EXIM BANK หนุนสินเชื่อผู้ประกอบการไทยพร้อมแพคเกจการเงินหนุนการค้าในอาเซียน

นายสุธนัย ประเสริฐสรรพ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK พร้อมสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทย ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจส่งออก ค้าชายแดน ขยาย-ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชายแดน ลงทุนด้านวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม รวมถึงแพ็กเกจทางการเงินสนับสนุนการค้าในอาเซียนพร้อมกันทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย ตลอดจนบริการคุ้มครองความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นบริการสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า บริการประกันการส่งออก บริการประกันความเสี่ยงการลงทุน


นายสุธนัย ประเสริฐสรรพ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK พร้อมสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทย ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจส่งออก ค้าชายแดน ขยาย-ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชายแดน ลงทุนด้านวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม รวมถึงแพ็กเกจทางการเงินสนับสนุนการค้าในอาเซียนพร้อมกันทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย ตลอดจนบริการคุ้มครองความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นบริการสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า บริการประกันการส่งออก บริการประกันความเสี่ยงการลงทุน

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ผู้ส่งออกไทยต้องเผชิญกับหลากหลายปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ EXIM BANK พร้อมให้บริการทางการเงินเพื่อช่วยผู้ส่งออกไทยรับมือกับความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุน ขณะเดียวกัน ยังพร้อมสนับสนุนให้ผู้ส่งออกไทยเดินเกมรุกเพื่อความสำเร็จในระยะยาว เร่งพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ออกแบบและผลิตสินค้าใหม่ๆ ตอบสนองเทรนด์ผู้บริโภค เช่น สังคมออนไลน์ สังคมผู้สูงอายุ และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคการส่งออกของไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ปัจจุบันการส่งออกของไทยต้องเผชิญแรงกดดันจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ โดยแรงกดดันภายนอกได้แก่ การค้าโลกที่ไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนในอดีต ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าโลกขยายตัวต่ำกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่หลายประเทศหันไปพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี อาทิ ด้านสิ่งแวดล้อม แรงงาน ปัญหาภัยธรรมชาติและโรคระบาด ส่วนแรงกดดันภายในได้แก่ ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตของไทย อาทิ การขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะ ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น อัตราการขยายตัวของผลิตภาพ (Productivity) แรงงานอยู่ในระดับต่ำ การขาดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมายาวนาน การขาดการขยายพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมหนัก ขาดการพัฒนาเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก ขาดการลงทุนและพัฒนาด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม ตราสินค้า และมูลค่าเพิ่มของสินค้า รวมทั้งขาดการพัฒนาเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก

ปัจจัยภายนอกที่ไม่เอื้ออำนวยและปัญหาเชิงโครงสร้างที่เร่งตัวขึ้นทำให้การส่งออกของไทยเผชิญกับภาวะ New Normal หรือภาวะที่การส่งออกขยายตัวไม่หวือหวาเช่นในอดีต ทางออกจึงได้แก่ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย โดยยกระดับผู้ประกอบการไทยให้เป็นมากกว่าผู้รับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacturer : OEM) มุ่งเป้าหมายสร้างแบรนด์ดังในระดับภูมิภาคและระดับโลก เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใช้ไอเดีย โน-ฮาว การบริหารจัดการ และนวัตกรรมเป็นทรัพยากรหลักในการผลิต ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกไทยควรต้องมองหาโอกาสในตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสในธุรกิจบริการซึ่งไทยมีศักยภาพสูงเป็นทุนเดิม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยวหรือโลจิสติกส์ ซึ่งไทยมีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์

Back to top button