เด็กเลี้ยงแกะ 2558พลวัต2015
เมื่อวานนี้ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ประกาศติดสัญลักษณ์ธงแดงหน้าชื่อของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก ซึ่งเท่ากับเป็นการแสดงความไม่ไว้วางใจต่อมาตรฐานความปลอดภัยในการควบคุมการบินของหน่วยงานรัฐไทยอย่างเป็นทางการ
เมื่อวานนี้ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ประกาศติดสัญลักษณ์ธงแดงหน้าชื่อของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก ซึ่งเท่ากับเป็นการแสดงความไม่ไว้วางใจต่อมาตรฐานความปลอดภัยในการควบคุมการบินของหน่วยงานรัฐไทยอย่างเป็นทางการ
การขึ้นเครื่องหมายธงแดงดังกล่าว จะส่งผลเสียหายที่ยากจะประเมินได้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวอย่างไม่ต้องสงสัย แม้ว่าหลายฝ่ายจะพยายามออกมาปฏิเสธว่า หน่วยงานของตนไม่ได้รับความเสียหายอะไร ซึ่งเป็นเรื่องการประชาสัมพันธ์เฉพาะหน้าที่ไร้ความหมาย
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า ก่อนหน้าที่ ICAO จะขึ้นเครื่องหมายดังกล่าว 1 วัน รมว.คมนาคม พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ในเชิงโล่งอกว่า การหารือระหว่างตัวแทนของไทยกับ ICAO ได้รับผลน่าพึงพอใจ เพราะ ICAO พอใจแผนแก้ไขปัญหาการบินของไทย ทำให้จะไม่ลงประกาศผลตรวจสอบแผนต่อสาธารณชน แม้จะยังไม่ปลดล็อก SSC ก็ตาม
เมื่อผลออกมาตรงกันข้าม ก็เลยมีคำถามตามมาว่า เกิดอะไรขึ้นถึงขั้นทำให้ รมว.คมนาคมไทยต้องมีอันหน้าแตกยับเยิน
ทราบกันดีมาหลายเดือนแล้วว่า ICAO ได้ประกาศว่า ต้องการให้ไทยแก้ไขมาตรการควบคุมการบินเสียใหม่จากเดิมที่ไม่ได้มาตรฐานภายในเวลา 90 วัน ซึ่งครบกำหนดไปแล้ว
ก่อนครบกำหนดเส้นตาย รัฐบาลไทยถึงขั้นประกาศใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พร้อมกับทำท่าขึงขังว่าจะต้องเร่งแก้ไขเพื่อจัดการปรับกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐให้เป็นไปตามที่ ICAO ต้องการให้แก้ไขให้แล้วเสร็จ
ก่อนครบกำหนด ทีมงานฝ่ายไทย พร้อมกับรมช.คมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เดินทางไปสหรัฐ พร้อมหารือกับผู้บริหารของ ICAIO
ผลการหารือ นายอาคมได้แจ้งให้ พล.อ.อ.ประจิน ทราบว่า มีข้อสรุปร่วมกัน 12 ประการ คือ
1.ICAO รับแผนแก้ไขข้อบกพร่องระยะเร่งด่วนที่ส่งให้ล่าสุด แม้จะยังไม่สมบูรณ์
- วันที่ 18 มิ.ย.นี้ จะไม่มีมาตรการใดๆ แก้ไขเพิ่ม แต่ SSC ยังคงอยู่ จนกว่า บพ.จะทำแผนเสร็จและจะไม่นำผลการตรวจสอบของไทยลงประกาศต่อสาธารณชน
3.ICAO ยินดีช่วยไทยแก้ปัญหาและนำกรณีของไทยเป็นตัวอย่างแก้ปัญหาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
- ขอให้ไทยไม่เร่งรีบการทำงาน
- ระบบการทำงานไม่ควรตั้งคณะทำงานหลายชุด จากเดิมมีคณะกรรมการ 1 ชุดใหญ่ และอีก 2 ชุดย่อย
- แสดงความเป็นห่วงที่ไทยจ้างที่ปรึกษาจำนวนมาก ไม่อยากให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
- เห็นด้วยที่จัดโปรแกรมตรวจสอบกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ หรือ AOC Certification ที่ได้ปรับแผนใหม่ เช่น การตรวจสอบเอกสาร ดูข้อเท็จจริงในพื้นที่ แต่ไม่อยากให้ไทยเร่งรีบ
- ขอให้ไทยเชื่อคำแนะนำ ICAO จัดทำแผนแก้ไขปัญหาระยะกลางและระยะยาว อย่าพึ่งคนอื่นมากเกินไป
9.ICAO จะช่วยออกหน้ากรณีมีหน่วยงานอื่นมาตรวจสอบ
- ฝ่ายไทยยินดีรับความช่วยเหลือด้านวิชาการจาก ICAO
- พอใจที่ไทยจะแก้ไข พ.ร.บ.ทางเดินอากาศให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้
12.ICAO ยินดีจะมาเยือนไทยเพื่อแก้ไขปัญหา
ข้อสรุปดังกล่าว ทำให้พล.อ.อ.ประจิน มั่นใจว่า สำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ถึงขั้นให้สัมภาษณ์ว่า ICAO เข้าใจ ให้โอกาสเราและพร้อมออกหน้าให้ โดยที่หลังจากนี้ รมช.อาคมจะไปพบกับ องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ต่ออีกคน
นอกจากนั้น พล.อ.อ.ประจิน ยังเปิดเผยต่อว่า จะใช้มาตรา 44 ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ในกรมการบินพลเรือน โดยการปรับโครงสร้างแยกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) 2.กรมท่าอากาศยาน จะเป็นหน่วยงานปฏิบัติ (Operator) 3.สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของเรือและอากาศยานที่ประสบภัย และ 4.สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้รอดชีวิต ภายใน 1 สัปดาห์ ตามมาตรฐานสากล
วันเดียวหลังจากพูดเช่นนั้น ธงแดงจาก ICAO ขึ้นมา เท่ากับข้อสรุป 12 ข้อนั้น ไร้ความหมายโดยปริยาย นอกจากทำให้งุนงงว่า มีการสื่อสารอะไรผิดพลาดถึงขั้นที่ทำให้รมว.คมนาคม ซึ่งเป็นรองหัวหน้า คสช.ด้วย เข้าใจตรงกันข้ามกับผลลัพธ์ที่ออกมาในวันถัดมา แล้วใครกันแน่ที่เป็นเด็กเลี้ยงแกะในกรณีที่เกิดขึ้น
มาตรฐานไทย กับมาตรฐานสากล สวนทางกันเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ไม่ต่างจากมาตรฐานคำว่าประชาธิปไตย ที่มีคนไทยจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั้น ไม่จำต้องสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ความคลาดเคลื่อนและไม่ลงรอยเช่นนี้ จะเป็นเรื่องปกติ หรือผิดปกติ เป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะหากมาตรฐานไทยไม่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลจริง ปัญหา ICAO ก็คงไม่เกิดให้เห็นเช่นที่กำลังเกิดขึ้นอยู่