บลจ.เกียรตินาคินภัทร แนะกองทุน SSF-RMF ครอบคลุมทุกทรัพย์สิน

“บลจ.เกียรตินาคินภัทร” แนะกองทุน SSF-RMF ครอบคลุมทุกทรัพย์สินในปท.-ตปท.


นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า แนวโน้มความผันผวนของตลาดการลงทุนลดลงในปี 64 ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวม หลังจากเศรษฐกิจโลกและไทย มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในปีหน้า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ดีขึ้นในหลายประเทศ การพัฒนาวัคซีนมีความคืบหน้าไปมากและคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มผลิตใช้ได้ในช่วงต้นปี 64 ส่งผลให้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นและหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อ

นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่นายโจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้ง และพรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาล่าง ในขณะที่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา ทำให้ตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของสหรัฐมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีขนาดสูงขึ้น ในขณะที่การผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นภาษีหรือที่เป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จะทำได้ยากขึ้น และการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศกับนานาชาติในเชิงประนีประนอมมากขึ้น

สำหรับการลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมในระยะยาว โดยผู้ลงทุนได้มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนในทรัพย์สินประเภทใดก็ได้ ซึ่งถือเป็นข้อดี เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมถึงสามารถจัดสัดส่วนพอร์ตการลงทุนได้ตามเหมาะสมของแต่ละบุคคล

ทั้งนี้ บลจ.เกียรตินาคินภัทร นำเสนอกองทุน SSF และ RMF ที่ครอบคลุมทุกทรัพย์สิน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกผสมผสานจัดพอร์ตการลงทุนที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการลงทุนระยะยาวได้ โดยปัจจุบัน บลจ.เกียรตินาคินภัทร นำเสนอกองทุน SSF และ RMF โดยแบ่งตามประเภททรัพย์สิน ได้แก่ 1. กองทุนรวมตลาดเงิน (ความเสี่ยงต่ำ)  ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและเงินฝากระยะสั้น ได้แก่ SSF กองทุน KKP MP-SSF และ RMF กองทุน KKP MMRMF

  1. กองทุนตราสารหนี้ (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) ลงทุนในตราสารหน้าภาครัฐและเอกชน ได้แก่ SSF กองทุน KKP ACT FIXED-SSF และ RMF กองทุน INRMF 3. กองทุนผสม (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง) ลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้และหุ้น โดยผู้จัดการกองทุนจะปรับเปลี่ยนสัดส่วนตามสภาวะตลาด ได้แก่ RMF กองทุน KKP BLRMF
  2. กองทุนแบบ Asset Allocation (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง) กระจายการลงทุนในทรัพย์สินต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตลอดจนทรัพย์สินทางเลือก เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทองคำ และน้ำมัน โดยแต่ละกองทุน มีการลงทุนในทรัพย์สินแต่ละประเภทในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย SSF กองทุน KKP SG-AA Light-SSF, กองทุน HHP SG-AA-SSF และกองทุน KKP SG-AA Extra-SSF ส่วน RMF กองทุน KKP SG-AA RMF
  3. กองทุนตราสารทุนที่ลงทุนในประเทศ (ความเสี่ยงสูง) ลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ได้แก่ SSF กองทุน KKP ACT EQ-SSF และกองทุน KKP SET50 ESG-SSF ส่วน RMF กองทุน KKP EQRMF 6. กองทุนตราสารทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (ความเสี่ยงสูง)  กองทุน Feeder Fund ที่เน้นลงทุนในกองทุนรวมหลักในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ SSF กองทุน KKP PGE-H-SSF และกองทุน KKP TECH-H-SSF  และ RMF กองทุน KKP GNP RMF-UH และกองทุน KKP GNP RMF-H
  4. กองทุนรวมหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (ความเสี่ยงสูงมาก) ลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ กองทุน KKP PROP-D-SSF และ กองทุน KKP PROPRMF

Back to top button