“อีสท์สปริง” เปิดขายกองทุนพันธบัตร ดีเดย์ 5-12 ก.พ.นี้

“อีสท์สปริง” เปิดขายกองทุนพันธบัตรมุ่งรักษาเงินต้น อายุ 6 เดือนรุ่นใหม่ ดีเดย์ 5-12 ก.พ.นี้ ชูโอกาสรับผลตอบแทน 2% ต่อปี


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด เปิดขายกองทุนเปิดอีสท์สปริง พันธบัตรรัฐมุ่งรักษาเงินต้น 6M11 (ES-GOVCP6M11) อายุกองทุนประมาณ 6 เดือน ระหว่างวันที่ 5-12 กุมภาพันธ์นี้ ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท มูลค่าโครงการ 2,500 ล้านบาท โดยมีนโยบายนำเงินไปลงทุนในตราสารที่มุ่งรักษาเงินต้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ในสัดส่วนประมาณ 100% ของ NAV โดยคาดหวังผลตอบแทนประมาณ 2.25% ต่อปีของ NAV หลังจากหักค่าใช้จ่ายประมาณ 0.25% ต่อปีของ NAV แล้ว จะได้รับประมาณการผลตอบแทนอยู่ที่ 2.00% ต่อปีของ NAV

สำหรับกองทุน ES-GOVCP6M11 จะลงทุนครั้งเดียว และถือครองทรัพย์สินที่ลงทุนจนครบอายุโครงการ (Buy and Hold) โดยบลจ.อีสท์สปริง จะดำเนินการให้มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบอัตโนมัติ และทำการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนทั้งจำนวนของผู้ถือหน่วยทุกราย ไปยังกองทุนเปิดทหารไทยธนรัฐ หรือกองทุนรวมตลาดเงินอื่นที่บลจ.อีสท์สปริง เปิดให้บริการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน ในวันทำการก่อนวันสิ้นสุดอายุโครงการ

อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่กำหนดไว้ โดยผู้ลงทุนจะไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก กองทุนอาจไม่ได้รับเงินต้นและผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ หากผู้ออกตราสารหรือธนาคารที่กองทุนลงทุนไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนได้ และบริษัทจัดการขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องไม่ทำให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eastspring.co.th หรือโทร 1725 ในวันและเวลาทำการ หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัทฯ หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง และผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน และความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร และความเสี่ยงจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ย และ/หรือ คืนเงินต้นได้

Back to top button