CMAN พุ่งกระฉูด 8% โบรกฯชี้เป้า 6 บาท รับศักยภาพเติบโตสูง

CMAN พุ่งกระฉูด 8% โบรกฯชี้เป้า 6 บาท รับศักยภาพเติบโตสูง ล่าสุด ณ เวลา 12.07 น. ราคาอยู่ที่ 4.54 บาท บวก 0.32 บาท หรือ 7.58% สูงสุด 4.68 บาท ต่ำสุด 4.28 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 483.05 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บริษัท เคมีแมน จำกัด (มหาชน) หรือ CMAN ล่าสุด ณ เวลา 12.07 น. ราคาอยู่ที่ 4.54 บาท บวก 0.32 บาท หรือ 7.58% สูงสุด 4.68 บาท ต่ำสุด 4.28 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 483.05 ล้านบาท ทั้งนี้ CMAN เข้าซื้อขายในวันที่ 21 มี.ค.61 เป็นวันแรก โดยมีราคา IPO ที่ 3.84 บาท

 

บล.ทิสโก้ ให้ราคาเป้าหมาย CMAN ที่ 6 บาท/หุ้น  โดยบริษัท มีจุดแข็งเป็นผู้ผลิตปูนไลม์รายเดียวในไทยที่มีทั้งโรงงานผลิตปูนไลม์และได้รับประทานบัตรเหมืองแร่หินปูนเคมีคุณภาพสูงระยะเวลา 25 ปี มีปริมาณสำรองเป็นจำนวนมากในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยเหมืองของบริษัทอยู่ใกล้กับโรงงานและกลุ่มลูกค้าหลายราย ทำให้ประหยัดค่าขนส่งและสามารถนำผลิตภัณฑ์จากเหมืองมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด

ขณะที่ บริษัทเป็นผู้ผลิตปูนไลม์รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีกำลังการผลิตเทียบเคียงผู้ผลิตปูนไลม์ระดับโลก โดยบริษัทมีลูกค้าเป้าหมายในหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและอีกกว่า 20 ประเทศทั่วโลกที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนมากเกินไปและมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก

ทั้งนี้ บริษัทมีการ R&D อย่างต่อเนื่องประกอบกับมีบุคลากรที่มากความสามารถและประสบการณ์ ทำให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้ 5) บริษัทมีแผนการขยายธุรกิจที่ชัดเจนเพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนไลม์ชั้นนำ 1 ใน 10 อันดับแรกของโลก

โดย บริษัทมีแผนเพิ่มการเติบโตทั้งในแง่ของรายได้และอัตรากำไรโดยการขยายกำลังการผลิตจากปัจจุบันที่0.8ล้านตัน/ปี เป็น 1.0 ล้านตัน/ปีภายในปี 2020 ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดใหม่ๆ อีกทั้งยังเพิ่มอัตรากำไรให้สูงขึ้น เนื่องจากเตาใหม่ที่โรงงานแก่งคอยมีประสิทธิภาพสูงกว่าที่โรงงานพระพุทธบาท ทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่า อีกทั้งบริษัทยังอยู่ระหว่างวางแผนการก่อสร้างโรงงานผลิตปูนไลม์อีก 2 แห่งในประเทศอินเดีย เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจำหน่ายในอินเดียซึ่งเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง นอกจากนั้นมองว่ายังมีโอกาสในการทำ M&A ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้มี Inorganic growth และกระตุ้นการเติบโตในระยะยาวได้อีก

ทั้งนี้ คาดว่ากำไรและ Fully Diluted EPS ของ CMAN ใน 2 ปีข้างหน้า (2560-2562) จะเติบโตในอัตราเฉลี่ยต่อปี (2-YEAR CAGR) ที่ 51.6% และ 24.3% โดยกำไรที่เติบโตขึ้นคาดว่าจะมาจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 13.7% และ 26.9% ในปี 2561-2562 และมาร์จิ้นที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนมาใช้เตาใหม่ที่โรงงานแก่งคอยแทนโรงงานพระพุทธบาทที่มีต้นทุนที่สูงกว่า

ทั้งนี้ ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ CMAN ที่ราคา 6 บาท/หุ้น โดยคิดจาก 2561 PER ที่ 26 เท่า (+0.5 STDEV เหนือค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีของ SUTHA ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกับ CMAN ที่สุด) แต่เชื่อว่า CMAN ควรมีการซื้อขาย premium กว่าเนื่องจาก CMAN มีข้อได้เปรียบตรงที่บริษัทเป็นผู้ถือครองประทานบัตรเหมืองแร่หินปูนเคมีคุณภาพสูงที่มีปริมาณสำรองสูงเป็นของตัวเอง และมีการขยายกำลังการผลิตไปในประเทศอินเดียและฐานลูกค้าไปยังหลายๆ ประเทศ ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตมากกว่าประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังไม่รวมถึงโอกาสในการทำ M&A ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ความเสี่ยงจากการถูกยกเลิกประทานบัตร ความผันผวนของราคาถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้และเป็นต้นทุนหลักในการผลิต ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากผู้ขายรายเดียวและถ่านหินจากผู้จัดหาน้อยราย ความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอุปทานของปูนไลม์ทั้งในและต่างประเทศและความเสี่ยงจากความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน

 

Back to top button