หุ้นแบงก์ยังคงรับอานิสงส์เชิงบวกตามระเบียบ

การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยบวกต่อเนื่องขึ้นมายืนอยู่ที่ระดับ 1,357.86 จุด เนื่องจากทุนเก็งกำไรต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่องผิดปกติ


การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยบวกต่อเนื่องขึ้นมายืนอยู่ที่ระดับ 1,357.86 จุด เนื่องจากทุนเก็งกำไรต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่องผิดปกติ  หุ้นกลุ่มแบงก์ก็ได้รับอานิสงส์ถูกกว้านซื้ออย่างต่อเนื่อง การปล่อยกู้ในตลาดเงินเพิ่มขึ้นอย่างคึกคักโดยเฉพาะ KBANK และ BBL จากการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ทุกธนาคารจึงพากันปล่อยกู้ในตลาดเงินซึ่งให้ yield ต่ำกันอย่างคึกคัก โดยสถานะปล่อยกู้เพิ่มขึ้น 6% เดือนต่อเดือน และการที่บุ๊กแวลูสูงกว่าราคาบนกระดานค่อนข้างค่อนข้างมาก ยิ่งทำให้คาดเดาว่ากำไรสุทธิ จะเติบโตมากกว่า 13% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยสถานะปล่อยกู้ของ KBANK เพิ่มขึ้นถึง 15% เดือนต่อเดือน รองลงมาคือ BBL และ BAY ที่เพิ่มขึ้น 12% เดือนต่อเดือน เท่ากัน อย่างไรก็ตาม SCB และ KTB ลดสถานะปล่อยกู้ลงเพื่อนำไปขยายสินเชื่อธุรกิจ และ สินเชื่อภาครัฐแทน ทั้งนี้ การปล่อยกู้อย่างคึกคักในตลาดเงินน่าจะเป็นแรงกดดันต่อ yield และ margin ในไตรมาสที่สามของปี 2567

ส่วนผู้ถือหุ้นที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากคือหุ้นใน KTB, SCB และ KKP

นักวิเคราะห์มองว่าส่วนผู้ถือหุ้น (equity base) ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งน่าจะสะท้อนถึง 1.) ผลการดำเนินงานในไตรมาสนี้   2.) กำไรจากการดำเนินงานตามปกติ (FVTPL) จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลงตามฤดูกาล

คาดหมายว่าดอกเบี้ยจะปรับลง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่าฐานทุนของ KTB เพิ่มขึ้นมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม โดยเพิ่มขึ้นถึงเกือบสองเท่าจากเดือนก่อนหน้า รองลงมาคือ KKP ซึ่งน่าจะสะท้อนถึงกำไร FVTPL จากการลงทุน นอกจากนี้ การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลงในเดือน สิงหาคม ทำให้คาดว่าทุกธนาคารน่าจะยังคงมีกำไร FVTPL จากการลงทุนต่อเนื่องในเดือนต่อ ๆ ไป

ซึ่งสถานการณ์นี้จะช่วยให้ธนาคารสามารถบันทึกกำไร FVTPL ในงบกำไร/ขาดทุนในบันทึกการเงินไตรมาสที่สามปี 2567

ภาวะตลาดในเดือนกรกฎาคมบ่งชี้ว่าธนาคารต่าง ๆ ยังคงใช้นโยบายปล่อยกู้อย่างระมัดระวัง และ ส่วนต่างของกำไรสุทธิ (NIM) จะถูกกดดันจากการปล่อยกู้ในตลาดเงินซึ่งให้ yield ต่ำ ในขณะเดียวกัน กำไร FVTPL จะช่วยประคองรายได้ และ กำไรในไตรมาสที่สามของปี 2567 ซึ่งธนาคารสามารถนำรายการนี้ไปเพิ่มส่วนรองรับหนี้เสียได้

มุมมองเชิงบวกของหุ้นใหญ่ 2 รายที่มีกำไรสุทธิสูงสุดต่อเนื่องอย่าง KBANK  และ BBL น่าจะมีผลทำ ให้ราคาหุ้นทั้ง 2 รายนี้ได้รับอานิสงส์ตามไปด้วยอย่างเกินคาดหมาย เพราะการดันดัชนีขึ้นไปนั้นจำเป็นต้องมีตัวหุ้นจำเพาะสร้าง benchmark กำกับตามไปด้วย ในขณะที่ราคาหุ้นแบงก์ทั้งสองรายนี้ยังถือว่าต่ำกว่าบุ๊กแวลูถึงเกือบ 50% เลยทีเดียว

ถ้าหากว่าราคาหุ้นของทั้ง KBANK และ BBL ยังวิ่งไปอย่างต่อเนื่องก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด

วิษณุ โชลิตกุล

Back to top button