Thailand Retail Focus2024 by SEC
ความสำเร็จของการจัดงาน Thailand Focus 2024 ผ่านพ้นไปด้วยดี มีนักลงทุนสถาบันต่างชาติสนใจเข้าร่วม ประมาณ 50 ราย
ความสำเร็จของการจัดงาน Thailand Focus 2024 ผ่านพ้นไปด้วยดี มีนักลงทุนสถาบันต่างชาติสนใจเข้าร่วม ประมาณ 50 ราย นักลงทุนสถาบันในประเทศประมาณ 120 ราย โดยจำนวนนี้เป็นผู้ที่มาร่วมงานแบบ physical แต่ยังสามารถรับชมผ่านออนไลน์ได้อีกเป็นจำนวนมาก
แต่มีความประหลาดใจ ที่ดูแล้วมีความย้อนแย้งกับวัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน โดยเฉพาะหัวข้อสนทนา “How Thailand’s Capital Market Can Adapt to the Changing World” (ตลาดทุนไทยปรับ-รับโลกเปลี่ยน)
โดยในช่วงดังกล่าวมีผู้ร่วมให้ข้อมูล ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.),
ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ
Mr.Lyndon Chao, Managing Director, Head of Equities and Post Trade สมาคมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์และตลาดการเงินเอเชีย (ASIFMA)
Mr. Lyndon Chao ได้เสนอ 3 แนวคิดและช่องทางในการส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนไทย ดังนี้
แนวทางที่ 1 คือ แนวคิดเรื่องการเพิ่มมูลค่าบริษัท (Value-up Program) ของญี่ปุ่นและเกาหลีเป็นแบบอย่างที่น่าสนใจ และเป็นแนวทางที่ประเทศไทยควรศึกษา เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนคืนกำไรกลับไปให้ผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำผ่านการเพิ่มเงินปันผล ทำ share buy back
แนวทางที่ 2 คือการสร้างแรงจูงใจทางภาษีและการปฏิรูประบบบำนาญ เพื่อเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้มีการลงทุนระยะยาวเพิ่มมากขึ้น
แนวทางที่ 3 เป็นแนวทางที่สำคัญมาก คือการรักษาสภาพคล่องของตลาดหุ้น
มาตรการและเครื่องมือที่ผู้กำกับนำมาใช้อาจจะกลายเป็นเครื่องมือที่สร้างผลร้ายมากกว่าผลดีในตลาดก็ได้ เราเห็นตัวอย่างที่ประเทศเกาหลีและ จีนมาแล้วว่ามีการไหลออกของเม็ดเงินการลงทุน ในช่วงเวลาที่ผู้กำกับดูแลมัวแต่พุ่งเป้าไปที่เรื่องจำกัดธุรกรรม Short sell และ Quant หรือ HFT
เพราะสิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบที่สำคัญมากของการนำไปสู่ตลาดที่มีคุณภาพและสภาพคล่องที่สูง สุดท้ายแล้วสูตรสำเร็จของตลาดที่แท้จริงคือ “สภาพคล่อง”
“ถ้ามีคนที่ต้องการซื้อ ก็ต้องมีคนที่ต้องการขาย ถ้าไม่มีด้านใดด้านหนึ่ง ธุรกรรมก็ไม่เกิดขึ้น”
พอเรามีมาตรการอย่าง Uptick หรือ minimum resting time ผู้ให้บริการสภาพคล่องก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ volume ตลาดก็ลดลง
ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล เห็นด้วยว่า มาตรการแต่ละอย่าง อาจจะส่งผลดีและผลร้าย แต่ในฐานะผู้กำกับดูแล เราต้องสร้างดุลยภาพระหว่างสภาพคล่องของตลาด และความเป็นธรรม
เนื่องจากเรามีความหลากหลายของกลุ่มนักลงทุน ทางสำนักงานก.ล.ต. ก็ตระหนักเสมอว่ามาตรการที่ออกมา อาจจะไม่ได้เป็น win-win เสมอไป
แต่สำนักงานฯ มั่นใจว่ามันจะทำให้ตลาดทุนสามารถเดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ไม่ใช่แค่ในระยะสั้นเพียงเท่านั้น
สำนักงานฯ อยากที่จะให้โฟกัสที่สภาพคล่องในระยะยาวของตลาดและพยายามสนับสนุนนักลงทุนรายใหญ่ รายย่อยทั้งในและต่างประเทศ
แนวทางที่กล่าวถึงมีดังนี้
– เรามีแผนการยกระดับการให้บริการเพื่อสนับสนุนนักลงทุนรายย่อยมากขึ้น
– เรามีการประกาศปรับใช้แผนเพิ่มมูลค่าบริษัทเพื่อการลดการจ่ายภาษีของนักลงทุน โดยเปิดตามความสมัครใจขององค์กร
– ในปีหน้าเรากำลังวางแผนร่วมกับกระทรวงการคลังเพื่อขยายขอบเขตไปยังบัญชีออมทรัพย์ด้วย
– เรามีกองทุนวายุภักษ์ที่มีจุดประสงค์ในการคืนกำไรให้นักลงทุน
สิ่งที่ Mr.Lyndon Chao ได้แสดงมุมมองที่เป็นห่วง ตลาดหุ้นไทย ที่ทางการนำกฎระเบียบต่าง ๆ มาใช้มากเกินไป ทำให้อนาคตอาจจะมีปัญหาเรื่อง “สภาพคล่อง“ ที่จะไหลเข้ามา
จากตัวเลขล่าสุดของ MSCI Rebalance ที่เพิ่งจบไปเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน มีหุ้นไทยเหลืออยู่เพียงแค่ 28 บริษัทเท่านั้น เม็ดเงินลงทุนน่าจะต่ำกว่า 1.5% หากเทียบกับช่วงสูงสุดในปี 2018 ที่มีจำนวน 45 บริษัท สัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย 2.4% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 1.9 แสนล้านบาท นั้น
น่าจะเป็นมุมมองที่ทางการไทย ควรรับไว้พิจารณา หลังจากที่มีเสียงเตือนจากบุคคลที่ 3 ออกมาอธิบายให้ฟัง
ยิ่งงาน Thailand Focus ที่จัดขึ้นทุกปี เป็นงานที่เชิญกองทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมงาน ยิ่งทำให้ชาวโลกคอมเฟิร์มอย่างชัดเจน ว่า ตลาดหุ้นไทยน่าลงทุนมากน้อยแค่ไหน ?
ความจริงเราควรจะแยกจัดงาน Thailand Retail Focus ขึ้นมาต่างหาก จะได้ไม่ต้องเชิญ กองทุนต่างประเทศมาให้ปวดหัวและมองภาพลักษณ์ตลาดหุ้นไทยผิดแปลกไปจากตลาดเกิดใหม่ (EM) อื่น ๆ
อึ้งย้ง