บันไดขาลงของเงินปอนด์พลวัต 2016

เมื่อวานนี้ นายมาร์ก คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ประสบความสำเร้จในการสยบความแตกตื่นของตลาดหุ้นและตลดาเงินได้ชั่วคราว เมื่ออกมามาประกาศให้คำมั่นสัญญาในการรักษาเสถยีรภาพของตลาดภายหลังจากผลของการลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปมีผลลัพธ์ออกมาแล้ว


วิษณุ โชลิตกุล

 

เมื่อวานนี้ นายมาร์ก คาร์นีย์  ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ประสบความสำเร้จในการสยบความแตกตื่นของตลาดหุ้นและตลดาเงินได้ชั่วคราว เมื่ออกมามาประกาศให้คำมั่นสัญญาในการรักษาเสถยีรภาพของตลาดภายหลังจากผลของการลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปมีผลลัพธ์ออกมาแล้ว

คารืนีย์ ระบุว่า ระบบการเงินของสหราชอาณาจักรยังคงมีความแข็งแกร่ง และได้ติดต่ออย่างใกล้ชิดกับธนาคารกลางแห่งอื่นๆ ในช่วงก่อนและหลังการทำประชามติ  พร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ในสหราชอาณาจักรต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงอยู่ในระดับควบคุมได้ แม้มีมีสิ่งบ่งชี้ว่าภาคก่อสร้างได้ชะลอตัวลงก่อนการลงประชามติ ในขณะที่ยอมรับว่าค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ ได้มีการปรับตัวอย่างผันผวนในช่วงแรก แต่การปรับเปลี่ยนดังกล่าวได้ดำเนินไปในทิศทางที่เอื้อต่อการปรับตัวทางเศรษฐกิจ

คำแถลงของนายคาร์นีย์ ผิดแผกจากแถลงการรณ์ของธนาคารกลางอังกฤษ ที่ออกมาก่อนในวันเดียวกันพอสมควร ที่ระบุว่า ความเสี่ยงที่มีการระบุในเดือนมีนาคม ก่อนการลงประชามติ ได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว และเสถียรภาพทางการเงินของสหราชอาณาจักรในขณะนี้ ก็กำลังเผชิญภาวะท้าทายในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอน และการปรับเปลี่ยนยังต้องใช้เวลาในการสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับสหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ

การแถลงข่าวของผู้ว่าและแถลงการณ์ของธนาคารกลางอังกฤษ ไม่ได้ออกมาเป็นนามธรรมอย่างเดียว แต่ยังมีการออกมาตรการรูปธรรมพร้อมกันด้วยโดย ธนาคารกลางอังกฤษได้ประกาศปรับลดการดำรงเงินกองทุนสำหรับลดความรุนแรงของวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือ Countercyclical Capital Buffer Rate เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารต่างๆลดการดำรงเงินกองทุนดังกล่าวลง 5.7 พันล้านปอนด์ (7.5 พันล้านดอลลาร์) และทำให้สามารถปล่อยกู้แก่ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจมากถึง 1.50 แสนล้านปอนด์ (2.0 แสนล้านดอลลาร์)

การเคลื่อนไหวของธนาคารกลางอังกฤษเมื่อวานนี้ อาจจะช่วยทำให้ตลาดหุ้นลอนดอนดูดีขึ้นบ้าง ดังจะเห็นได้จากดัชนีFTSEที่ติดลบและผันผวนอย่างหนักในช่วงเปิดตลาด กลับมาเป็นบวกได้เมื่อกลางตลาดผ่านไป แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ความกังวลอีกหลายด้านลดลงไปกี่มากน้อย

เริ่มต้นจากความผันผวนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่บรรดากองทุนซึ่งเคยถือหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพยืยอ่างกองทุน REITs ทั้งหลายที่เฟื่องฟูอย่างมากในลอนดอน ต้องสั่นสะเทือนเมื่อบริษัทประกันชีวิตยัก์ใหญ่ อย่าง สแตนดาร์ด ไลฟ์ ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตของอังกฤษ ได้ระงับการซื้อขายในกองทุนอสังหาริมทรัพย์สหราชอาณาจักรของทางบริษัท ท่ามกลางแรงเทขายของนักลงทุนในกองทุนดังกล่าว เพราะกังวลว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง ทำให้มูลค่าของกองREITS ลดลงในอนาคต

สแตนดาร์ด ไลฟ์ ระบุว่า การระงับการซื้อขาย และระงับการไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากกองทุนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องนักลงทุนที่ยังคงต้องการถือครองกองทุน ผลพวงที่ตามมาคือ บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความกังวลเพิ่มแติมว่า กองทุนอื่นๆ อาจถูกสั่งระงับการซื้อขายเพิ่มเติมอย่างรวดเร็ว จากความไม่มั่นใจของนักลงทุน หลังเกิดภาวะ Brexit และเสถียรภาพทางการเมือง

ที่สำคัญสุด ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อบ่ายวานนี้ (ตามเวลาไทย) ได้ร่วงลงอย่างรุนแรง จนเข้าสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 31 ปี ที่ทำให้หลายคนหวนระลึกไปถึงการคาดเดาก่อนหน้าลงประชามติว่า ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงมีโอกาสจะกลับไปอยู่ที่ระดับเดียวกับปี ค.ศ. 1978 อันเป็นค่าต่ำสุดเทียบกับดอลลาร์ในอดีต ซึง่เป็นช่วงเวลาหลังจาถูกจอร์จ โซรอสโจมตีมาจนเกือบพังพินาศ

ค่าเงินปอนด์ที่ลดลงสู้ระดับ 1.3167 ดอลลาร์ต่อปอนด์ และ  84.68 พพนซ์ ต่อยูโร เกิดจากแรงกดดันจากคำพูดของนางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า การที่อังกฤษตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของอังกฤษหายไปราว 1.5%-4.5% ภายในปี 2019 และคำเตือนของ S&P Global Rating ที่ออกมาเตือนซ้ำหลังจากปรับลดมุมมองค่าเงินปอนด์และเครดิตของหุ้นกู้รัฐบาลอังกฤษลงไปสัปดาห์ก่อนหน้า ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนจะได้รับผลกระทบในปี 2017-2018 จากการตัดสินใจถอนตัวของอังกฤษ

นักประวัติสาสตร์การเงินของอังกฤษ มุมมองลบต่ออนาคตของเงินปอนด์อย่างรุนแรง โดยมองเห็นว่ายิ่งอังกฤษโดดเดี่ยวตนเองจากยุโรป ค่าเงินปอนด์จะยิ่งมีลักษณะถดถอยในอนาคตในลักษณะขั้นบันไดขาลง โดยเฉพาะเมื่อทเยบกับเงินสำคัญอย่างดอลลาร์สหรัฐฯ ยูโร และหยวนจีน

ข้อมูลย้อนหลังไปเกือบ 80 ปี ระบุว่า เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งรก ค่าเงิน 1 ปอนด์ มีค่าเท่ากับ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ และก่อนการลงประชามติ มีค่าอยู่ที่ 1.333 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ค่าเงินปอนด์ล่าสุดบ่ายวานนี้ ก็ยังถือว่าสูงเกินไปเมือ่เทียบกับการคาดเดาของจอร์จ โซรอสที่เคยระบุว่า น่าจะลงไปที่ระดับ 1.115 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงที่มีแนวโน้มไม่สดใสเอาเสียเลยนั้น แม้จะเกิดจกามุมมองเชิงลบมากเกินขนดา แต่หลายคนก็ยังเปิดชอ่งว่ามีความเป็นไปได เพราะ ค่าเงินนั้น ไม่ไดมีคุณค่าในตัวเอง แต่เป็นคุรค่าเปรียบเทียบแสดงมูลค่าของความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศเจ้าของสกุลเงิน และอิทธิพลเหนือตลาดเงิน เทียบกบัสกุลเงินชาติอื่นๆในโลก

 ข้อมูลสำคัญที่สนับสนุนมุมมองเชิงลบอยู่ที่ว่า การที่คนอังกฤษลงประชามติเพื่อขอเป็น “จูดาสของยุโรป”ไปแล้ว อาจจะเกิดปรากฏการณ์”จูดาสของสหราชอาณาจักร” เมื่อสก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ อาจจะมีถือโอกาสนี้ ถอนตัวออกจากสหราชอาณาจักร เพื่อไปร่วมกับสหภาพยุโรปได้ ซึง่จะยิ่งเพิ่มแรงกดันต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจอังกฤษขึ้นไปอีก มีผลต่อค่าเงินปอนด์โดยปริยาย

Back to top button