บริษัทโฮลดิ้งมหาชนพลวัต 2016

ในที่สุด บริษัทอสังหาริมทรัพย์พุ่งแร่งที่กลายเป็นอันดับหนรึ่งของธุรกิจนี้ในไทยล่าสุด อย่าง บริษัท พฤกษษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS ก็หนีไม่พ้นสูตรการเติบโตแบบบรรษัท “ปลาหมึกยักษ์” ตามตำราบริหารธุรกิจของโลกได้กระทำไปก่อนหน้านี้หลายร้อยปีแล้ว เพียงแต่ย่างก้าวนี้มีพัฒนาการที่ทั้ง”เหนือกว่า”และ “สะอาดกว่า”


วิษณุ โชลิตกุล

 

ในที่สุด บริษัทอสังหาริมทรัพย์พุ่งแร่งที่กลายเป็นอันดับหนรึ่งของธุรกิจนี้ในไทยล่าสุด อย่าง บริษัท พฤกษษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS ก็หนีไม่พ้นสูตรการเติบโตแบบบรรษัท “ปลาหมึกยักษ์” ตามตำราบริหารธุรกิจของโลกได้กระทำไปก่อนหน้านี้หลายร้อยปีแล้ว เพียงแต่ย่างก้าวนี้มีพัฒนาการที่ทั้ง”เหนือกว่า”และ “สะอาดกว่า

เหตุผลที่เอามาอ้าง ก็ไม่ธรรมดา จะเป็นสูตรสำเร็จง่ายๆ ว่า ต้องการเติบโตตามแผนธุรกิจในการสร้างรายได้อีก 1 เท่าตัวจากระดับ 5 หมื่นล้านบาท เป็น 1 แสนล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้า โดยมีแหล่งรายได้ที่กระจายตัว ลดความเสี่ยง และเพื่อความคล่องตัวในระยะยาว โดยเริ่มต้นจากการทำบูรณาการแนวตั้ง (vertical integration) ก่อน โดยไม่ขอพูดถึงแนวทางของการเติบโตด้วยบูรณาการแนวระนาบ (horizontal integration)

เป้าหมายของการปรับโครงสร้างตามที่ผู้บริหารออกมาแถลงวานนี้ เป็นการตอกย้ำว่า สิ่งที่พูดกันมาเมื่อ 20 ปีก่อนในแวดวงนักการเงินและตลาดทุนไทยคือ แนวโน้มของธุรกิจขนาดใหญ่และกลางจากการเป็นบริษัทที่มีธุรกิจจำกัดตัวแค่ธุรกิจเดิมที่เคยทำมาแต่เริ่มก่อตั้ง กลายเป็นกลุ่มธุรกิจ หรือ บรรษัทขนาดใหญ่ (Conglomerates)

เป้าหมายหลักของการปรับตัวจากธุรกิจที่ทำด้านเดียวเป็นหลักไปสู่การเป็นบรรษัทขนาดใหญ่ที่มีบริษัทโฮลดิ้งเป็นแกนหลักของกลุ่มบรรษัท ถือเป็นกลยุทธ์ “ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัว” ประกอกด้วย 1) เพื่อลดความเสี่ยงและรักษาการเติบโตระยะยาวเอาไว้ 2) เพื่อสร้างผลตอบแทนและมูลค่าผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน 3) เพื่อความคล่องตัวในการบริหารอย่างยืดหยุ่นเข้ากับสถานการณ์

เดิมทีนั้น แนวคิดเรื่องตั้งบริษัทโฮลดิ้ง มักจะเริ่มต้นจากการที่เจ้าของกลุ่มกิจการไม่ต้องการเปิดเผยตัวเลขที่มาของรายได้ ค่าช้าจ่าย กำไร-ขาดทุนของกลุ่มต่อสาธารณะ จึงเลือกเอาการตั้งบริษัทโฮลดิ้งนอกตลาด (Unlisted Holding Company) ทำหน้าที่เป็นมันสมองและหัวใจของกลุ่ม ทำหน้าที่ชักใยในฐานะ “คนเชิดหุ่น” กับบริษัทลูกใต้ร่มธงอย่างเต็มที่

โครงสร้างแบบเริ่มต้นอย่างนี้ ปัจจุบันยังมีการทำกันในกลุ่มธุรกิจเก่าแก่ของไทยอย่าง เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ หรือ กลุ่มทีซีซี ซึ่งนับวันรูปแบบนี้จะยิ่งพ้นสมัยไปทุกขณะ

เหตุผล คือ บริษัโฮลดิ้งเรียกร้องต้องมีทุนจดทะเบียนสูงมาก และอาจต้องก่อหนี้มหาศาลเพื่อรองรับการซื้อขายกิจการใหม่ๆเข้ามาในร่มธง ปัญหาที่ตามมาทั้ง การเพิ่มทุน และก่อหนี้ ทำได้ค่อนข้างยาก

ในการเพิ่มทุน หากว่าบริษัทโฮลดิ้งที่รับรู้กำไรจากเงินปันผลของบริษัทลูก ได้ผลตอบแทนกลับมาช้า หรือ ไม่ทันกับความต้องการเงินทุนที่มากขึ้น จะทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีขีดจำกัด ไม่สามารถแบกรับได้

