จับตาหุ้น SUPER เปิดบ่ายวิ่งแรงหลังยื่นไฟลิ่ง “อินฟราฟันด์” ตามแผน!
จับตาหุ้น SUPER เปิดบ่ายวิ่งแรงหลังยื่นไฟลิ่ง "อินฟราฟันด์" ตามแผน! ลุ้นตั้งกองฯต้นปีหน้า
บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER เปิดเผยข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 ได้พิจารณาอนุมัติให้บริษัทเข้าทำธุรกรรมการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี (Super Energy Power Plant Infrastucture Fund หรือ SUPEREIF) นั้น
ล่าสุด บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด ในฐานะบริษัทจัดการกองทุนได้ยื่นคำขอ อนุมัติจัดตั้งกองทุน พร้อมกับร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี (Super Energy Power Plant Infrastructure Fund หรือ SUPEREIF) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้วในวันนี้ (1 ต.ค.)
อย่างไรก็ตามการบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ในการเข้าทำธุรกรรมการจัดตั้งและการเข้าลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานโดย SUPEREIF (ธุรกรรมการโอนรายได้สุทธิ) ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและหารือกับสำนักงาน ก.ล.ต.โดยรูปแบบการบันทึกบัญชีอาจมีลักษณะเป็น 1) แบบธุรกรรมการขายขาด (True Sale) โดยจะจำหน่ายทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องออกจากงบการเงินและรับรู้กำไรจากรายการดังกล่าวภายหลังเข้าทำรายการเรียบร้อยแล้ว หรือ 2) บันทึกบัญชีเป็นแบบหนีสิ้น โดยบริษัทฯจะบันทึกธุรกรรมดังกล่าวเป็นหนีสิ้นด้วยจำนวนเงินไม่เกิน 9,000 ล้านบาท ซึ่งอ้างอิงจากมูลค่าเสนอขายสิทธิในรายได้สุทธิตามที่ได้เปิดเผยไว้ในร่างหนังสือชี้ชวน
โดยจากงบการเงินรวมของบริษัทฯ ณ 30 มิ.ย. 2561 (สิ้นไตรมาส 2/61 ) บริษัทฯ มีอัตราหนีสิ้นรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม ประมาณ 2.21 เท่า ทั้งนี้หากสมมติว่าบริษัทฯบันทึกรายการธุรกรรมการโอนรายได้สุทธิเป็นหนีสิ้นไม่เกิน 9,000 ล้านบาทและสมมติว่าบริษัทฯ ได้นำเงินที่ได้จากการทำธุรกรรมดังกล่าวบางส่วนจ่ายคืนเงินกู้มูลค่าประมาณ 4,150 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้ยืมที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงไฟฟ้าที่จะนำมาจัดตั้ง SUPEREIF ดังนั้นอัตราหนีสิ้นรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวมเสมือน ณ สิ้นไตรมาส 2/61 ภายหลังจากการจัดตั้ง SUPEREIF จะเท่ากับ 2.02 เท่า ทั้งนี้มูลค่าของกองทุนเป็นมูลค่าประมาณเบื้องต้นซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนและภาวะตลาด ณ ขณะนั้น
ด้าน นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานกรรมการ SUPER เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี (Super Energy Power Plant Infrastructure Fund :SUPEREIF) ขณะนี้ บล.บัวหลวง ในฐานะบริษัทจัดการกองทุนได้ยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งกองทุน พร้อมกับร่างหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน (ร่างหนังสือชี้ชวน) ของกองทุน SUPEREIF ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้วในวันนี้
สำหรับกองทุน SUPEREIF จะมีขนาดกองทุน 8,500-9,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนฯได้ภายในปลายเดือน ม.ค.-ต้น ก.พ. 62
ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่จะขายเข้ากองทุน SUPEREIF จะมาจากสินทรัพย์ที่คณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติก่อนหน้านี้ โดยให้บริษัท 17 อัญญวีร์ โฮลดิ้ง จำกัด (17AYH) และ บริษัท เฮลท์ แพลนเน็ท เมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (HPM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SUPER ทำรายการจำหน่ายสินทรัพย์ในโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 19 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต 118 เมกะวัตต์ ให้กับกองทุนฯ รวมทั้งคณะกรรมการยังได้อนุมัติให้บริษัทฯทำธุรกรรมซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวได้ในสัดส่วน 15-20%
อย่างไรก็ดี การบันทึกบัญชีของบริษัท ในการเข้าทำธุรกรรมการจัดตั้งและการเข้าลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน โดย SUPEREIF (ธุรกรรมการโอนรายได้สุทธิ) ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและหารือกับสำนักงาน ก.ล.ต.โดยรูปแบบการบันทึกบัญชีอาจมีลักษณะเป็น 1) แบบธุรกรรมการขายขาด (True Sale) โดยจะจำหน่ายทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องออกจากงบการเงินและรับรู้กำไรจากรายการดังกล่าวภายหลังเข้าทำรายการเรียบร้อยแล้ว หรือ 2) บันทึกบัญชีเป็นแบบหนี้สิน โดยบริษัทจะบันทึกธุรกรรมดังกล่าวเป็นหนี้สินด้วยจำนวนเงินไม่เกิน 9,000 ล้านบาท ซึ่งอ้างอิงจากมูลค่าเสนอขายสิทธิในรายได้สุทธิตามที่ได้เปิดเผยไว้ในร่างหนังสือชี้ชวน
โดยจากงบการเงินรวมของบริษัท ณ 30 มิถุนายน 2561 มีอัตราหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม ประมาณ 2.21 เท่า ทั้งนี้ หากสมมติว่าบริษัทบันทึกรายการธุรกรรมการโอนรายได้สุทธิเป็นหนี้สินไม่เกิน 9,000 ล้านบาท และสมมติว่าบริษัทได้นำเงินที่ได้จากการทำธุรกรรมดังกล่าวบางส่วนจ่ายคืนเงินกู้มูลค่าประมาณ 4,150 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้ยืมที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงไฟฟ้าที่จะนำมาจัดตั้ง SUPEREIF ดังนั้น อัตราหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวมเสมือน ณ สิ้นไตรมาส 2/61 ภายหลังจากการจัดตั้ง SUPEREIF จะเท่ากับ 2.02 เท่า
ทั้งนี้ มูลค่าของกองทุนเป็นมูลค่าประมาณเบื้องต้นซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนและภาวะตลาด ณ ขณะนั้น ส่วนเงินที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวบริษัท มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปชำระคืนหนี้ และรองรับการขยายงานทั้งในประเทศและต่างประเทศภายในอนาคต
“การจัดตั้งกองทุนอินฟราฟันด์ที่ผ่านมาได้ทำงานกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้สามารถจัดตั้งกองทุนฯ และให้ยื่นไฟลิ่งได้ในช่วงต้นตุลาคมตามเป้าหมาย ส่วนกระบวนการทำงานคงจะสามารถจัดตั้งกองทุนฯและเสนอขายหน่วยลงทุนได้ในช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป้าหมายหลัก ๆ จะนำไปชำระหนี้เพื่อลดต้นทุนดอกเบี้ย และใช้ในการขยายการลงทุนในอนาคต ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจทำให้มีเงินทุนรองรับการเติบโตที่แข็งแกร่งมากขึ้น รวมทั้งคาดว่าจะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นในอนาคตได้อย่างแน่นอน” นายจอมทรัพย์ กล่าว
ทั้งนี้เป็นที่น่าจับตาว่า ประเด็นข่าวยื่นไฟลิ่งกองทุน อินฟราฟันด์ จะส่งผลให้ราคาหุ้น SUPER ปรับตัวขึ้นตอบรับหรือไม่ โดยหุ้นปิดตลาดภาคเช้าที่ระดับ 0.86 บาท บวก 0.02 บาท หรือ 2.38% สูงสุดที่ระดับ 0.87 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 0.84 บาท มูลค่าการซื้อขาย 245.39 ล้านบาท