EXIM BANK เปิดตัวสินเชื่อส่งเสริม SMEsหนุนผู้เริ่มต้นธุรกิจส่งออก-การวิจัยพัฒนา
นายสุธนัย ประเสริฐสรรพ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากการที่ EXIM BANK มีบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ จึงเห็นว่าภาครัฐมีโครงการบ่มเพาะและสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ได้ดีอยู่แล้ว และผู้ประกอบการเหล่านี้พร้อมจะส่งออกได้หากมีเงินทุนเพียงพอ EXIM BANK จึงต้องการเติมเต็มช่องว่างทางการเงินดังกล่าว โดยการให้สินเชื่อที่เหมาะแก่ SMEs ที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นส่งออก และได้รับการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานภาครัฐมาแล้ว หรือเป็น SMEs ที่ดำเนินธุรกิจภายในประเทศอยู่แล้วและสนใจจะเป็นผู้ส่งออก
นายสุธนัย ประเสริฐสรรพ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากการที่ EXIM BANK มีบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ จึงเห็นว่าภาครัฐมีโครงการบ่มเพาะและสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ได้ดีอยู่แล้ว และผู้ประกอบการเหล่านี้พร้อมจะส่งออกได้หากมีเงินทุนเพียงพอ EXIM BANK จึงต้องการเติมเต็มช่องว่างทางการเงินดังกล่าว โดยการให้สินเชื่อที่เหมาะแก่ SMEs ที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นส่งออก และได้รับการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานภาครัฐมาแล้ว หรือเป็น SMEs ที่ดำเนินธุรกิจภายในประเทศอยู่แล้วและสนใจจะเป็นผู้ส่งออก
โดย EXIM BANK ได้ริเริ่มบริการใหม่ “สินเชื่อ SMEs เริ่มต้นธุรกิจ” เป็นวงเงินหมุนเวียนสูงสุด 2 ล้านบาทต่อราย เพื่อสนับสนุนผู้ส่งออก SMEs ที่เพิ่งเริ่มกิจการ และมีคำสั่งซื้อแล้ว แต่ยังขาดเงินทุนหมุนเวียน ให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับเตรียมสินค้า ทั้งช่วงก่อนและหลังส่งออก และ “สินเชื่อ SMEs เพื่อการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม” เป็นวงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ไทยทำการวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการและสร้างนวัตกรรมของตนเอง เพื่อต่อยอดธุรกิจและเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทย โดยเฉพาะ SMEs ที่มีโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ทั้งนี้ จากจำนวน SMEs ทั้งประเทศในปัจจุบันประมาณ 2.7 ล้านราย เป็น SMEs ที่เป็นผู้ส่งออกประมาณ 25,000 ราย ซึ่งยังเป็นจำนวนที่ไม่สูงนัก ภายใต้โอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่เปิดกว้างขึ้น โดยเฉพาะการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในสิ้นปี 2558 รวมถึงการค้าชายแดนที่เติบโตอย่างรวดเร็วตามกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเกื้อหนุนให้เกิด SMEs ส่งออกรายใหม่ๆ มากขึ้น ตลอดจนกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก (Global Mega Trends) อาทิ สังคมผู้สูงอายุ การตระหนักถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระแสไลฟ์สไตล์ดูแลสุขภาพ และการค้าขายออนไลน์ ก็นับเป็นโอกาสใหม่ของ SMEs ในการส่งออกสินค้าเพื่อเจาะตลาดผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ SMEs เริ่มให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา ก่อนจะต่อยอดสู่การพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่าง ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก