เปิดโผ บจ. ปันผลเป็นหุ้น

(10)บริษัท เอ็น. ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCHโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 20 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (11) บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)หรือ NKIโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 32 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (12) บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI โดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (13)บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ PPSโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (14) บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) หรือ SAWADโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 40 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (15)บริษัท ซีออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ SEAOILโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (16)บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน) หรือSSTโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่,(17) บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SYMCโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 12 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่,(18) บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRCโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 8 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (19) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUEโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 200 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (20) บริษัท เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) หรือTSRโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, และ (21) บริษัท ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล จำกัด (มหาชน) หรือ TSTEโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่


–เส้นทางนักลงทุน–

 

การปันผลเป็นหุ้นแทนปันผลเป็นเงินสด ถือว่ายังเป็นที่นิยมของหลาย ๆ บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากหลายบริษัทต้องรักษาเงินสดไว้เพื่อรอรับการขยายกิจการในอนาคต โดยจะไม่มีส่วนกระทบต่อสัดส่วนความเป็นเจ้าของกิจการ อย่างเช่นบริษัทที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งบริษัทลักษณะนี้ จะไม่จ่ายปันผลเป็นเงินสดแต่จะจ่ายเป็นหุ้น โดยออกหุ้นใหม่ ที่มีจำนวนเท่ากับเงินปันผลที่เป็นเงินสด

โดยผลจากการออกหุ้นใหม่เพื่อมาจ่ายปันผล ทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น แต่ก็เท็จจริงไม่ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเพียงการโอนเงินจากบัญชีกำไรสะสมตามราคาตลาดในเวลานั้น ไปเข้าบัญชีทุน และส่วนเกินทุน ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ยังคงเดิม ถึงแม้บริษัทจะไม่จ่ายเงินปันผล แต่เงินส่วนนี้ได้ถูกเก็บไว้เพื่อการลงทุน ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ต่อไป

วิธีของการปันผลเป็นหุ้นก็เหมือนกับการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่และนำไปจ่ายเป็นหุ้นปันผล ถือเป็นวิธีที่ทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการบริหารงานมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นนั้น บริษัทไม่ต้องนำเงินสดออกจากกิจการเพื่อจ่ายเงินปันผล เพียงแต่เปลี่ยนส่วนของผู้ถือหุ้นที่เป็นกำไรสะสมมาเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งโดยสัดส่วนของการถือครองหุ้นยังคงเท่าเดิมหากต้องการใช้สิทธิ์

ผลพวงจากความสำเร็จของการจ่ายปันผลด้วยหุ้น ทำให้บริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ตามรอยเส้นทางจ่ายปันผลด้วยหุ้นกันอย่างคึกคัก แต่จะอยู่ภายใต้หลักการสำคัญคือ บริษัทที่มีกำไรดีในปีปัจจุบัน แล้วต้องการขยายงาน และมีแผนต้องการระดมเงินจำนวนมากทั้งเป็นทุนหมุนเวียนและดำเนินตามแผนงานที่วางเอาไว้ให้บรรลุผล วิธีการปันผลเป็นหุ้นจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดอีกทาง

 ทั้งนี้ จากการสำรวจก็พบว่า มีบริษัทที่ปันผลเป็นหุ้นในปี 2559 โดยเป็นผลตอบแทนที่งอกเงยจากผลการดำเนินงานในปี 2558 ดังนี้

1) บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BUI โดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 2 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (2) บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) หรือ CHOโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (3) บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน)หรือCIโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่

(4) บริษัท อีซึ่น เพ้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ EASONโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 30 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (5) บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ EPCOโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 25 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (6) บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBALโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 20 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่

(7) บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKULโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (8) บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWDโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 7 หุ้นใหม่, (9) บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSLโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่

 

(10)บริษัท เอ็น. ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCHโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 20 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (11) บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)หรือ NKIโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 32 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (12) บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI โดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่,

 

(13)บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ PPSโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (14) บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) หรือ SAWADโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 40 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (15)บริษัท ซีออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ SEAOILโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่,

 

(16)บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน) หรือSSTโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่,(17) บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SYMCโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 12 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่,(18) บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRCโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 8 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่,

 

(19) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUEโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 200 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, (20) บริษัท เธียรสุรัตน์ จำกัด (มหาชน) หรือTSRโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่, และ (21) บริษัท ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล จำกัด (มหาชน) หรือ TSTEโดยจ่ายเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราการจ่ายเงินปันผล 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่

 

จากข้อมูลที่ปรากฏ จะพบว่าบริษัทที่ปันผลเป็นหุ้นมักเป็นบริษัทที่มีอนาคตในช่วงของการเติบโต แต่อย่างไรก็ดีบางบริษัทอาจยังไม่มีแผนที่จะเติบโตซึ่งทำให้ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าใดนักเนื่องจากมีข้อเสียเมื่อจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นผู้ถือหุ้นก็จะได้รับผลกระทบจากการไดลูชั่น

ดังนั้น ผลกระทบกับโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นสามารถทำกำไรส่วนต่างได้มากน้อยแค่ไหน ผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ตัดสินใจ ว่าควรจะเลือกรับสิทธิ์นั้นหรือไม่

 

ตารางบริษัทที่จ่ายปันผลเป็นหุ้นในปี 2559 จากผลตอบแทนที่เกิดจากผลการดำเนินงานในปี 2558

หลักทรัพย์ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD การจ่ายปันผลเป็นหุ้น(สัดส่วน) รอบผลประกอบการ วันที่ชำระเงิน
หุ้นเดิม หุ้นใหม่
BUI 25/03/2559 2 1   19/05/2559
CHO 27/04/2559 10 1   19/05/2559
CI 9/05/2559 10 1 01/01/2558 – 31/12/2558 25/05/2559
EASON 28/04/2559 30 1 01/01/2558 – 31/12/2558 16/05/2559
EPCO 11/05/2559 25 1 01/07/2558 – 31/12/2558 27/05/2559
GLOBAL 15/03/2559 20 1 01/01/2558 – 31/12/2558 18/05/2559
GUNKUL 9/05/2559 5 1 01/01/2558 – 31/12/2558 25/05/2559
JWD 4/05/2559 10 7 01/01/2558 – 31/12/2558 23/05/2559
KSL 8/03/2559 10 1 01/11/2557 – 31/10/2558 25/03/2559
NCH 10/03/2559 20 1 01/01/2558 – 31/12/2558 9/05/2559
NKI 4/03/2559 32 1 16/05/2559
ORI 8/03/2559 10 1 01/07/2558 – 31/12/2558 4/05/2559
PPS 28/04/2559 5 1 01/01/2558 – 31/12/2558 19/05/2559
SAWAD 28/04/2559 40 1 01/01/2558 – 31/12/2558 19/05/2559
SEAOIL 31/03/2559 10 1 23/05/2559
SST 3/05/2559 10 1
SYMC 3/05/2559 12 1 01/07/2558 – 31/12/2558 24/05/2559
TRC 4/05/2559 8 1 01/01/2558 – 31/12/2558 26/05/2559
TRUE 19/04/2559 200 1 01/01/2558 – 31/12/ 2558 4/05/2559
TSR 3/05/2559 10 1 19/05/2559
TSTE 4/05/2559 5 1 01/01/2558 – 31/12/2558 27/05/2559

Back to top button