ปอนด์สเตอร์ลิงพลวัต 2016
กระแสข่าวการถกเถียงว่าอังกฤษควรจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (หรือเรียกกันย่างเริ่มคุ้นเคยยามนี้ว่า Brexit) ในการลงประชามติเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ อาจจะเร็วเกินไปที่จะมีผลต่อชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก แต่สำหรับนักลงทุนในอังกฤษแล้ว ข่าวนี้สามารถเอามาใช้เล่นเก็งกำไรจากความผันผวนของค่าเงิน และราคาหุ้นได้ดีไม่น้อย
วิษณุ โชลิตกุล
กระแสข่าวการถกเถียงว่าอังกฤษควรจะถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (หรือเรียกกันย่างเริ่มคุ้นเคยยามนี้ว่า Brexit) ในการลงประชามติเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ อาจจะเร็วเกินไปที่จะมีผลต่อชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก แต่สำหรับนักลงทุนในอังกฤษแล้ว ข่าวนี้สามารถเอามาใช้เล่นเก็งกำไรจากความผันผวนของค่าเงิน และราคาหุ้นได้ดีไม่น้อย
อย่างน้อยก็ดีดกว่าข่าวซ้ำซาก ดังเรื่องราวของ เฟดฯ วิกฤตกรีซ หรือ ราคาน้ำมัน..ว่ากันอย่างนั้น
โดยข้อเท็จจริง การลงประชามติดังกล่าว เป็น “พิธีการ” ของสนธิสัญญาแห่งลิสบอน (The Treaty of Lisbon) ในปี ค.ศ. 2009 ที่เปิดช่องให้ขาติสมาชิกสหภาพยุไรปที่ต้องการถอนตัวออกโดยสมัครใจ สามารถกระทำได้
อังกฤษ เข้ามีส่วนร่วมในสหภาพยุโรปนับแต่เริ่มแรกในฐานะพิเศษภายใต้สนธิสัญญามาสตริท ช ค.ศ. 1992 แต่ก่อนหน้านั้น อังกฤษได้เข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)ในปี ค.ศ.1975 ซึ่งก็มีการลงประชามติที่มีคนคัดค้านมากพอสมควร
เสียงคัดค้านของการเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อังกฤษต้องดำรงสาถนภาพเป็น “สมาชิกในเงื่อนไขพิเศษ” คือ ไม่เข้าร่วมกับระบบการเงินของสหภาพ ยังคงรักษาการคงเงินปอฯด์สเตอร์ลิงเอาไว้ ไม่ใช้เงินยูโรแบบเดียวกับสหภาพอีก 27 ประเทศ
เสียงคัดค้านหลักระบุว่า การที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ต้องเข้าอยู่ใต้อำนาจบงการของธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB เป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักอธิปไตยของประเทศ เพราะผู้บริหารของECB นั้น ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่มาจากการสรรหาทางอ้อมผ่านรัฐสภาของยุโรป ซึ่งเท่ากับอังกฤษสูญเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจให้กับเทคโนแครตที่ไม่ได้มาจากประชาชน
ข้ออ้างดังกล่าว มีคนวิเคราะห์ว่า เป็นการอำพรางข้อเท็จจริงที่ว่าอังกฤษไม่ต้องการให้อำนาจของ BOE ถูกครอบงำโดยธนาคารกลางของเยอรมนี (บุนเดสแบงก์) และไม่ต้องการให้ศูนย์กลางการเงินของยุโรปอย่างลอนดอน ถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ฟรังเฟิร์ต
การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แม้จะด้วยเงื่อนไขพิเศษ ทำให้มีเสียงเรียกร้องจากกลุ่มพลังและนักการเมืองฝ่ายค้าน(ส่วนใหญ่จะเป็นพรรคเลเบอร์) ให้อังกฤษถอนตัวเป็นระยะๆ โดยยอมที่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นจูดาสของยุโรป
ประสบการณ์จากความสำเร็จของกรีนแลนด์ และอีกบางประเทศเล็กๆ ที่สามารถไปได้สวยในการบริหารจัดการเศรษฐกิจให้รุ่งเรืองและดีขึ้นจากการเป็นอิสระจากอำนาจของ ECB ไม่ต้อง “กินน้ำใต้ศอก” สร้างแรงบันดาลใจกับกลุ่มต่อต้านที่อังกฤษหลายครั้ง เป็นระยะๆไม่ต่อเนื่อง
