KOOL กำไรก้าวกระโดด

ปัจจุบันตลาดเครื่องทำความเย็น อย่างพัดลมไอเย็น พัดลมไอน้ำและเครื่องปรับอากาศมีความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสให้ KOOL สามารถเติบโตและกินส่วนแบ่งได้เพิ่มขึ้น หลังบริษัทมีการตลาดแบบเชิงรุกพร้อมทั้งมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย


–คุณค่าบริษัท–

 

ปัจจุบันตลาดเครื่องทำความเย็น อย่างพัดลมไอเย็น พัดลมไอน้ำและเครื่องปรับอากาศมีความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสให้ บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KOOL สามารถเติบโตและกินส่วนแบ่งได้เพิ่มขึ้น หลังบริษัทมีการตลาดแบบเชิงรุกพร้อมทั้งมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย

ส่งผลให้นักวิเคราะห์มองว่ารายได้ในปี 2559 ทั้งปีบริษัทจะโตเพิ่มขึ้นกว่า 40% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ไปอยู่ที่ระดับ 890 ล้านบาท จากเดิมที่ทำได้ 640 ล้านบาท ในปัจจุบัน โดยมีปัจจัยหลักคือ การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวผลักดันให้ยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้าน ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) การจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง (Direct) ตัวแทนจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ (Dealer และ Agent)

โดยคำนวณว่าบริษัทจะสามารถสร้างยอดขายได้เติบโตอย่างน้อย 40% ในทุกๆช่องทางการจัดจำหน่ายปัจจุบัน อีกทั้งสภาพอากาศภายในประเทศและทั่วโลกที่ยังคงร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสูงในอนาคต เราจึงมองว่าการที่บริษัทจะขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและมีการขยายผู้ค้ารายใหม่จะทำให้รายได้ในปี 2559 และ 2560 ทั้งปี จะเติบโตขึ้นไปกว่า 40% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

ขณะที่ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2559 บริษัทมีรายได้ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 228.69 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 141.44 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 16.60 ล้านบาท หรือ 0.04 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุน 6.31 ล้านบาท หรือ 0.02 บาทต่อหุ้น

 เกิดขึ้นมาจาก หลายสาเหตุด้วยกันคือ อย่างแรก การเพิ่มขึ้นของยอดขายทั้งในประเทศที่มี คู่ค้าใหม่หลักๆมาเพิ่ม และยอดขายในตลาดต่างประเทศประเทศที่เกิดจากความพยายามเปิดตลาดในกลุ่ม AEC อย่างหนักในช่วงปีที่ผ่าน และเริ่มส่งผลต่อยอดขายอย่างชัดเจนในไตรมาสแรกของปีนี้   อย่างที่สอง การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน กลยุทธ์ และการปรับตัวทางการตลาด รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการบริหารแบบ conservative คือปิดอัตราความเสี่ยงทั้งหมดไว้แล้ว ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จึงลดลงไป รวมถึงต้นทุนทางการเงินที่ลดลง

สิ่งสำคัญ คือ เมื่อวิเคราะห์ฐานะทางการเงินเพื่อเป็นตัวแปรในการตัดสินใจต่อการลงทุน พบว่า ฐานะทางการเงินของบริษัทยังคงแข็งแกร่ง เพราะ บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากถึง  451.07 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับหนี้สินหมุนเวียนเพียง 218.07 ล้านบาท ได้ค่า CURRENT RATIO อยู่ที่ระดับ 2.07 เท่า แสดงว่า สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทยังมีมาก

ส่วนปัญหาหนี้สินของบริษัทไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะบริษัทมีหนี้สินรวมแค่ 223.93 ล้านบาท เมื่อเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นมากถึง 342.86 ล้านบาท ได้ค่า D/E อยู่ที่ระดับ 0.66 เท่า แสดงว่า บริษัทแทบไม่มีปัญหาเรื่องหนี้สินเลยก็ว่าได้

ด้านนักวิเคราะห์ บล. เอเอสแอล  แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 2.58 บาท

 

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

1.นายนพชัย วีระมาน 126,932,260 หุ้น 26.44%

2.นายฟัง เม็ง ฮอย 81,168,945 หุ้น 16.91%

3.บริษัท ร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด 27,672,072 หุ้น 5.77%

4.นายโกมินทร์ กรตมี 26,196,582 หุ้น 5.46%

5.นายกฤษณ ไทยดำรงค์ 21,793,642 หุ้น 4.54%

 

รายชื่อกรรมการ

1.นาย ประกิจ ตังติสานนท์ ประธานกรรมการ

2.นาย ประกิจ ตังติสานนท์ กรรมการอิสระ

3.นาย ประกิจ ตังติสานนท์ กรรมการตรวจสอบ

4.นาย นพชัย วีระมาน กรรมการผู้จัดการ

5.นาย กฤษณ ไทยดำรง กรรมการ

Back to top button