CPF ชูแนวคิด “FEE” เน้น “พลาสติกรียูส” ลดปัญหาขยะอาหาร

CPF นำแนวคิด “FEE” มาใช้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยเน้น “พลาสติกรียูส” ซึ่งสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ และปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


นายกิตติ หวังวิวัฒน์ศิลป์ ในฐานะประธานคณะทำงานบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า CPF ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และเพียงพอสำหรับผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่ช่วยปกป้อง รักษาคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรตลอดกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายองค์กรคาร์บอนต่ำ

“ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยตลอดกระบวนการผลิตอาหาร ควบคู่กับการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร โดยเลือกใช้พลาสติกคุณภาพ Food Grade ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามหลักสากล ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัย” นายกิตติ กล่าว

ทั้งนี้ การบริหารจัดการด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของCPF เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนเป้าหมายด้านการจัดการพลาสติกของประเทศไทย โดยภายในปี 2568 CPFมีเป้าหมายลดปริมาณของเสียที่กำจัดโดยการฝังกลบหรือเผาต่อหน่วยงานผลิต 35% เทียบกับปีฐาน 2558  และ 100% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่นำมาใช้บรรจุอาหาร สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือผลิตเป็นสินค้าใหม่ หรือย่อยสลายได้ สำหรับกิจการประเทศไทย และกำหนดเป้าหมาย ในปี 2573 สำหรับกิจการต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน CPF มีการติดตามและตรวจประเมินตลอดห่วงโซ่ ทั้งธุรกิจอาหารสัตว์,ธุรกิจเลี้ยงสัตว์,แปรรูป รวมถึงธุรกิจอาหารและช่องทางจำหน่าย เพื่อลดการใช้พลาสติก ตั้งแต่ในช่วงการผลิต การบริโภค การจัดการหลังการบริโภค เช่น การนำแนวคิด  FEE มาใช้ในการออกแบบพัฒนา และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์อย่างเหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย  F หรือ Functional คือ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุของอาหารให้นานขึ้น ช่วยลดปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) เน้นบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกต่อการใช้ของผู้บริโภคและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เสียหายง่ายในระหว่างการขนส่ง

ส่วน E หรือ Emotional คือ พัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และ E คือ Ethics เน้นความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้บริโภค โดยใช้วัสดุคุณภาพดีได้มาตรฐานตามกฎหมายสามารถป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ยังคงคุณค่าทางโภชนาการและมุมของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ภายในปี 2568 ในส่วนของการแปรรูปเนื้อสัตว์และการผลิตอาหารสำเร็จรูปมีเป้าหมายลดการใช้กระดาษและพลาสติกในบรรจุภัณฑ์อาหารรวม 1,000 ตัน โดยการปรับวิธีการปิดปากถุงบรรจุไก่สดจากเดิม เป็นการปิดปากถุงด้วยวิธีซีลด้วยความร้อน ช่วยให้บรรจุภัณฑ์ปิดสนิท เพิ่มความปลอดภัยทำให้ขนาดถุงเล็กลงช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกลง เน้นออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็น MONO Material โดยเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่าย ซึ่งเป็นทิศทางที่จะมุ่งพัฒนาไปสู่การออกแบบเพื่อการรีไซเคิล (Design for Recycle) เอื้อต่อผู้บริโภคใน

Back to top button