ลูกหนี้ผู้มีพระคุณแฉทุกวัน ทันเกมหุ้น
ราคาหุ้นของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี กัด (มหาชน) หรือ SSI ปิดการซื้อขายที่ 0.03 บาท เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ก่อนที่จะถูกขึ้นเครื่องหมาย 3 เครื่องหมายรวดเดียว ทั้ง SP (ห้ามซื้อขาย) NP (รอรายงานข้อมูลความชัดเจนจากบริษัท) และ NC (เข้าข่ายถูกเพิกถอนจากตลาด) ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้บริหารอย่างนาย วิน วิริยประไพกิจ เพราะเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ถัดมา SSI ก็มีข่าวดีเมื่อศาลล้มละลายกลางได้ชี้ขาดออกมาว่า ยอมรับให้ SSI เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการเสนอต่อเจ้าหนี้
ราคาหุ้นของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี กัด (มหาชน) หรือ SSI ปิดการซื้อขายที่ 0.03 บาท เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ก่อนที่จะถูกขึ้นเครื่องหมาย 3 เครื่องหมายรวดเดียว ทั้ง SP (ห้ามซื้อขาย) NP (รอรายงานข้อมูลความชัดเจนจากบริษัท) และ NC (เข้าข่ายถูกเพิกถอนจากตลาด) ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้บริหารอย่างนาย วิน วิริยประไพกิจ เพราะเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ถัดมา SSI ก็มีข่าวดีเมื่อศาลล้มละลายกลางได้ชี้ขาดออกมาว่า ยอมรับให้ SSI เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการเสนอต่อเจ้าหนี้
ความล้มเหลวในเวลาเพียงแค่ 3 ปีจากการเข้าซื้อโรงงานถลุงเหล็กเก่าในอังกฤษ เพื่อนำธงชาติไทยไปปักที่โรงงาน SSI UK กลายเป็นทุกขลาภ เพราะยอดหนี้จากเริ่มต้น ในรูปสัญญาเงินกู้ระยะยาวและเงินทุนหมุนเวียนในรูปเงินบาท จำนวน 23,900 ล้านบาท และ สัญญาเงินกู้ระยะยาวและเงินทุนหมุนเวียนในรูปเงินดอลลาร์ จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นฝันร้ายอันยาวนานหลายปีของบรรดาเจ้าหนี้
คำชี้ขาดดังกล่าวทำให้ SSI ได้เฮ ท่ามกลางน้ำตาของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีโอกาสขายหุ้นทิ้งต่อ เพราะถูกกักบริเวณตามคำสั่ง SP อีกหลายเดือน อยู่ที่ว่า…บรรดาเจ้าหนี้ล้วนยอมรับโดยดุษณีว่า ไม่มีความสามารถหาตัวแทนมาบริหารหนี้ก้อนมหึมาหลายหมื่นล้านบาทนี้ได้ดีกว่าเสี่ยวินเอง
คำสารภาพชนิด “มอบตัวโดยไม่มีเงื่อนไข” เกิดขึ้นก่อนที่จะมีคำชี้ขาดของศาล โดย นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ปีนี้ธนาคารยังคงให้น้ำหนักเรื่องของแผนการฟื้นฟู SSI และคาดว่าแผนฟื้นฟูดังกล่าวจะได้ข้อสรุปต่างๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการทำแผนนานถึง 5 เดือน ภายในปลายไตรมาส 3 ของปี 2559
ที่น่าประหลาดใจตรงที่ข้อสรุปสั้นๆ ของนายอาทิตย์ ที่ระบุกันตรงๆ เลยว่า มั่นใจว่าหากแผนฟื้นฟูดังกล่าวสำเร็จก็จะช่วยให้ภาพธุรกิจของธนาคารกลับมาดีขึ้นในหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะเรื่องการตั้งสำรองหนี้เสียที่จะกลับมา
กลายเป็นว่า ลูกหนี้หลายหมื่นล้านที่ใช้เวลา 3 ปีผลาญเงินหลายหมื่นล้านบาทจนเหี้ยน ทำเอาบริษัทแม่อย่าง SSI มีส่วนทุนติดลบต้องเข้ารับการช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ กลับฐานะเป็นคนอุ้มชูเจ้าหนี้…พระคุณล้นเหลือไปเลย
ไหงเป็นงั้นล่ะ..คุณเพ่!!
