KTB คุณภาพสินทรัพย์โดดเด่น

KTB โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 1.สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 26.91% 2.สินเชื่อรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 16.34%


คุณค่าบริษัท

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 1.สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 26.91% 2.สินเชื่อรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 16.34% 3.สินเชื่อธุรกิจ SME 10.45% 4.สินเชื่อรายย่อย 46.28% ภายใต้สินเชื่อรายย่อย 46.28% สามารถจำแนกต่อดังนี้ 1.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 19.43% 2.สินเชื่อบุคคล 24.06% 3.สินเชื่อบัตรเครดิต 2.68% 4.สินเชื่อเช่าซื้อ (Leasing) 0.10%

KTB รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิ 11,107.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.03% จากไตรมาส 3/2566 แต่ลดลง 0.78% จากไตรมาส 2/2567 ที่มีกำไรสุทธิ 11,195.15 ล้านบาท กำไรไตรมาส 3 สูงกว่าที่บล.กสิกรไทย คาดไว้ 6% เนื่องจากไม่มีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของอสังหาฯ รอการขาย เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 997 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2567 และอัตราส่วนต่างดอกเบียสุทธิ (NIM) ที่ดกว่าคาด นอกจากนี้กำไรไตรมาส 3 ยังสูงกว่าประมาณการของตลาดถึง 2% การไม่มีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของอสังหาฯ รอการขายเทียบกับขาดทุน 1.3 พันล้านบาท ในไตรมาส 3/2566 เป็นตัวขับเคลื่อนกำไรปกติเมื่อเทียบไตรมาส 3/2566 ขณะที่กำไรลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบไตรมาส 2/2567 เนื่องจาก (opex) เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายด้าน IT

กำไรจากการดำเนินงานก่อนตั้งสำรอง (PPOP) อยู่ที่ 2.26 หมื่นล้านบาท ลดลง 6% จากไตรมาส 2/2567 และ 1% จากไตรมาส 3/2566 ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของบล.กสิกรไทย 2% เนื่องจากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่สูงกว่าคาดที่ 42% เทียบกับประมาณการของบล.กสิกรไทย ที่ 40% สินเชือรวมไตรมาส 3/2567 ทรงตัวจากไตรมาส 2/2567 ที่ 2.57 ล้านล้านบาท เนื่องจากสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้น ชดเชยกับสินเชื่อ SME และสินเชื่อภาคธุรกิจที่ลดลง รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิไตรมาส 3/2567 เพิ่มขึ้น 6.5% จากไตรมาส 2/2567 และ 2.1% จากไตรมาส 3/2566 มาที่ 5.6 พันล้านบาท จากการขายประกันภัยผ่านธนาคาร และค่าธรรมเนียมบริหารความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้น 16% จากไตรมาส 2/2567 และ 12% จากไตรมาส 3/2566 มาที่ 1.72 หมื่นล้านบาท จากต้นทุนด้าน IT เป็นหลัก

KTB รายงาน NPL ratio อยู่ที่ 3.8% ซึ่งต่ำกว่าที่บล.กสิกรไทย คาดไว้ 0.20% และลดลงจาก 3.9% ในไตรมาส 2/2567 ขณะที่สินเชื่อระยะที่ 2 ในไตรมาส 3/2567 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 7.6% ของสินเชื่อรวม เทียบกับ 7.5% ในไตรมาส 2/2567 จากการคำนวณของบล.กสิกรไทย การก่อตัวของ NPL ใหม่ในไตรมาส 3/2567 ลดลงจากไตรมาส 2/2567 และไตรมาส 3/2566 ค่าใช้จ่ายสำรองหนีสูญ (credit cost) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาที่ 1.3% จาก 1.24% ในไตรมาส 2/2567 และอัตราสำรองต่อหนีสูญ (coverage ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 179% จาก 176% ในไตรมาส 2/2567

ข้อมูลจาก LSEG Consensus สำหรับ KTB ระบุว่า ประมาณการรายได้รวมปี 2567 ที่ 156,922.96 ล้านบาท และประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 42,311.92 ล้านบาท โดยมีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 22.44 บาท จาก 20 โบรกเกอร์

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาดแนวโน้มกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2567 จะโตเด่นเมื่อเทียบไตรมาส 4/2566 จากฐานที่ต่ำในไตรมาส 4/2566 ที่มีการตั้งสำรองเพื่อรองรับผลกระทบจากลูกหนี้รายใหญ่ในกลุ่มรับเหมา แต่ลดลงจากการบันทึกค่าใช้จ่ายลงทุนด้านระบบ IT ที่เพิ่มขึ้น และเริ่มรับผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำให้ NIM จะลดลง แต่จะชดเชยด้วยการตั้งสำรองที่คาดจะปรับตัวลงหลัง KTB บริหารจัดการหนี้เสียได้ดี และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่คาดว่าจะดีขึ้น หนุนให้คงคาดว่า KTB จะมีกำไรสุทธิปี 2567 จำนวน 43,791 ล้านบาท โต 19.6% จากปี 2566 และโตต่อ 5% ในปี 2568

สำหรับการประเมินมูลค่า (Valuation) หุ้น KTB ราคาปัจจุบัน (ราคาปิดวันที่ 5 พ.ย. 2567 ที่ 20.60 บาท) เทรดที่ P/E 7.45 เท่า ต่ำกว่า P/E กลุ่มธนาคารที่ 7.70 เท่า ส่วนค่า P/BV ของหุ้น KTB อยู่ที่ 0.70 เท่า สูงกว่า P/BV กลุ่มธนาคารที่ 0.66 เท่า

Back to top button