
เครื่องหมาย C ‘เครื่องกรองความเสี่ยง’ ที่ผู้ลงทุนควรสนใจ
แม้ในช่วงของหลังประกาศงบการเงินประจำปี 2567 ของบริษัทจดทะเบียนจะเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ลงทุนได้ทราบภาพรวมของผลประกอบการ
แม้ในช่วงของหลังประกาศงบการเงินประจำปี 2567 ของบริษัทจดทะเบียนจะเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ลงทุนได้ทราบภาพรวมของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีทั้งการเติบโต
แต่มีบางบริษัทที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น สถานะทางการเงิน, งบการเงิน, ไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ของ ตลท.-ก.ล.ต. ฯลฯ ที่ผู้ลงทุนอาจจะไม่ทราบ
ซึ่งหลังประกาศงบประจำปีแล้ว หากผู้ลงทุนไม่ได้มีเวลามากพอที่จะเข้าไปดูในรายละเอียดของ
ความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นข้อมูลสำคัญต่อการตัดสินใจก่อนเข้าลงทุน
“เราสามารถใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการประเมินความเสี่ยงของบริษัท ผ่านการสังเกตเครื่องหมาย C ที่ปรากฏอยู่ในวงเล็บด้านหลังชื่อหุ้นรายตัว”
เครื่องหมาย C แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามที่มาของปัญหาดังนี้
– CB (Business) ปัญหาฐานะการเงินหรือการดำเนินงาน
หากมีเครื่องหมาย CB อยู่ในวงเล็บตามหลังชื่อหุ้น จะบ่งบอกถึงปัญหาในส่วนของสถานะทางการเงินหรือการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ต่าง ๆ อาทิ
ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) ต่ำกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว, ขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี จนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำกว่าทุนชำระแล้ว, ศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการหรือล้มละลาย หรือแม้กระทั่งถูกหน่วยงานกำกับสั่งให้แก้ไขฐานะทางการเงิน
มีรายได้จากการดำเนินงานปีล่าสุดต่ำกว่า 100 ล้านบาท สำหรับบริษัทจดทะเบียนใน SET และ 50 ล้านบาท ใน mai
รวมถึงการผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันการเงินหรือหุ้นกู้
– CS (Financial Statement) ปัญหางบการเงิน
หากมีเครื่องหมาย CS กำกับอยู่หลังชื่อหุ้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหางบการเงิน อาทิ
ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น, ก.ล.ต. สั่งให้แก้ไขงบการเงิน หรือสั่งให้ทำ Special Audit
– CC (Non-Compliance) ปัญหาไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์
เครื่องหมาย CC บ่งชี้ถึงการไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น การเป็น Cash company หรือมี Audit Committee ไม่ครบ เกิน 3 เดือน
– CF (Free Float) จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยน้อยกว่าเกณฑ์
สำหรับเครื่องหมาย CF จะแสดงสถานะว่า จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ กล่าวคือ Free Float ต้องมากกว่า 15% ของทุนชำระแล้ว และมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 150 ราย
หากบริษัทไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ตามกำหนด อาจนำไปสู่การถูกขึ้นเครื่องหมาย SP และอาจถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ บริษัทที่มีเครื่องหมาย C ทั้งหลาย จะต้องจัดให้มีการนำเสนอต่อสาธารณชนภายใน 15 วัน เพื่ออธิบายแผนการแก้ไขปัญหาแก่ผู้ลงทุน และดำเนินการนำเสนอเหล่านี้ต่อไปทุกไตรมาสจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข
ประโยชน์ของการมีเครื่องหมาย C ที่มีการแยกประเภทของความเสี่ยงนั้น ช่วยให้ผู้ลงทุนระมัดระวัง และติดตามข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย เพื่อนำมาวิเคราะห์ศึกษาก่อนตัดสินใจที่จะซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ๆ
เรียกได้ว่าเครื่องหมาย C ถือเป็นเครื่องกรองความเสี่ยงให้ผู้ลงทุนได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบัน มีหุ้นที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C ณ 12 มี.ค. 68
ยอดรวม SET 54 บริษัท / mai 22 บริษัท (บางบริษัทอาจติดมากกว่า 1 C เช่น ติดทั้ง CB และ CS)
CB – SET 39 / mai 21
CS – SET 6 / mai 4
CF – SET 16 / mai 1
CC – ไม่มี
อึ้งย้ง