แบล็คมันเดย์ คืออะไร?
เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ปี 1987 หรือเมื่อ 28 ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งนักลงทุนบางรายในตลาดหุ้นไทยวันนี้บางคนยังนั่งเล่นหมากเก็บ บางคนยังเป็นวุ้น หรือบางคนก็เคยได้ยินเหตุการณ์ในตลาดหุ้น Wall street ที่เกิดขึ้นในวันนั้นมาแล้ว ซึ่งเป็นวันที่ได้ฉายาว่า “Black Monday”
สภาแมงเม่า: ดร.สมชาย
วันนี้อาจารย์ขอคั่นอารมณ์นักลงทุนกลุ่มต่างๆ ด้วยเรื่อง “Black Monday” เพื่อให้เข้ากับสถานการณี่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ เพราะนักลงทุนหลายรายต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับการขายหุ้นอย่างหนักหน่วงในรอบนี้ จึงเป็นจังหวะดีที่จะพูดถึงเรื่องดังกล่าวนะครับ
โดยเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ปี 1987 หรือเมื่อ 28 ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งนักลงทุนบางรายในตลาดหุ้นไทยวันนี้บางคนยังนั่งเล่นหมากเก็บ บางคนยังเป็นวุ้น หรือบางคนก็เคยได้ยินเหตุการณ์ในตลาดหุ้น Wall street ที่เกิดขึ้นในวันนั้นมาแล้ว ซึ่งเป็นวันที่ได้ฉายาว่า “Black Monday”
เหตุการณ์ในวันนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า “Panic Sell” แบบต้นฉบับดั้งเดิม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ตลาดหุ้น Dow Jones ลดลงวันเดียวเป็น % มากที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ -22.6%
ว่ากันว่า สาเหตุของการร่วงลงรุนแรงครั้งนั้นก็คือ “Program Trading” หรือที่รู้จักกันอีกชื่อก็คือ Algorithm Trading คือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับการเสนอซื้อขายได้โดยอัตโนมัติที่นำมาใช้ ซึ่งในตอนนั้นเป็นระบบเทรดที่กำลังบูมมากๆ ทั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญ (pension funds) กองทุนรวม (mutual funds) และ กองทุนประกันความเสี่ยง (hedge funds) ทั้งหมดต่างก็ใช้เจ้าระบบนี้ในการเทรด และแสวงหากำไร
หากดูเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ ก็ต้องบอกว่า เหมือน Algorithm Trading จะทำงานได้ดี เพราะช่วงครึ่งปีแรกของปี 1987 นั้น ตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยไม่ได้มีสัญญาณใดบ่งชี้ว่าราคาหุ้นจะลดลง จนสามารถวิ่งขึ้นทำสถิติ new high all time ได้ในวันที่ 25 สิงหาคม หรือเพิ่มขึ้น 43% นับตั้งแต่ต้นปี 1987 ทีเดียว และ ระบบ Algorithm Trading ส่วนใหญ่ สามารถทำกำไร และ Let Profit Run ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าตลาดเสียด้วย
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิด Black Monday น่าจะมีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน
ประเด็นที่ 1. เกิดจากการปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงของ Dow Jones จากระดับ 2,000 จุด และขึ้นไปถึง 2,747 จุด ภายในระยะเวลา 3 เดือน หรือเพิ่มขึ้น 43% นับจากต้นปีอย่างที่บอกไป การปรับตัวขึ้นรวดเดียวแบบนี้ เป็นใครก็ต้องนึกได้ว่า มันน่าจะมีการปรับฐานตามมาบ้าง
ประเด็นที่ 2. อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ หรือ CPI ปรับตัวขึ้นมากกว่า 4% ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นสัญญาณการเร่งตัวของเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปอยู่แล้ว แต่ผู้คนในตลาดกลับมองว่าภาวะกระทิงน่าจะยังดำเนินต่อไป เพราะจะมีการเลือกตั้งในปี 1988 พร้อมนโยบายใหม่ๆในอนาคตจนลืมตรวจสอบสภาวะปัจจุบัน ณ ตอนนั้น
ประเด็นที่ 3. สาเหตุของเงินเฟ้อ ก็มาจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น 107% จากระดับ 10.80 เหรียญต่อบาเรล ในเดือน มี.ค. ปี 1987 ไปสู่ 22.40 เหรียญต่อบาเรล ในเดือน ส.ค. ใครเห็นภาพแบบนี้ก็ต้องรู้ว่ามัน Bubble ชัดๆ แต่คนในตลาดตอนนั้นกลับมองแง่ดีเกินไป
ผลที่ตามมาก็คือ ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงระเนระนาด
จริงๆแล้ว เหตุการณ์คล้ายๆกับ Black Monday ก็เพิ่งเกิดขึ้นในวันที่ 6 พ.ค. 2010 ซึ่งวันนั้น Wall street เรียกกันว่า “Flash Crash” เรียกเป็นภาษาไทย ก็คงจะเรียกว่า ลงแบบสายฟ้าแลบ!!
เหตุการณ์ในวันนั้น นักลงทุนในตลาดเกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซว่าจะซ้ำรอยวิกฤต Subprime ที่เพิ่งผ่านไปไม่ถึง 2 ปี ตลาดหุ้นเปิดมาปั๊บก็เทรดในแดนลบ จนผ่านไปครึ่งวันจากลบ 100 จุด Dow Jones ก็ลงไปถึง 300 จุด และเพียงไม่ถึง 10 นาทีหลังงจากนั้น Dow Jones ดิ่งลงไปเกือบถึง 1,000 จุด ไปทำจุดต่ำสุดที่ 9,880 จุด ก่อนเด้งจากจุดนั้นขึ้นมาปิดตลาดที่ 10,517.83 จุด หรือดีดขึ้นมากว่า 600 จุดภายใน 20 นาที
หายนะครั้งนั้นไม่รุนแรงเท่า Black Monday ถึงแม้นับเป็นจุดแล้ว ลงมากกว่า แต่เพราะ Dow Jones ในปี 2010 เทรดที่ระดับ 10,000 จุดแล้ว เมื่อนับเป็นเปอเซ็นต์เลยไม่แรงเท่า Black Monday ส่วนสาเหตุก็เกิดจาก Algorithm Trading ที่ต่างแห่กันเทขาย