KSAM เสนอขายกองทุน KFFAI6M15ประมาณการผลตอบแทน 2.00% ต่อปี
บลจ.กรุงศรี เสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศเอไอ 6M15 (KFFAI6M15) อายุประมาณ 6 เดือน เสนอขายตั้งแต่วันนี้ถึง 15 มิถุนายน 2558 เหมาะกับนักลงทุนที่มิใช่รายย่อยและผู้ที่มีเงินลงทุนสูง ลงทุนขั้นต่ำ 510,000 บาท ประมาณการผลตอบแทน 2.00% ต่อปี
นายอลัน แคม รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) เปิดเผยว่า บริษัทเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศเอไอ 6M15 (KFFAI6M15) อายุประมาณ 6 เดือน มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เช่น เงินฝากธนาคาร Bank of China (สาธารณรัฐประชาชนจีน ,มาเก๊า) สัดส่วนการลงทุน 8% ตราสารหนี้ GMTN ออกโดยธนาคาร Akbank T.A.S. (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 23% ตราสารหนี้ GMTN ออกโดยธนาคาร Isbank (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 23% ตราสารหนี้ EMTN ออกโดยธนาคาร Vakifbank (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 23% และตราสารหนี้ GMTN ออกโดยธนาคาร Yapi Kredit bank (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 23%
ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติประมาณ 2.00% ต่อปี (ประมาณการค่าใช้จ่ายของกองทุนที่0.21%ต่อปีของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ) และหลังครบกำหนดอายุโครงการบริษัทจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเงิน (KFCASH) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนต่อไป”
สำหรับภาวะตลาดตราสารหนี้โลกนั้น อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาครัฐของสหรัฐฯปรับขึ้น 0.00 – 0.22% โดยที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวปรับขึ้นมากกว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้น เนื่องจากความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟด และการเทขายตราสารหนี้ยุโรป” (ข้อมูล บลจ.กรุงศรี 5 มิ.ย. 58)
ในส่วนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวสูงขึ้นมากหลัง รมว. คลัง ระบุว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการลดดอกเบี้ยลงอีก เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ย 2 ครั้งที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแล้ว และการลดดอกเบี้ยลงอีกจะส่งผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐฐาลปรับขึ้น 0.00 – 0.22% โดยที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวปรับขึ้นมากกว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