กำไรหุ้นแบงก์ไทยไม่ได้แย่อย่างที่คิด!

เข้าสู่เทศกาลประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/58 อีกครั้ง นำโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ทยอยส่งงบการเงินออกมาจนหมดแล้วทั้ง 11 แห่ง โดยส่วนใหญ่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่บางธนาคารผลประกอบการออกมาไม่เป็นไปตามคาด หรือลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน


ช่วงนี้เข้าสู่เทศกาลประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/58 อีกครั้ง นำโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ทยอยส่งงบการเงินออกมาจนหมดแล้วทั้ง 11 แห่ง โดยส่วนใหญ่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่บางธนาคารผลประกอบการออกมาไม่เป็นไปตามคาด หรือลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

 

ภาพรวมถือว่ากลุ่มธนาคารยังดูดี เนื่องจากผลการดำเนินงานของธนาคารโดยส่วนใหญ่มีกำไรค่อนข้างแข็งแกร่ง ซึ่งมีอยู่ 8 แห่ง แต่มีเพียง 3 แห่งที่มีผลงานถดถอยลงบ้าง

ในบรรดาธนาคารที่ประกาศงบการเงินออกมาแล้วสดใส ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กำไรสุทธิ 13,151.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.98 ล้านบาท หรือ 1% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 13,128.72 ล้านบาท โดยการเติบโตของกำไรสุทธิในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (จากดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงและการเติบโตของสินเชื่อ) การเพิ่มขึ้นของรายได้จากธุรกรรมค้าเงินและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ

อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ ทั้งนี้ ในไตรมาส 1/58 ธนาคารทำการบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียวเพื่อชดเชยกรณีทุจริตที่เกิดขึ้นกับบัญชีเงินฝากของ สจล. อันเป็นการแสดงความรับผิดชอบของธนาคาร (หากไม่รวมค่าใช้จ่ายนี้อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิจะอยู่ที่ 9.3%)

 

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กำไรสุทธิ12,401.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 462.49 ล้านบาท หรือ 4% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 11,938.84 ล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 1,481 ล้านบาท หรือ 7.59% ส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวของสินเชื่อและการลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากเฉลี่ย

 

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กำไรสุทธิ 9,406.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 441.78 ล้านบาท หรือ 5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 8,965.12 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY กำไรสุทธิ 4,325.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,059.72 ล้านบาท หรือ 33% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 3,266.26 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น

 

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB กำไรสุทธิ 1,637.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.75 ล้านบาท หรือ 3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,601.91 ล้านบาท สาเหตุหลักจากรายได้รวมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ เพื่อความระมัดระวัง ธนาคารได้เพิ่มการตั้งสำรองมาอยู่ที่ 2,387 ล้านบาทในไตรมาสนี้ และทำให้มีกำไรสุทธิ

 

บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP กำไรสุทธิ 1,192.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 257.78 ล้านบาท หรือ 28% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 934.69 ล้านบาทโดยเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น

 

บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHBANK กำไรสุทธิ 328.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 101.97 ล้านบาท หรือ 45% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 226.24 ล้านบาท เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 ตามการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อ Big Corporate และ Corporate ที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 13.6 จากงวดเดียวกันของปี ก่อนและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.5

 

ขณะที่อีกสามธนาคารทำผลงานไม่น่าปลื้มสักเท่าไร เนื่องจากมีผลการดำเนินงานที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน อาทิ KTB, KKP และ CIMBT

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กำไรสุทธิ 7,864.03 ล้านบาท ลดลง 433.58 ล้านบาท หรือลงไป 6% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 8,297.61 ล้านบาท ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย กำไร (ขาดทุน) สุทธิจากเงินลงทุนและรายได้เงินปันผล ทั้งนี้ ธนาคารมีนโยบายการตั้งสำรองตามปกติ ไตรมาสละ 2,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 600 ล้านบาท จากไตรมาส 1/57เพื่อให้เหมาะสมกับฐานสินเชื่อของธนาคารและอาจมีการตั้งสำรองเพิ่มเติมตามความเหมาะสมในแต่ละไตรมาสเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของระดับเงินสำรองของธนาคารโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ความระมัดระวัง เพื่อรองรับความ ผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP กำไรสุทธิ 664.09 ล้านบาท ลดลง 58.24 ล้านบาท หรือลงไป 8% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 722.33 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จากัด (มหาชน) (ทุนภัทร) และบริษัทย่อย ได้แก่ บล.ภัทร บล.เคเคเทรด และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนภัทร จากัด (บลจ.ภัทร) จำนวน 306 ล้านบาท

 

หากพิจารณากำไรเบ็ดเสร็จรวมจะเท่ากับ 697 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.2 เป็นกำไรเบ็ดเสร็จของธุรกิจตลาดทุนจำนวน 279 ล้านบาท โดยกำไรเบ็ดเสร็จรวมได้รวมผลจากการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เผื่อขายอันเป็นผลจากความผันผวนของตลาดทุน

 

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT กำไรสุทธิ 130.60 ล้านบาท ลดลง 310.27 ล้านบาท หรือลงไป 71% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 440.87 ล้านบาท สาเหตุหลักเกิดจากสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นร้อยละ 117.60 ล้านบาท เป็นผลสะท้อนจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

 

สรุปว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์ไม่ได้แย่อย่างที่คิด!!

 

งบการเงินงวดสามเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2558

table20150425

(หน่วย: ล้านบาท)

Back to top button