ตรงนี้เป็นประเด็นเพราะว่าท่าทีดังกล่าว เกิดจากข้อเท็จจริงว่า ธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้หลัก 3 รายคือ ไทยพาณิชย์ กรุงไทย และทิสโก้ ล้วนถูกธนาคารแห่งประเทศไทย บังคับให้ต้องตั้งสำรองเต็มจำนวนหนี้จากสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถจะยึดเอาสินทรัพย์ของ SSI ทั้งเครือ มาตัดแบ่งเพื่อเอาเงินกลับคืนได้ เพราะสินทรัพย์ทั้งหมดที่เคยเชื่อว่ามีเยอะนั้น….เอาเข้าจริง ไม่คุ้มหนี้และดอกเบี้ย
หากไม่ลืมกัน เดือดร้อนถึงขั้นที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำต้องดิ้นรนพึ่งความช่วยเหลือจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มาช่วยโอบอุ้มซื้อหุ้น SCC ในราคาแพงกว่าตลาดหลายสิบบาทต่อหุ้น เพื่อหาเงิน 4.47 พันล้านบาทไปตั้งสำรองพิเศษจากหนี้สูญของ SSI ตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย
จะคุ้มหนี้ได้อย่างไร เพราะเครือข่ายธุรกิจที่โยงใยลึกซึ้งของตระกูลวิริยประไพกิจนั้น ไม่ได้มีแค่ SSI อย่างเดียวเสียเมื่อไหร่ แต่มีอื่นๆ ที่ซับซ้อนเต็มไปหมด ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งที่ดิน โรงงาน กิจการค้า เรือ ขนส่ง และอื่นๆ….เรียกว่าแม้จะเป็นเหล็กเหมือนกัน แต่ก็เป็นเหล็กคนละแบบก็ว่าได้
ข้อเท็จจริงนี้ จะบอกว่าเป็นความผิดของ SSI หรือ เสี่ยวิน ก็ไม่ได้ตรงๆ ..ก็ตอนสำรวจทรัพย์สินเพื่อทำ ดิว ดีลิเจนซ์ก่อนปล่อยกู้หลายปีก่อน ทำกันไม่รอบคอบเอง…ขนาดเอาโรงงานเก่าคร่ำคร่ามาขาย ยังบอกมีGoodwill สวย ไม่ฉุกคิดเลยว่า แบงก์ในยุโรปหรือสหรัฐฯทำไมไม่ยอมปล่อยกู้ ต้องดั้นด้นมากู้แบงก์ไทยที่ไม่ค่อยถนัดงานในต่างประเทศ…ช่วยไม่ได้จริงๆ เสียค่าโง่ไปแล้ว ทำไงได้
ที่ผ่านมา แบงก์เจ้าหนี้ พยายามปัดที่จะพูดเรื่องทางลบของ SSI UK ในช่วง 3 ปีมานี้ ปล่อยให้นักลงทุนหลงทางกันไปเองว่า บริษัทกำลังมีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ ขาดทุนลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งท้ายสุดเมื่อตัวเลขออกมาไม่ไหวแล้ว จึงยอมรับว่าหมดทางเลือก
ตอนที่ SSI ส่งงบการเงินงวดสิ้นปี 2558 โดยมีผลขาดทุนสุทธิ 40,840 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9 เท่า จากปี 2557 ที่มีขาดทุนสุทธิ 4,903 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายงวดปี 2558 อยู่ที่ 19,255 ล้านบาท ลดลงจากปี 2557 ที่มียอดขาย 32,316 ล้านบาท มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเมื่องบการเงินดังกล่าว ถูกผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น เนื่องจาก 3 ประการคือ 1) การถูกจำกัดขอบเขตของการตรวจสอบในกรณีธุรกรรมของบริษัท SSI UK 2) ความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการใช้เกณฑ์การดำเนินงานต่อเนื่องในกรณีชำระหนี้ของบริษัทย่อย 3) ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินที่ปรากฏ อาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ
ขนาดผู้สอบบัญชีลงความเห็นชัดๆ ว่า มีความคลุมเครือในงบการเงินสารพัดอย่างนี้ แบงก์เจ้าหนี้ยังเซื่องซึมมอบตัวให้ลูกหนี้…แถมยังติดเป็นหนี้บุญคุณล่วงหน้าอีกต่างหาก
ผู้รู้วงการเหล็กยกนิ้วว่า SSI เส้นใหญ่กว่าก๋วยจั๊บหลายเท่า…เพียงเพราะว่า แบงก์เจ้าหนี้ ไม่มีชื่อของ KBANK หรือ BBL มาเกี่ยวข้อง …
ส่วนจะด้วยเหตุผลอะไรที่มากกว่านั้น…ขออุบเอาไว้ก่อน…เฉลยทีหลัง อิ อิ อิ..