OISHI-ICHI ผลงานชั่งแตกต่าง

ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มมีการขับเคียวกันมาโดยตลอดระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง OISHI กับ ICHI ซึ่งทำให้ต่างฝ่ายต่างงัดไม้เด็ดออกแคมเปญใหม่ๆ สู่ตลาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 แบรนด์มีความคล้ายคลึงกันมากทั้งสี ขนาดความจุ ปริมาณ รสชาติ และส่วนผสม


–เส้นทางนักลงทุน–

 

ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มมีการขับเคียวกันมาโดยตลอดระหว่าง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI กับบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI ซึ่งทำให้ต่างฝ่ายต่างงัดไม้เด็ดออกแคมเปญใหม่ๆ สู่ตลาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 แบรนด์มีความคล้ายคลึงกันมากทั้งสี ขนาดความจุ ปริมาณ รสชาติ และส่วนผสม

ทำให้ผู้บริโภค ไม่สามารถนำเอาปัจจัยทางด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์มาวัดไม่ได้ ส่งผลให้ทั้ง OISHI และ ICHIสร้างสรรค์เกมรุกตลาดโดยการออกแคมเปญ โปรโมชั่น มาจับกระแสผู้บริโภค ต่างเกทับบลับแหลก-ทุ่มไม่อั้น มีการแจก เงิน แจกทอง แจกรถ แจกมือถือ และแจกคอนโด เป็นต้น

แม้ว่านับตั้งแต่ปี 2556 ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มติดลบมาตลอดในแง่มูลค่า และปริมาณบริโภคถึงเกือบลบ 10% แต่สถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง จนกระทั้งปี 2559 เชื่อว่าจะเริ่มกลับมาอยู่ที่ระดับลบ 2% หรือลบ 1%

ขณะที่ตัวเลขใน 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.59) ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มมูลค่าติดลบ 3.9% ปริมาณติดลบ 1.7% แต่ OISHI มีมูลค่าเติบโต 10.1% และปริมาณบริโภค 12.7%  และทำให้ส่วนแบ่งตลาดชารวมของ OISHI เพิ่มขึ้นจาก 38% เป็น 43.6% ขณะที่ ICHI มีส่วนแบ่งลดลงจาก 46.3% เป็น 41.4% ส่วนถ้าดูเฉพาะชาเขียวพร้อมดื่มอย่างเดียว OISHI ส่วนแบ่ง 36.1% และ ICHI 27.7%

จนกระทั้ง ผลประกอบการไตรมาส 2 และงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ออกมาเป็นทางการ ซึ่งเป็นการตอกย่ำ ความเป็นผู้นำในตลาดชาเขียว ว่าใครแน่ ใครเจ่งจริงระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่

พบว่า บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI สามารถทำทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยผลการดำเนินงานไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2559 บริษัทมีรายได้รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3,870.78 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 3,566.29 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่ม 12% และธุรกิจอาหาร 2.8% ทั้งนี้สัดส่วนรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่ม 55% ต่อรายได้จากธุรกิจอาหาร 45%

 

ด้วยธุรกิจเครื่องดื่มปรับตัวขึ้นเยอะ หลักมาจากการประสบความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ชาเขียวตัวใหม่ แคมเปญทางการตลาดช่วงหน้าร้อนและการการเติบโตของรายได้จากการขายสินค้าและรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มอื่นที่ไม่ใช่ตราสินค้าของบริษัท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 469.07 ล้านบาท หรือ 2.50 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 189.34 ล้านบาท หรือ 1.01 บาทต่อหุ้น

ส่งผลให้ผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2559 บริษัทมีรายได้รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 7,190.15 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 6,597.48 ล้านบาท  ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 760.43 ล้านบาท หรือ 4.06 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 282.75 ล้านบาท หรือ 1.51 บาทต่อหุ้น แสดงความแข็งแกร่งของบริษัท อันเป็นผลความสำเร็จจากธุรกิจเครื่องดื่มหลักๆ

ขณะที่ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI กลับผิดหวังเป็นอย่างมา ผลประกอบการถดถอย ดูได้จากผลการดำเนินงานไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2559 บริษัทมีรายได้รวมลดลงเหลือ 1,502.49 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 2,110.05 ล้านบาท โดยรายได้จากการขายลดลงมาก อีกทั้ง บริษัทมีอัตราส่วนต้นทุนขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข่งขันทางด้านราคา ส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงเหลือ 142.11 ล้านบาท หรือ 0.11 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 325.32 ล้านบาท หรือ 0.25 บาทต่อหุ้น

ส่วนผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2559 บริษัทมีรายได้รวมลดลงเหลือ 3,199.19 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 3,969.59 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงเหลือ 391.92 ล้านบาท หรือ 0.30 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 641.73 ล้านบาท หรือ 0.49 บาทต่อหุ้น แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจเครื่องดื่มของบริษัทเริ่มมีการถดถอยอย่างน่ากลัว

ปรากฏการของผลประกอบการทั้ง 2 บริษัททำผลงานได้ชั่งแตกต่างกันคนละขั้ว…ดังนั้นงานหนักต่อไปคือการคิดแคมเปญ และโปรโมชั่นใหม่ในการแข่งขันกันต่อไป

ด้วยพฤติกรรมของลูกค้าที่ชินกับการซื้อชาเขียวที่มีการทำโปรโมชั่น ทั้งการชิงโชค และลดราคามากๆ

Back to top button