอปัญหาภายในประเทศเสียก่อน ดีลนี้เลยล้มไป ทำให้บุญทักษ์ได้รับความไว้วางใจนั่งเก้าอี้บริหารสูงสุดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

หากนับว่า การพลิกฐานะของธนาคารที่มีบาดแผลเรื้อรังจากการบริหารที่ไม่ลงตัวยาวนาน มาสู่การเป็นธนาคารพาณชิย์ที่มีโอกาสสูงในการเพิ่มความสามารถในการสร้างผลกำไรต่อทุนได้มากขึ้น  มีศักยภาพภายในองค์กรที่ลงตัวดี และมีเสถียรภาพ ​ขณะที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์อื่นๆ เริ่มมีอัตราการทำรายได้ในระดับที่ช้าลง ถือว่า บุญทักษ์ได้สร้างผลงานที่ยากจะเลียนแบบได้ง่ายๆ

ปีสุดท้ายของสัญญาว่างจ้างมืออาชีพในธนาคารอย่าง TMB ของบุญทักษ์ และจะมีการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของกลุ่มไอเอ็นจี ในช่วงกลางปี 2559  ภารกิจของบุญทักษ์ในฐานะซีอีโอใหญ่สุด จึงหันมาให้ความสำคัญกับการดำรงเงินกองทุนของ TMB เพี่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจได้ตลอดเวลา ในขณะที่กำไรสุทธิก็จะเติบโตขึ้น

ปีทิ้งทวนอย่างนี้ หลายคนเชื่อกันว่า บุญทักษ์จะต้องทำให้ TMB มีกำไรเกินระดับ 1 หมื่นล้านบาทโดยมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อ 8–10% และยังคงเน้นมาตรการในการดูแลคุณภาพของสินทรัพย์

โดยที่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL จะรักษาระดับไว้ไม่ให้เกิน 3%

ภารกิจทิ้งทวนเช่นนี้ มีคำถามว่าจะทำได้หรือไม่…เพราะโดยทั่วไปแล้ว การทิ้งทวนของผู้บริหารนั้นมี 2 อย่างที่ทำให้คนที่มาทดแทนลำบากใจเสมอมาคือ 1) ทำดีเกินไปจนมาตรฐานสูงมาก คนใหม่เข้ามาแล้วทำงานยากลำบาก 2) ทำได้ต่ำกว่ามาตรฐานมาก จนกระทั่งคนใหม่ต้องเข้ามารื้อแก้สารพัดเรื่องจากปัญหาที่ทิ้งเขลอะไว้

การทิ้งทวนของบุญทักษ์ น่าจะเป็นอย่างแรก มากกว่าอย่างหลัง…ก็…หวังเจริญ ซะอย่าง

Back to top button