ในปี ค.ศ. 1994 หรือ 2 ปีหลังสนธิสัญญามาสตริทช์ กลุ่มคัดค้านการเป็นสมาชิกของสหภาพ จัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ The Referendum Party เพื่อผลักดันให้รัฐสภายอมรับการลงประชามติถอนตัวออกจาสหภาพ แต่ปรากฏว่าในการเลือกตั้งใหญ่ พรรคดังกล่าวไม่ได้คะแนนแม้แต่ที่นั่งเดียวในรัฐสภา แต่เสียงเรียกร้องให้มีการทำประชามติก็ยังมีขึ้นเป็นระยะๆ จนถึงปีที่ผ่านมา
สนธิสัญญาแห่งลิสบอน์ ที่เปิดช่องให้ (ภายใต้เงื่อนไขว่า หากประชามติต้องการให้ถอนตัวจริง การสิ้นสุดสมาชิกภาพจะใช้เวลา 2 ปี เพื่อยืดระยะเวลาให้แต่ละฝ่ายได้วางแผนปรับตัวและเจรจาต่อรองข้อตกลงใหม่) ทำให้นายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอนของอังกฤษ จำต้องยอมผ่อนปรนให้มีการทำประชามติ โดยเริ่มต้นกระบวนการออกกฎหมาย European Union Referendum Act 2015 ในปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับความชอบธรรมของการลงประชามติ
หากผลการลงประชามติว่าจะให้อังกฤษยังเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อ เงื่อนไขของการเป็นสมาชิกก็จะยังคงแบบเดิม เพียงแต่อาจจะเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด เช่น โดยยังคงใช้เงินปอนด์สเตอร์ลิง และสงวนสิทธิ์ที่จะไม่เข้าร่วมกับ EU ในรูปแบบอื่นซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต (เช่น การรวมกลุ่มในเชิงการเมือง) แล้วก็ปลดล็อกข้อกำหนดเกี่ยวกับผลประโยชน์สำหรับแรงงานชาวต่างชาติ เพื่อลดภาระผู้อพยพ
หากประชามติต้องการให้ถอนตัว ความเสียหายระยะสั้นและยาวจะมีมหาศาล ทำให้เมื่อมีกระแสนี้เกิดขึ้น ก็ทำให้ตลาดเงินเกิดดวามผันผวนขึ้น โดยที่ในระยะสั้น ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง ลดค่าลงฮวบฮาบ 2.3% ต่อดอลลาร์สหรัฐ ต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี ส่วนตลาดหุ้นได้รับผลกระทบไม่มากเท่ากับอิทธิพลของราคาน้ำมัน
ถึงแม้จะมีการคาดเดาจากผู้ช่ำชองการเมืองอังกฤษว่า โอกาสที่ผลประชามติที่จะให้ถอนออกจากสหภาพค่อนข้างต่ำ เพราะคนจะกลัวความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่จะตามมารอบด้าน ทำให้แนวโน้มล่าสุดที่มีผลสำรวจระว่างการเลือกที่จะคงสถานภาพสมาชิก กับการถอนตัวออกจากสหภาพ อยู่ที่ 43% ต่อ 40% (17% ยังไม่ตัดสินใจ) ทำให้กังวลพอสมควรเนื่องจากประชามติจริงอาจจะเหวี่ยงรุนแรงได้ โดยเฉพาะแรงกดดันเรื่องผู้อพยพจากตะวันออกกลาง
เวลาที่ยังเหลืออีก ประมาณ 4 เดือน ทำให้วิวาทะเรื่องการถอนตัวจากสภาพยุโรป เริ่มเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งหนีไม่พ้นที่นักลงทุนในตลาดลอนดอน และทั่วโลก จะได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ แต่จะมากหรือน้อย ไม่มีใครรู้
หากไม่ประเมินต่ำเกิน การลงประชามติถอนตัวหรือไม่ของอังกฤษ น่าจะเป็น ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ไปเป็นระยะจนกว่าวันลงประชามติจะผ่านพ้นไประยะหนึ่ง เป็นไปตามครรลองของชาติต้นแบบประชาธิปไตยของโลกชาติหนึ่ง ไม่ใช่ประชาธิปไตยจำแลงที่อ้างเอาชาตินิยมภายใต้วัฒนธรรมอำนาจนิยมโดยคนจำนวนน้อยมาข่มขู่กันแบบบางประเทศ
ส่วนค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง ที่มีคนคาดเดาว่า หากถอนตัวจากการเป็นสมาชิกจริง จะกลับไปอยู่ที่ระดับเดียวกับปี ค.ศ. 1978 อันเป็นค่าต่ำสุดเทียบกับดอลลาร์ในอดีต หรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น และไม่มีใครคาดเดาออก