นอกจากนั้น หากไม่สามารถเพิ่มทุนได้เร็วทันสถานการณ์ก็อาจมีผลให้ ยอดสัดส่วนหนี้สินของบริษัทโฮลดิ้งนอกตลาดดังกล่าวสูงมาก ซึ่งภายใต้หลักเกณฑ์การปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน หรือตลาดซื้อขายตราสารหนี้ปัจจุบันไม่อนุญาตให้กระทำเหมือนในอดีต หากว่ารายได้ต่อทุนจดทะเบียนของบริษัทโฮลดิ้งไม่สูงเพียงพอ

ที่ร้ายกว่านั้น รูปแบบเก่าคร่ำคร่านี้ ยังทำให้เกิดคำถามในเรื่องธรรมาภิบาลสูงมากขึ้นทุกขณะ เพราะโครงสร้างการที่บริษัทโฮลดิ้งอยู่นอกตลาด ปลอดจากการตรวจสอบ เปิดช่องให้ใช้วิศวกรรมการเงินแบบ”ปล้นกลางแดด”เพื่อตุกติกทางการเงิน ผ่องถ่ายผลประโยชน์จากบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมทุนไปให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้ง่าย หรือโยกเอากำไรถ่ายเทจากบริษัทโฮลดิ้งไปให้อีกบริษัทหนึ่ง ผ่านกระบวนการ financial crossing ทำสัญญาจัดซื้อจัดขายหุ้นกันย้อนหลัง หรือล่วงหน้า ซึ่งซับซ้อนมากกว่าระบบผ่องถ่ายด้วย trading crossing ที่เก่าและคุ้นเคยกันไปทั่ว

การพยายามจัดตั้ง Super Holding Company ของไทย โดยผ่านความเห็นชอบของคสช.และรัฐบาลชุดนี้ ถือเป็นรูปแบบที่พ้นยุคสมัยเช่นกัน และมีโอกาสสี่ยงสูงมากที่ในอนาคตจะถูกตั้งคำถามในเรื่องของธรรมาภิบาล ซึ่งอาจจะเท่ากับหรือมากกว่าบริษัทโฮลดิ้งนอกตลาดตามปกติ เพราะถูกตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์แฝงเร้นทางการเมืองร่วมสมัยของคนบางคนเท่านั้น

การออกแบบบริษัทโฮลดิ้งรูปแบบใหม่ ซึ่งกระทำกันมาในรอบ 20ปีมานี้ (โดยเฉพาะรูปแบบที่ไปได้สวยจากต้นแบบในไทยของกลุ่มอินโดรามา ผ่านบริษัทโฮลดิ้งอย่าง IVL) โดยการสร้างบริษัทโฮลดิ้งที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น (Listed Holding Company )ทำหน้าที่ใช้วิศวกรรมการเงินรองรับการเติบโตของกลุ่มในอนาคต โดยแลกเปลี่ยนกับการเปิดเผยข้อมูล จนถือเป็น “เส้นเลือดใหญ่และปอด” ในการหล่อเลี้ยงเครือข่ายบรรษัทอย่างซับซ้อนมากขึ้น

กลุ่มอินทัช (ชินคอร์ป เดิม) ถือเป็นต้นแบบของบริษัทโฮลดิ้งยุคใหม่ (คือ INTUCH) คือเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นจดทะเบียนมหาชน เป็นบริษัทโฮลดิ้งเต็มรูปแบบ หรือ PURE HOLDING COMPANY มีข้อมูลชัดเจนตามเจตนากิจการโฮลดิ้งร่วมสมัยที่แท้จริง ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่อย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)ก็มีลักษณะเป็นบริษัทโฮลดิ้งลูกผสม หรือ Hybrid Holding Company เพราะมีทั้งกิจการของบริษัทแม่เอง และมีหน้าที่เป็นแค่โฮลดิ้งบางส่วนของบริษัทอื่นๆในร่มธง

ความสำเร็จของบริษัทโฮลดิ้งเต็มรูปแบบที่จดทะเบียนเป็นมหาขนทั่วโลก ได้รับการยืนยันว่า เป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง และสามารถทำให้กลุ่มบรรษัทเติบโตได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีผลข้างเคียงเกี่ยวกับปัญหาเรื่องธรรมาภิบาล ซึ่งจะลดทอนความศรัทธาจากนักลงทุน หรือเจ้าหนี้

จุดเริ่มต้นของ PS และอีกหลายกลุ่มธุรกิจ ที่ประกาศตัวยอมรับให้บริษัทโฮลดิ้งจดทะเบียนเป็นมหาชน เพื่อเป็นแกนหลักของกลุ่มบรรษัทขนาดใหญ่ ตามรอยของ INTUCH และ IVL จึงเป็นเส้นทางที่น่าชมเชยสำหรับกลุ่มธุรกิจอื่นที่ต้องการสร้างอาราจักรธุรกิจที่โปร่งใสด้วยธรรมาภิบาล และสามารถรองรับการระดมทุนขนาดใหญ่อย่างยืดหยุ่น

หากทำได้สำเร็จจนกลายเป็นกระแส วัฒนธรรมการทำธุรกิจของบริษัทในประเทศไทยจะเปลี่ยนแอย่างสิ้นเชิง ไม่ต้องทำกระมิดดกระเมี้ยนเสแสร้งแบบที่สมาคม บลจ. กระทำในกรณีของ CPALL เมื่อสัปดาห์ก่อน ที่ด้านหนึ่งก็กลัวเสียประโยชน์ แต่ก็ยังอยาก”ทำบุญเอาหน้า”ต่อไปเพื่อรักษาภาพลักษณ์อันสวยงาม เสมือนหนึง่นักลงทุนนั้นโง่เง่าเสียเต็มประดา

 

 

 

Back to top button