CPT รอรับปันผล
มีลุ้นสำหรับผู้ถือหุ้น บริษัท ซีพีที ไดร์ แอนด์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPT เนื่องจากบริษัทจะมีเรื่องเงินปันผลที่จะจ่ายของงวดปี 2560 ที่มากเป็นพิเศษ โดยบริษัทมีแนวทางจะจ่ายเกือบ 100% เพราะมีเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอต่อการดำเนินงานได้ในอนาคตv
คุณค่าบริษัท
มีลุ้นสำหรับผู้ถือหุ้น บริษัท ซีพีที ไดร์ แอนด์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPT เนื่องจากบริษัทจะมีเรื่องเงินปันผลที่จะจ่ายของงวดปี 2560 ที่มากเป็นพิเศษ โดยบริษัทมีแนวทางจะจ่ายเกือบ 100% เพราะมีเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอต่อการดำเนินงานได้ในอนาคตv
อีกทั้งบริษัทยังได้ระดมเงินทุนจาก IPO มาที่ 621 ล้านบาท จึงคาดว่าหากใช้อัตราการจ่ายปันผลที่ 80-100%-เงินปันผลงวดปี 2560 เป็น 0.12-0.16 บาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราผลตอบแทนปันผล (yield) ที่สูงมากเป็น 5.7-7.1% ตามลำดับ และคิดเป็นเม็ดเงินปันผล 112-140 ล้านบาท
สำหรับโอกาสสูงที่บริษัทจะจ่ายปันผลได้มากในงวดปี 2560 เนื่องจากมีแผนใช้เงินลงทุนขณะนี้รวมเป็น 270 ล้านบาท แบ่งเป็น 1) เพื่อซื้อที่ดิน ก่อสร้างโรงงานใหม่และซื้อเครื่องจักร 200 ล้านบาท และ 2) เพื่อขยายตลาดไปต่างประเทศ 70 ล้านบาท ขณะที่คาดว่า ณ สิ้นปี 2560 บริษัทจะมีกำไรสะสมอยู่ที่ 230 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีฐานะการเงินที่ดีมาก เป็นเงินสดสุทธิ (net cash position) คือมีเงินสดมากกว่าเงินกู้ (ณ สิ้นงวดไตรมาส 3 ปี 2560 มีเงินกู้เพียง 36 ล้านบาท แต่มีเงินสดถึง 107 ล้านบาท)
ที่สำคัญบริษัทมีงานในมือ (Backlog) ที่สูง ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2560 มีงานที่ส่งมอบในงวดไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ 440 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 86% จากประมาณการรายได้งวดไตรมาส 4 ปี 2560 และในงวดสิ้นปี 2560 Backlog เป็น 500 ล้านบาท ที่จะส่งมอบในปี 2561 คิดเป็นสัดส่วน 36% จากประมาณการรายได้งวดปี 2561 แล้ว
อีกทั้งปี 2561 เตรียมเข้าประมูลงานอีก 2.5 พันล้านบาท ประกอบด้วยงานโรงงานน้ำตาลที่เป็นกลุ่มลูกค้าเดิมและฐานลูกค้าใหม่คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งจะเข้าประมูลงานติดตั้งและปรับปรุงระบบตู้ควบคุมไฟฟ้าในสถานีย่อย ทั้งนี้บริษัทคาดหวังว่าจะได้งานราว 60-70%
นอกจากนี้บริษัทมีโครงการในอนาคต คือ 1) เตรียมจัดตั้งสำนักงานขายในต่างประเทศ อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อรองรับการขยายช่องทางไปยังต่างประเทศตามการขยายตัวของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมั่นใจว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า บริษัทจะมีรายได้จากต่างประเทศราว 500 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 100 ล้านบาท
และ 2) จากแผนการนำสายไฟฟ้าลงดินของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ระยะทาง 1.2 พันกิโลเมตร โดยใช้งบลงทุนราว 1 ล้านล้านบาท บริษัทได้เตรียมซื้อ Know How จากเดนมาร์กและจะเป็นอีก 1 ผู้เล่นเข้ามาทำตลาด จากเดิมที่มีผู้เล่นอยู่เพียง 2 ราย ได้แก่ รูซี่และชไนเดอร์ ซึ่งบริษัทมีความได้เปรียบจากประสบการณ์ที่เคยทำงานและจำหน่ายสินค้าในประเทศ
จากปัจจัยบวกข้างต้น คาดว่าในปี 2562 และปี 2563 รายได้จะเติบโตสูงเมื่อสามารถใช้กำลังการผลิตโรงงานใหม่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการผลิตเต็มปี โดยบริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2563 ไว้ถึง 3 พันล้านบาท คิดเป็นประมาณเท่าตัวจากปี 2561 นอกจากนี้จะเข้าไปประมูลการขายสินค้าให้กับโครงการ SPP และโครงการบริหารจัดการน้ำด้วย
ทั้งนี้นักวิเคราะห์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส มองว่า ในแง่การประเมินมูลค่าหุ้นพบว่า ขณะนี้ซื้อขายที่ P/E ปี 2561 ที่ 12.7 เท่า เทียบกับกลุ่มที่ 19.0 เท่า หากกำหนด Forward P/E ที่ 15 เท่า จะได้ราคาพื้นฐานที่ 2.57 บาท ยังมีส่วนเพิ่มได้อีก 18% และรับปันผลที่สูงเป็นพิเศษสำหรับงวดปี 2560 แนะนำ “ซื้อ”
…
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- นายอภิชาติ ปีปทุม 157,500,000 หุ้น 17.50%
- นายสมศักดิ์ หลิมประเสริฐ 125,998,600 หุ้น 14.00%
- นางกันยา หลิมประเสริฐ 94,500,000 หุ้น 10.50%
- นางสาวธัญวรัตม์ ปีปทุม 94,499,998 หุ้น 10.50%
- นายนพดล วิเชียรเกื้อ 88,200,000 หุ้น 9.80%
รายชื่อกรรมการ
- นายจรุง สุพรรณพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท
- นายจรุง สุพรรณพงษ์ กรรมการอิสร
- นายสมศักดิ์ หลิมประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- นายสมศักดิ์ หลิมประเสริฐ กรรมการ
- นายอภิชาติ ปีปทุม กรรมการผู้จัดการ