CPF ปรับตัวรับ New Normal มั่นใจวางรากฐานแกร่ง-ย้ำผลงานปีนี้โตเด่น

CPF ปรับตัวรับ New Normal มั่นใจวางรากฐานแกร่ง-ย้ำผลงานปีนี้โตเด่น


นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยถึงมุมมองผลกระทบของสถานการณ์โรคระบาดไวรัส Covid-19 ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกว่า ธุรกิจอาจมีการชะงักงันบ้างขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละประเทศในการบริหารจัดการการระบาดไวรัส Covid-19 และการยกระดับมาตรการป้องกันความเสี่ยงของการแพร่กระจาย รวมทั้งเรื่องการเตรียมการและความสามารถให้การกระจายสินค้าของแต่ละบริษัท

สำหรับบริษัทนั้นได้มีการยกระดับความเสี่ยงเรื่องการระบาดไวรัส Covid-19 เป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ในระยะแรกฯ ของการแพร่กระจาย และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนการเตรียมความพร้อมร่วมกับหลายหน่วยงาน เช่น การปรึกษาและทำงานร่วมกับกรมอนามัยในเรื่องความเพียงพอของระบบการป้องกันการกระจายโรคในโรงงานและฟาร์มต่างฯ

พร้อมกันนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับบริษัทของซีพีเอฟในต่างประเทศอีก 16 ประเทศ ด้วยการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี และความโชคดีประเทศที่เป็นรายได้หลักของซีพีเอฟ อันได้แก่ ไทย จีนและเวียดนาม มีการบริหารจัดการเรื่องการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ได้อย่างยอดเยี่ยม ทำให้ซีพีเอฟไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ กำลังติตตามปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารให้สหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ในสหรัฐ ทำให้การดำเนินธุรกิจโรงงานชำแหละไก่และหมู ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ เพราะมีคนงานจำนวนหนึ่งติดเชื้อ Covid 19 ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการในจีนหันมาซื้อสินค้าไก่สดไทยมากขึ้น

ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็น “ครัวของโลก” ซีพีเอฟเราได้ขยายธุรกิจไปตั้งฐานการผลิตในประเทศต่างๆ อีก 16 ประเทศทั่วโลกเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัยที่สนับสนุนเนื้อสัตว์คุณภาพและการแปรรูปเนื้อสัตว์ การขยายการผลิตอาหารพร้อมรับประทานเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามการขยายตัวของสังคมเมือง รวมทั้งส่งออกสินค้าอาหารไปยังประเทศต่างๆ อีกมากกว่า 30 ประเทศ โดยให้ความสำคัญด้านนวัตกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบการผลิตที่ปลอดภัย มีต้นทุนการผลิตที่ลดลง รวมถึงมีกระบวนการทำงานที่ปลอดภัยมีสุขอนามัยสำหรับพนักงานและคนงานทุกคน

อีกทั้งฐานการผลิตของซีพีเอฟในประเทศต่างๆ อันรวมถึง จีน เวียดนาม กัมพูชา รัสเซีย ตุรกี ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว อินเดีย และอเมริกา ได้ดำเนินนโยบายรับผิดชอบต่อสังคมต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 เช่นเดียวกับประเทศไทย มีการให้ทำงานร่วมกันกระทรวงสาธารณสุขให้การให้การสนับสนุนอาหารให้แก่โรงพยาบาลของรัฐที่มีผู้ป่วยโควิด จำนวน 301 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 260 แห่ง และ 33 แห่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดอื่นๆ ส่งอาหารให้ครอบครัวคุณหมอและพยาบาล 30,000 ครอบครัว ส่งอาหารให้ผู้เฝ้าระวังที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ 20,000 คน รวมทั้งทำงานกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อช่วยเหลือชุมชน เช่น ในชุมชนคลองเตย 8,499 ครอบครัว รวมทั้งการช่วยเหลือคนไทยในประเทศต่างๆ เหล่านั้นอย่างเต็มกำลัง

บริษัทให้ความสำคัญเสมอในการมีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคน และกระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดภาวะธุรกิจหยุดชะงัก ด้วย COVID-19 การดำเนินงานอาจมีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ความชะงักงันของการดำเนินการบางอย่างอาจเกิดขึ้น แต่จะต้องปรับตัวและวางแผนต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแน่นอนเราได้เห็นความต้องการบริโภคลดน้อยลง แม้แต่ในธุรกิจเกษตรและอาหาร จากพฤติกรรมทางสังคมและการดำเนินการด้านการส่งออกของแต่ละประเทศที่เปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เหล่านี้เป็นผลกระทบระยะสั้น ดังนั้นเราต้องประเมินสถานการณ์และวางแผนงานปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นายประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานจะเติบโตจากปีที่แล้ว โดยหลังจากภาวะขาดแคลนสุกรที่เกิดขึ้นในประเทศจีน เวียดนาม ที่มีสัดส่วนยอดขายประมาณ 40% ของยอดขายจากโรค ASF เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา และการอ่อนค่าของเงินบาทที่จะเป็นผลบวกจากการแปลงค่าเงินของกิจการต่างประเทศที่มีสัดส่วนประมาณ 67% ของยอดขายรวม ผลกระทบช่วงสั้นนี้อาจเกิดขึ้นจากภาวะเนื้อไก่ล้นตลาดในประเทศไทย แต่เชื่อว่าจะสามารถปรับตัวได้ในอนาคต

Back to top button