KTAMเพิ่มทางเลือกเปิดIPOกองทุนKT-maiลงทุนหลากหลายธุรกิจที่แตกต่างจากSET
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้น เอ็ม เอ ไอ ( KT-mai ) ในวันที่ 30 มิถุนายน -7 กรกฎาคม 2558 มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท เงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน KT-mai ในครั้งนี้ เนื่องจากหลายธุรกิจที่อยู่ในตลาด เอ็ม เอไอ มีศักยภาพในการเติบโตที่ดี และเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนในการกระจายความเสี่ยง ช่วยให้การจัดพอร์ตการลงทุนของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้น เอ็ม เอ ไอ ( KT-mai ) ในวันที่ 30 มิถุนายน -7 กรกฎาคม 2558 มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท เงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน KT-mai ในครั้งนี้ เนื่องจากหลายธุรกิจที่อยู่ในตลาด เอ็ม เอไอ มีศักยภาพในการเติบโตที่ดี และเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนในการกระจายความเสี่ยง ช่วยให้การจัดพอร์ตการลงทุนของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไ อ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลิออาจพิจารณาลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงินและเงินฝาก กองทุนอาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อลดความเสี่ยง ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการก.ล.ต.กำหนด
สำหรับผลตอบแทนของตลาดเอ็ม เอ ไอ ย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 194% เทียบกับ SET อยู่ที่ 96% ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอ จะเน้นลงทุนกิจการขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) และกิจการเกี่ยวกับนวัตกรรม ที่ธุรกิจมีโอกาสเติบโตได้ดีในอนาคต ทั้งนี้ การลงทุนในตลาดเอ็มเอไอ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบริษัท รวมถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่เป็นส่วนสำคัญต่อการเติบโตของบริษัทที่อยู่ในตลาดเอ็ม เอไอ ดังนั้น ความเชี่ยวชาญในการที่จะเข้าถึงข้อมูล และวิเคราะห์บริษัทเหล่านี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเข้าไปลงทุน ซึ่งทีมวิจัยของบริษัท มีศักยภาพสูง โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์เจาะลึกเป็นรายบริษัท(Bottom-up approach) เป็นหลัก และจะเน้นลงทุนเป็นรายตัว เนื่องจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอ มีธุรกิจที่หลากหลาย และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบริษัท คัดสรรเฉพาะหุ้นที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตทางธุรกิจที่สูงในอนาคต
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในหุ้นครึ่งปีหลัง ฝ่ายวิจัย ของบริษัท ได้ปรับเป้าหมายดัชนี ลงมาอยู่ที่ 1,580 จุด โดยเป็นการปรับลด PE ลงมาที่ 16 เท่าจากเดิมให้ที่ 17 เท่า การปรับลด PE เป็นไปตามการปรับลดประมาณการการขยายตัวของ GDP และเผื่อสภาพคล่องในตลาดที่จะลดลงจากการปรับเปลี่ยนนโยบายของเฟด รวมถึงประมาณกำไรโดยรวมที่อาจมีการปรับลดลงกว่าที่ฝ่ายวิจัยฯประมาณการไว้ ทำให้ PEG ลงมาที่ 0.64 เท่า จากเดิมที่ 0.68 เท่า สำหรับทิศทางการลงทุนในไตรมาสที่ผ่านมามองว่า ดัชนีฯอ่อนแอกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากดัชนี ไม่สามารถยืนเหนือ 1,600 จุดได้ และยังลงมาต่ำกว่า 1,500 จุด ทำให้ทิศทางการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3 นี้ หากดัชนีสามารถยืน 1,480 จุด ได้ จะทำให้แนวโน้มดีขึ้น ปัจจัยภายในประเทศมองว่าจะมีปัจจัยบวกเข้ามาเพิ่มขึ้น เนื่องจาก จะเห็นการฟื้นตัวของการส่งออกตาม Seasonal และค่าเงินบาท ที่อ่อนค่าลงช่วยหนุนได้บ้าง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรจะมีแนวโน้มที่ดีเพิ่มขึ้นตามผลผลิตที่คาดว่า จะลดลงทั่วโลกจากภาวะภัยแล้ง ( El Nino ) ในไตรมาสนี้ จะเห็นการลงทุนในโครงการต่างๆของภาครัฐมีความคืบหน้าเพิ่มขึ้น , การท่องเที่ยวยังดีต่อเนื่อง, การเมืองยังคงมีเสถียรภาพ รอให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นตัว ทางด้านปัจจัยภายนอกยังมองในทางลบ การลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติยังชะลอลงทุนต่อไป จากความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดและปัญหาของกรีซที่น่าจะมีประเด็นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 32% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 11 ปี
ดังนั้น แรงขายของต่างชาติจะไม่ค่อยมีผลกับดัชนี SET เหมือนกับช่วงที่ผ่านมามากนัก ทำให้ดัชนีมีความผันผวนในกรอบ 1,420 – 1,550 จุด หากพิจารณาจากกราฟ PE Band พบว่าปัจจุบันมีการแกว่งตัวหลุดกรอบ PE เดิมที่15 -16 เท่า ลงมาหาฐาน PE ใหม่และคาดจะแกว่งตัวระหว่าง PE 13.5 -15 เท่า สำหรับปัจจัยที่ต้องจับตามองในไตรมาส 3 นี้ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ( กนง.) ในวันที่ 9 ก.ค., 13 ส.ค.และ 11 ก.ย. คาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ย และ เฟด จะประชุมFOMC วันที่ 28 -29 ก.ค. และ16- 17 ก.ย. มีโอกาสขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. รวมถึง การประชุมของ ECB จะมีในวันที่ 16 ก.ค.และ 3 ก.ย.
นอกจากนี้ ยังจับตามมองมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของจีน หากจีนฟื้นตัวจะทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในกลุ่มCommodity เข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งการลงทุนในไตรมาส3 เน้นไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดีของ Investment cycle ของไทย, กลุ่มการส่งออกหรือกลุ่มที่ได้รับผลดีจากการอ่อนค่าของเงินบาท, อย่างไรก็ตามก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ควรถือเงินสดเพิ่มขึ้น เพื่อรอลงทุนในกลุ่มบลูชิพที่ราคาปรับตัวลงแรง