SINGER พุ่ง 3% โบรกฯ เคาะซื้อเป้า 17 บ. ชี้กำไรโตยาว รับธุรกิจสินเชื่อขยายตัว

SINGER พุ่ง 3% โบรกฯ เคาะซื้อเป้า 17 บ. ชี้กำไรโตยาว รับธุรกิจสินเชื่อขยายตัว ล่าสุดอยู่ที่ 14.40 บาท บวก 0.40 บาท หรือ 2.86% วยมูลค่าซื้อขาย 19.07 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ล่าสุด ณ เวลา 10.01 น. อยู่ที่ 14.40 บาท บวก 0.40 บาท หรือ 2.86% สูงสุดที่ 14.50 บาท ต่ำสุดที่ 14.30 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 19.07 ล้านบาท โดยราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือน นับตั้งแต่ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 14.90 บาท เมื่อวันที่ 2 ก.ย.2563

โดย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ “ซื้อ” หุ้น SINGER ราคาเป้าหมาย 17 บาท/หุ้น โดยดำเนินธุรกิจหลักสองอย่างได้แก่ 1.) ขายและเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า (80% ของรายได้) 2.) สินเชื่อจำนำทะเบียนพาหนะขนาดใหญ่ พอร์ตสินเชื่ออยู่ที่ 4.4 พันล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อจำนำทะเบียน 1.9 พันล้านบาท และ สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า 2.5 พันล้านบาท

ดังนั้นจึงประเมินว่าสินเชื่อจะโต 50%/30%/20% ในปี 2563/2564/2565 ซึ่งจะช่วยหนุนกำไรในขณะที่ yield สินเชื่อ และ credit cost ทรงตัว

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของ SINGER ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงปี 2563 ถึงครึ่งปีแรกปี 2563 หลังจากที่ขาดทุนในปี 2560/61 จากการตั้งสำรองหนี้เสีย การตั้งด้อยค่าสต็อกโทรศัพท์มือถือ และการติดตามหนี้ที่ขาดประสิทธิภาพ ในการพลิกฟื้นผลการดำเนินงาน บริษัทได้ปรับปรุง 1.) กระบวนการทำงาน ด้วยการ โยงการจ่ายผลตอบแทนพนักงานกับระบบการติดตามหนี้ & หนี้เสีย และ เพิ่มบริการจ่ายค่างวดผ่านระบบโมบายแบงก์กิ้ง 2.) เน้นขายสินค้าไม่เน้นเทคโนโลยี หันมาเน้นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน การปรับเปลี่ยนดังกล่าวทำให้ติดตามหนี้ได้มากขึ้น ในขณะที่หนี้เสีย และยอดการตั้งสำรองฯก็ต่ำลง

ส่วนยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทำให้รายได้โตถึง 60% ในครึ่งปีแรกปี 2563 ในขณะที่รายได้จากสินเชื่อจำนำทะเบียนเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัวในช่วงปี 2563 ถึงครึ่งปีแรกปี 2563 จากฐานที่ต่ำ ทั้งนี้ พอร์ตสินเชื่อในปัจจุบันอยู่ที่ 4.4 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 24% YTD) (สินเชื่อจำนำทะเบียนเพิ่มขึ้น 46% สินเชื่อ leasing เพิ่มขึ้น 12%) ในครึ่งปีแรกปี 2563 ขณะที่อัตราผลตอบแทนของสินเชื่อทรงตัวอยู่ที่ 21% (โดยสินเชื่อจำนำทะเบียนอยู่ที่ 16% และสินเชื่อ leasing อยู่ที่ 21.3%)

ทั้งนี้ จากต้นทุนทางการเงินที่ 5.5% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจึงยังคงอยู่ที่ประมาณ 15-16% การที่บริษัทพยายามจะเพิ่มสินเชื่อจำนำทะเบียน และแยกธุรกิจนี้ออกไปในสามปีข้างหน้า ทำให้บริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มสินเชื่อกลุ่มนี้อีก 3x ก่อนที่จะเข้าจดทะเบียนใน SET ใช้สมมติฐานว่าสินเชื่อของบริษัทจะโต 50%/30%/20% ในปี 2563/64/65 ในขณะที่อัตราผลตอบแทนทรงตัว

ขณะที่สัดส่วน NPL ลดลงจาก >10% ในปี 2561 เหลือ 9% ในปี 2562 และเหลือ 6.5% ในปัจจุบัน จากการติดตามหนี้เสียได้มากขึ้น และการ write-off NPL ทั้งนี้ SINGER ตั้งสำรองลดลงเนื่องจากมาตรฐานบัญชี IFRS9 เปิดโอกาสให้บริษัทตั้งสำรองก้อนใหญ่ไปแล้วในเดือนมกราคม 2563 ซึ่งทำให้ credit cost ต่ำ <2% ใน 1H63 แต่อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า credit cost ตามปกติในปี 2563-65 จะอยู่ที่ 5.5%

ดังนั้นจึงใช้สมมติฐานอัตราการเติบโตของสินเชื่อ และยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ 5% แต่อย่างไรก็ตาม ใช้สมมติฐานว่าสัดส่วน NPL จะยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ที่ 8.5% ของสินเชื่อรวม และ ประมาณ credit cost ที่ 5.5% โดยคาดว่ากำไรสุทธิจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งถึง 140%/23% ในปี 2563/64

ส่วนความเสี่ยงคือการแปลงสภาพวอร์เพิ่มจำนวนหุ้น 15% ปี 2564 และ 16% ปี 2566 อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังต่ำ NPL  >10% ของสินเชื่อ ทำให้คชจ.สำรองเพิ่มกว่าคาดการณ์

Back to top button