“บล.ดีบีเอส” ออกหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงต่างประเทศ ผลตอบแทนสูงสุด 20% ต่อปี

บล.ดีบีเอส ออก “หุ้นกู้อนุพันธ์แฝงต่างประเทศ” ชูผลตอบแทนสูง 8-20% ต่อปี ลงทุนขั้นต่ำ 100,000 USD   


นายอานันท์ พงศ์ภูวนนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ส่วน Investment advisor and Product specialist บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่คือ Global Structured Product (GSP) หรือหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต่างประเทศ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูง ประมาณ 8-20% ต่อปี ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ทั่วไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ขั้นต่ำในการลงทุน 100,000 USD โดยเน้นกลุ่มลูกค้ารายใหญ่

สำหรับ Global Structured Product (GSP) เป็นตราสารอนุพันธ์ระยะสั้นที่มีคุณสมบัติกึ่งตราสารหนี้กึ่งตราสารทุน โดยสินค้าอ้างอิง เป็นหุ้นต่างประเทศระดับโลก ซึ่งอัตราผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับราคาของหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งเป็นหุ้นต่างประเทศระดับโลก โดยอาจเป็นหุ้นรายตัว หรือหุ้นหลายตัว

“หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต่างประเทศ มีหลากหลายรูปแบบมาก ซึ่งผลตอบแทน และความเสี่ยงก็แตกต่างกันไป ซึ่งทางบล.ดีบีเอส ได้จัดคอร์สอบรมเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นักลงทุน ก่อนที่จะลงทุน” นายอานันท์ กล่าว

นายอานันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน GSP มี 2 รูปแบบให้เลือกลงทุน คือ 1. Equity-Linked Notes (ELN) และ 2. Fixed Coupon Note (FCN) – KIKO โดย ELN เป็น Zero Coupon Bond ผู้ซื้อจะได้รับผลตอบแทนเป็นส่วนลด หากราคาของหุ้นอ้างอิง ณ วันครบกำหนดสัญญามากกว่าหรือเท่ากับราคาที่ตกลงไว้ล่วงหน้า ณ วันที่กำหนดราคาหุ้น หรือที่เรียกว่า strike price ผู้ซื้อจะได้รับเงินสดเท่ากับมูลค่าหน้าตราสารในวันที่ครบกำหนดสัญญา แต่หากราคาหุ้นอ้างอิงสุดท้ายต่ำกว่าราคา strike price ผู้ซื้อจะได้รับผลตอบแทนเป็นหุ้นอ้างอิงที่ราคา strike price เป็นจำนวนเทียบเท่ากับมูลค่าหน้าตราสาร

ส่วน FCN – KIKO ผู้ซื้อ FCN จะได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ โดยไม่คำนึงถึงสภาวะตลาด ทำให้ได้ Cash Flow อย่างต่อเนื่องตามอายุของ FCN  ผู้ซื้อจะได้รับเงินต้นคืน หากหลักทรัพย์อ้างอิงปรับตัวลงไม่ต่ำกว่าเงื่อนไขที่กำหนดในวันสิ้นสุดสัญญา หรือได้รับหลักทรัพย์อ้างอิงของ “ตราสารทุนที่มีผลตอบแทนน้อยที่สุด” ตามมูลค่าหน้าตั๋วในราคา strike price ที่กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ FCN มีโอกาสที่จะสิ้นสุดสัญญาก่อนกำหนดได้ หากราคาหลักทรัพย์อ้างอิงทุกตัวปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา

โดยนักลงทุนสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ Global Structured Product (GSP) ได้ที่ https://www.dbsvitrade.com/brokerpage/004/web/files/Brochure/GSP_Brochure.pdf

ด้านนายวิชญ์นนท์ วงษ์ไชยคณากร ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่าย Digital Business บล.ดีบีเอส กล่าวว่า นักลงทุนสามารถลงทุนใน Global Structured Product (GSP) ได้อย่างมั่นใจกับ บล.ดีบีเอส บริษัทในเครือ DBS Bank ธนาคารใหญ่สุดในอาเซียน ที่อยู่คู่กับนักลงทุนไทยมากว่า 20 ปี โดยได้รับการรับรองจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้บริการด้านการลงทุนกับลูกค้าทั้งลูกค้ารายบุคคลและลูกค้าสถาบัน มีทั้งการลงทุนในประเทศไทย และต่างประเทศ กองทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น

โดยบล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ ในปี 2021 กวาดรางวัล 18 รางวัล เป็นโบรกเกอร์สถาบันที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากเอเชียมันนี และในปี 2023 ได้รับรางวัล 16 รางวัล จากเอเชียมันนี Asiamoney Brokers Poll Thailand 2023

ขณะเดียวกัน ดีบีเอส วิคเคอร์ส ยังเป็นบริษัทในเครือ DBS Bank ธนาคารดีบีเอส (ประเทศสิงคโปร์) โดยปัจจุบันมีสาขาอยู่มากมายทั่วโลก และได้รับรางวัลมากมายอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง เช่น  ธนาคารที่ดีที่สุดในโลกสำหรับ Corporate Responsibility จาก Euromoney ในปี 2023, ธนาคารที่ดีที่สุดในโลก 5 ปีซ้อน จาก Global Finance ในปี 2018 – 2022, ธนาคารพาณิชย์ที่ปลอดภัยที่สุดในเอเชีย 13 ปีซ้อน จาก Global Finance ในปี 2009 – 2022

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Global Structured Product (GSP) นักลงทุนบริษัทจัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “ทำไมต้องลงทุนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต่างประเทศกับ DBS” ในวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 เวลา 14:00 – 15:30 น. นักลงทุนที่สนใจรับฟังสัมมนาออนไลน์ สามารถติดต่อ โทร 02-857-7918 และ 02-857-7919

คำเตือน *”ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์/บริการ ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่บริษัท/ผู้แนะนำการลงทุนได้แจ้งและเปิดเผยผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ลงทุนกับบริษัทก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risk) รวมถึงข้อจำกัดในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ”

Back to top button