CPF แจงปม ‘ปลาหมอคางดำ’.!

จากปมประเด็นกลุ่มประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม และสภาทนายความ เป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF


จากปมประเด็นกลุ่มประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม (กลุ่มประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ-กลุ่มประมงพื้นบ้าน) และสภาทนายความ เป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ด้วยการกล่าวอ้างว่า CPF เป็นตัวการปล่อยให้ปลาหมอคางดำ ออกมาทำลายสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา.!!

เบื้องต้นยังไม่มีข้อมูลที่พิสูจน์ชัดและบ่งชี้ได้ชัดเจนว่า CPF คือต้นตอของการแพร่กระจายของ “ปลาหมอคางดำ” แต่อย่างใด

ต่อกรณีดังกล่าว CPF ชี้แจงว่าตามที่ปรากฏเป็นข่าวกลุ่มชาวประมง จ.สมุทรสงครามและสภาทนายความ ยื่นฟ้องทางแพ่งบริษัท เพื่อเรียกค่าเสียหายชดใช้การนำเข้าปลาหมอคางดำนั้น บริษัทขอชี้แจงว่า “บริษัทได้ตั้งคณะทำงานเพื่อสอบข้อเท็จจริง ตั้งแต่เริ่มการริเริ่มแนวคิดการศึกษาตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งยุติความคิดที่จะทำการวิจัยเรื่องนี้เมื่อต้นปี 2554 ยืนยันว่าไม่ใช่ต้นเหตุของการระบาด”

อย่างไรก็ตาม CPF พร้อมเข้าสู่กระบวนการเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามที่ถูกกล่าวหาและเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมที่ก่อให้เกิดการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง ตามกระบวนการทางกฎหมายและนำไปสู่ความเข้าใจ ที่ถูกต้องของสังคมได้ในที่สุด..

แม้บริษัทจะมั่นใจว่าไม่ใช่สาเหตุของการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ แต่รับทราบดีว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญ ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้เข้ามาช่วยสนับสนุนการแก้ไขอย่างบูรณาการกับทุกภาคส่วน พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติการเชิงรุกหลายมิติตามแนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

การดำเนินงานเชิงรุก 5 โครงการประกอบด้วย…

1)สนับสนุนการรับซื้อปลาหมอคางดำจำนวน 2,000,000 กิโลกรัม นำมาผลิตเป็นปลาป่นเพื่อเร่งกำจัดปลาหมอคางดำออกจากระบบให้มากและเร็วที่สุด โดยช่วงเวลาที่ผ่านมา รับซื้อไปแล้วกว่า 1,100,000 กก.และยังคงรับซื้อต่อเนื่อง

2)สนับสนุนภาครัฐและชุมชนปล่อยปลาผู้ล่าจำนวน 200,000 ตัว โดยที่ผ่านมา บริษัทมีการส่งมอบปลากะพงขาว จำนวน 70,000 ตัว ให้กับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนในหลายจังหวัด

3)สนับสนุนภาครัฐ ชุมชนและภาคประชาสังคม จัดกิจกรรมจับปลา สนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคน ในทุกพื้นที่ ที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาสนับสนุนกิจกรรมไปแล้ว 30 ครั้งใน 14 จังหวัด จับปลาหมอคางดำได้มากกว่า 25,000 กิโลกรัม

4)การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา

5)ร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในการหาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำเพื่อพัฒนาแนวทางที่จะบรรเทาปัญหาในระยะยาว ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ สถาบันการศึกษาทั้งใน และต่างประเทศ

แหละนี่คือ..ถ้อยแถลงจาก CPF ถึงปมประเด็น “ปลาหมอคางดำ” ดังกล่าว..

วันนี้ผลแห่งคดียังไม่มีใครหยั่งรู้ว่าจะออกมาเป็นเช่นไร..? แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วนั่นคือการดำเนินงานแก้ปัญหาแบบบูรณาการระหว่าง CPF และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้ว..!!

วิษณุ โชลิตกุล

Back to top button