STA บวก 3.17% แรงในรอบ 4 เดือน ชี้ผลงานปีนี้สดใสหลังปรับกลยุทธ์ธุรกิจแนะซื้อเป้า 12.90 บ.

STA บวก 3.17% แรงในรอบ 4 เดือน ชี้ผลงานปีนี้สดใสหลังปรับกลยุทธ์ธุรกิจแนะซื้อเป้า 12.90 บ. โดย ณ เวลา 10.47 น. อยู่ที่ระดับ 13.00 บาท บวก 0.40 บาท หรือ 3.17% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 114.65 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ณ เวลา 10.47 น. อยู่ที่ระดับ 13.00 บาท บวก 0.40 บาท หรือ 3.17% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 114.65 ล้านบาท ราคาหุ้นปรับตัวแรงในรอบ 4 เดือน โดยนับตั้งหุ้นขึ้นไปทดสอบระดับ 13.00 บาท เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 61

บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ฯแนะ”ซื้อเก็งกำไร”หุ้น STA ราคาพื้นฐาน 12.90 บาท แม้ราคายางที่ปรับขึ้นจำกัดอาจไม่ส่งผลบวกต่อการดำเนินงานมากนัก แต่กลยุทธ์การขายที่เปลี่ยนไปช่วยให้การดำเนินงานมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอีกครั้ง

แนวโน้มการดำเนินงานปี 2561 ยังเติบโตได้จากกลยุทธ์การขายที่เน้นกำไรมากกว่าปริมาณขาย แม้กำไรที่ประกาศมาจะดีกว่าที่คาดไว้ แต่แนวโน้มราคายางที่คาดว่าจะปรับขึ้นได้จำกัด อีกทั้งช่วงไตรมาส 3 ซึ่งปกติจะเป็นช่วงเวลาที่ยากในการดำเนินงาน ประกอบกับปัญหาสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐทำให้อาจส่งผลกระทบกับกำลังซื้อได้ทำให้ทางฝ่ายยังคงประมาณการผลการดำเนินงานปี 2561 ไว้ดังเดิม โดยคงเป้าปริมาณขายที่ 1.38 ล้านตันเพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน ขณะที่ราคาขายคาดลดลง 20% คาดยอดขาย 76,168 ล้านบาท ลดลง 15% จากปีก่อน

ขณะที่นโยบายการเลือกการขายที่เน้นกำไรเป็นหลักทำให้แนวโน้ม margin จะดีขึ้น แต่หากว่าจะได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากค่าขนส่งและค่า cess ที่ปรับขึ้นเป็น 2 บาท/กิโลกรัมจาก 1.40 บาท อีกทั้งอัตราภาษีจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากบีโอไอ ที่หมดลงและกำไรที่ดีขึ้นจาก STGT ประมาณการกำไรสุทธิ 1,524 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 206% จากปีก่อน

ผู้บริหารคาดราคายางคงปรับขึ้นได้ไม่มากนักจาก 1) ฤดูการปิดกรีดยางของไทยปีนี้สั้นกว่าปกติทำให้การเปิดกรีดเร็วขึ้นส่งให้ผลผลิตยางมาก 2) คาดปริมาณฝนที่มากหนุนให้ผลผลิตยางออกมามากซึ่งทำให้ปริมาณผลผลิตยางยังเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับ IRSG คาดการณ์ผลผลิตยางตลาดโลกปี 2561 อยู่ที่ 13.5 ล้านตันเพิ่มขึ้น 1.9% จากปีก่อน ขณะที่ปริมาณความต้องการยางอยู่ที่ 13.3 ล้านตันเพิ่มขึ้น 2.4% จากปีก่อนทำให้มียังมีอุปทานส่วนเกินอยู่ 126,000 ตัน โดยประเทศที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นหลัก ๆ มาจากประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 3 ประเทศผู้ผลิตหลักอย่างไทย, อินโดนีเซียและมาเลเซีย ขณะที่ผู้นำเข้าหลักอย่างจีนยังเห็นความต้องการเพิ่มขึ้น

Back to top button