โค้งแรกแบงก์กลาง-เล็ก กำไรท่วม

เป็นเรื่องสวยงามทางตัวเลขอย่างยิ่ง เมื่อได้เห็นผลประกอบการของบรรดาธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ทำกำไรดีขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ทำให้กำไรไตรมาส 1 ปี 59 ช่างน่าปลื้มเสียนี่กระไร


เป็นเรื่องสวยงามทางตัวเลขอย่างยิ่ง เมื่อได้เห็นผลประกอบการของบรรดาธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ทำกำไรดีขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ทำให้กำไรไตรมาส 1 ปี 59 ช่างน่าปลื้มเสียนี่กระไร

อนึ่ง หากดูผิวเผิน พบว่า กำไรส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ย รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการมีการเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่หากมองให้ลึกซึ้งลงไป กำไรที่เกิดขึ้นจากการที่คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น และหนี้เสียลดลง คือระดับของคุณภาพทางด้านการบริหารจัดการอย่างแท้จริง

สำหรับธนาคารที่กำไรเติบโตได้ดีในช่วงไตรมาส 1 ปี 59 คงหนี้ไม่พ้นธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก อย่างเช่น CIMBT ที่มีกำไรสุทธิ 327.35 ล้านบาท มีอัตราเติบโตถึง 150.65% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 130.60 ล้านบาท ตามมาด้วย LHBANKที่มีกำไรสุทธิ 571.46 ล้านบาท มีอัตราเติบโตถึง 74.11% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 328.21 ล้านบาท ถัดมา KKPมีกำไรสุทธิ 1,106.58 ล้านบาท มีอัตราเติบโตถึง 66.63% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 664.09 ล้านบาท

ขณะที่ TMBมีกำไรสุทธิ 2,092.16 ล้านบาท มีอัตราเติบโต 27.75% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,637.66 ล้านบาท ส่วน BAYมีกำไรสุทธิ 5,150.24 ล้านบาท มีอัตราเติบโต 19.05% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 4,325.98 ล้านบาท สำหรับ TSICOมีกำไรสุทธิ 1,255.03 ล้านบาท มีอัตราเติบโต 5.25% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,192.47 ล้านบาท และ TCAPมีกำไรสุทธิ 1,350.50 ล้านบาท มีอัตราเติบโต 1.43% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,331.51 ล้านบาท

การเติบโตเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิของธนาคารข้างต้น แม้ว่าจะไม่โตโดดเด่นมากนัก แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงการกลับมาของการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น และบางธนาคารยังคงรักษามาตรฐานความสม่ำเสมอเอาไว้ได้ต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งส่วนทางกับที่หลายฝ่ายยังมองว่าผลประกอบการส่วนใหญ่จะวูบลง

ส่วนข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ธนาคารขนาดใหญ่มีกำไรในไตรมาส 1 ปี 59 ที่ยังลดลง เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของช่วงปีก่อน อย่างเช่น KBANKมีกำไรสุทธิ 9,646.09 ล้านบาท มีอัตราลดลง 22.22% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 12,401.33 ล้านบาท ตามมา SCBมีกำไรสุทธิ 10,545.97 ล้านบาท มีอัตราลดลง 19.81% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 13,151.70 ล้านบาท

ทางด้าน BBLมีกำไรสุทธิ 8,317.19 ล้านบาท มีอัตราลดลง 11.58% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 9,406.90 ล้านบาท และ KTBมีกำไรสุทธิ 7,539.86 ล้านบาท มีอัตราลดลง 4.91% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 7,928.82

ล้านบาท

เหตุของกำไรลดลงของธนาคารขนาดใหญ่โดยส่วนมากยังคงเกิดจากธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวนอกจากนี้ เกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นปกติตามฤดูกาล

หลังจากนี้ สิ่งที่ต้องขบคิดในช่วงต่อไป คือ ผลประกอบการในอนาคตของธนาคารที่ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภท MOR และ MRR ลง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME และลูกค้ารายย่อย นั้นอาจจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทปรับลดลงได้ เพราะผลกำไรของธนาคารบ่อเกิดจากดอกเบี้ยทั้งสิ้น

อย่างไรก็ดี หากผลลัพธ์ที่ออกมาหากธนาคารพาณิชย์แห่งใดยังทำกำไรได้ดีต่อเนื่อง นั่นก็สมควรแก่คำชมเชยในตัวผู้บริหารอย่างแท้จริง

 

ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2559 (กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย)

bank

Back to top button