AOT เป้าใหม่อัพไซด์เพิ่ม!

ผลตอบแทนรวมทั้ง 3 สัญญาที่ทางคิง เพาเวอร์จะจ่ายให้กับ AOT ที่สูงกว่าคาดนั้นจะส่งผลต่อมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์ต่างปรับเป้าหมายของ AOT ใหม่


คุณค่าบริษัท

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2562 บอร์ด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT อนุมัติ ชนะการประมูล 3 สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ (ร้านค้าปลอดภาษี และพื้นที่ค้าปลีก) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินในต่างจังหวัดอีกสามแห่ง (ภูเก็ต, เชียงใหม่, หาดใหญ่)

สำหรับทั้ง 3 สัญญา จะจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำ (Minimum Guarantee) ปีแรกรวม 2.35 หมื่นล้านบาท ดีกว่าที่นักวิเคราะห์และตลาดคาดค่อนข้างมากที่ 1-1.5 หมื่นล้านบาท และมากกว่าปีปัจจุบันที่คาดว่า AOT จะได้รับผลตอบแทนรวม 7.6 พันล้านบาท

โดยทั้ง 3 สัญญา แบ่งเป็น 1) ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ จ่ายส่วนแบ่งรายได้ 20% หรือจ่าย Minimum Guarantee ในปีแรก 1.54 หมื่นล้านบาท 2) ดิวตี้ฟรี 3 สนามบินภูมิภาค จ่ายส่วนแบ่งรายได้ 15% หรือจ่าย Minimum Guarantee ในปีแรก 2.3 พันล้านบาท และ 3) กิจกรรมเชิงพาณิชย์สุวรรณภูมิ จ่ายส่วนแบ่งรายได้ 20% หรือจ่าย Minimum Guarantee ในปีแรก 5.8 พันล้านบาท

ทั้งนี้ AOT จะมีการเรียกเก็บผลตอบแทนขั้นต่ำรายปีเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยใช้สูตรคำนวณ MAG(i) พิจารณาจากอัตราการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของปีปฏิทินก่อนหน้า โดยทั้ง 3 สัญญา จะมีอายุรวม 10 ปี 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 28 ก.ย. 2563-31 มี.ค. 2574

ดังนั้น จาก2222 ซึ่งผลักดันให้ราคาหุ้นมี Upside กว้างมากขึ้น

บล.เคทีบี (ประเทศไทย) แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 86 บาท มี Upside 15.82% ต่อมา บล.เคจีไอ แนะนำ “Outperform” ราคาเป้าหมาย 88 บาท มี Upside 18.52% ขณะที่ บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 82 บาท มี Upside 10.74% ส่วนบล.คิงส์ฟอร์ด แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 80 บาท มี Upside 7.74% และบล.ทรีนีตี้ แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 83 บาท มี Upside 11.78% (สำหรับ Upside วัดจากราคาหุ้นปิดที่ 74.25 บาท ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2562)

แต่ทว่าในอนาคตการปรับราคาเป้าหมายใหม่ของหุ้น AOT จากนักวิเคราะห์ก็ยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก เพราะบริษัทยังมีอีกหลายโครงการที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นได้ !!!

ส่วนการเติบโตในระยะถัดไปจะเน้นไปที่ Non-Aero ซึ่ง AOT ตั้งเป้าหมายภายใน 3 ปีข้างหน้า จะมีสัดส่วนรายได้ Non-Aero เพิ่มเป็น 60% จากปัจจุบันที่ 44% ซึ่งนอกจากรายได้จากการประมูล 3 สัญญาดังกล่าวแล้ว AOT จะมีโครงการใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้น ได้แก่ โครงการ Pick Up Counter สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลในปีนี้, โครงการ Airport City อยู่ระหว่างการปรับผังเมืองให้เป็นสีน้ำเงิน ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในปีนี้ และจะมีการสร้างศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าก่อนส่งออก (Certify Hub)

สิ่งสำคัญหลายฝ่ายมองว่ากำไรของ AOT ยังมีแนวโน้มแข็งแกร่ง เนื่องจาก 1) จำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (margin สูง) และ 2) คุมค่าใช้จ่ายได้ดี โดยโครงสร้างรายได้ของ AOT ในครึ่งแรกของปี 62 แบ่งเป็นรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการบิน และรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน 56:44 ซึ่งเมื่อดูจากผลตอบแทนอัตราใหม่จากผลการประมูลก็น่าจะทำให้สัดส่วนรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบินของ AOT เพิ่มขึ้นเป็น 50% ของรายได้รวมในอนาคต ซึ่งคิดว่าเป็นบวกกับ AOT เนื่องจากกระแสรายได้ส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบินมีเสถียรภาพมากกว่าและมีอัตรากำไรดีกว่ารายได้ที่เกี่ยวข้องกับการบิน

นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสดีของ AOT ที่จะจ่ายเงินปันผลเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของ AOT

ดังนั้น AOT นับเป็นหุ้นพื้นฐานแกร่ง พร้อมเติบโตในระยะยาวต่อไป !!

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  1. กระทรวงการคลัง 10,000,000,000 หุ้น 70%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 641,028,434 หุ้น 4.49%
  3. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 394,568,386 หุ้น 2.76%
  4. STATE STREET EUROPE LIMITED 238,587,771 หุ้น 1.67%
  5. สำนักงานประกันสังคม 165,071,600 หุ้น 1.16%

รายชื่อกรรมการ

  1. นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานกรรมการ
  2. นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่, กรรมการ
  3. น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ กรรมการ
  4. นายกฤชเทพ สิมลี กรรมการ
  5. นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ กรรมการ

Back to top button