KTAM ขายกองตราสารหนี้ตปท. 6 เดือนชูผลตอบแทน 1.7% ต่อปีขาย 6-12 ม.ค.

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย (KTAM) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้บริษัทเปิดจำหน่าย 2 กองทุนตราสารหนี้ ประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 7( KTFF77 ) เสนอขายตั้งแต่วันที่ 6 -12 มกราคม 2559 อายุ 6 เดือน มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท เน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท MTN ที่ออกโดย Banco latinoamericano de Comercio Exterior, S.A. , ออกโดย Agricultural Bank of CHINA และออกโดย Industrial and Commercial Bank of CHINA (Asia) Ltd.ในสัดส่วน 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝากประจำ Abu Dhabi Commercial Bank PJSC และเงินฝากประจำ Ahli Bank QSC ผลตอบแทนประมาณ 1.70% ต่อปี


นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย (KTAM) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้บริษัทเปิดจำหน่าย 2 กองทุนตราสารหนี้ ประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 7( KTFF77 ) เสนอขายตั้งแต่วันที่ 6 -12 มกราคม 2559 อายุ 6 เดือน มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท เน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท MTN ที่ออกโดย Banco latinoamericano de Comercio Exterior, S.A. , ออกโดย Agricultural Bank of CHINA และออกโดย Industrial and Commercial Bank of CHINA (Asia) Ltd.ในสัดส่วน 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝากประจำ Abu Dhabi Commercial Bank PJSC และเงินฝากประจำ Ahli Bank QSC ผลตอบแทนประมาณ 1.70% ต่อปี

นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่ายรอบใหม่ (Roll Over) ของกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 3 เดือน 1 (KTSIV3M1) ถึงวันที่ 8 มกราคม 2558 อายุ 3 เดือน เน้นลงทุนตราสารหนี้ภาคเอกชนในประเทศ ประกอบด้วย บมจ.เอเซียเสริมกิจลิสชิ่ง บมจ. บัตรกรุงไทย และบมจ.หลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ในสัดส่วน 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝาก ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 1.50% ต่อปี

ส่วนอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศ มีการปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุตามแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศจากความต้องการลงทุนที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องจากกระแส Risk off ตามราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2008 ประกอบกับตัวเลขอุปทานพันธบัตรรัฐบาลไตรมาสที่ 1/2559 ที่ออกมาน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ จะเป็นความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทิศทางของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศ และการเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ

Back to top button