DOD เร่งผลิต “ฟ้าทะลายโจร” หลังออเดอร์ทะลัก! ลุ้นปีนี้กำไรโดดเด่น
DOD ผู้นำสกัดพืชสมุนไพร มั่นใจความกระแสความต้องการ “ฟ้าทะลายโจร” พุ่ง หนุนกำลังการผลิตเพิ่ม ดันผลการดำเนินเติบโตโดดเด่น ขณะที่โบรกฯประเมินกำไรปกติปีนี้ 390 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% จากปีก่อน
สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันมีความรุนแรงทวีคูณ มีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มมาขึ้นจนเข้าสู่กว่าหลัก 1 หมื่นรายแล้ว รวมไปถึงการหาที่ตรวจ และรักษายากลำบาก ดังนั้นทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคกลับมาสนใจในตัวยาของแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะ “ฟ้าทะลายโจร” ที่มีการวิจัยแล้วว่าเป็นตัวสามารถต้านไวรัสได้
จากข้อมูลจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยืนยันว่า“ฟ้าทะลายโจร” มีแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide)ซึ่งเป็นสารสำคัญมีฤทธิ์ต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถช่วยลดการอักเสบและส่งเสริมภูมิคุ้มกันได้ระยะเบื้องต้น
กรณีดังกล่าวเชื่อว่าส่งผลบวกต่อ บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน) หรือ DOD ซึ่งจะได้ประโยชน์จากความต้องการฟ้าทะลายโจรเนื่องจากก่อนหน้าบริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อช่วยกันขับเคลื่อน สนับสนุนและส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย สู่ตลาดสากล ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ ได้ดำเนินตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่1 (พ.ศ.2560-2564) ของกระทรวงสาธารณสุขมาอยู่แล้ว
ขณะเดียวกันเมื่อวานนี้ (19 ก.ค.64 ) นางสาวสุวารินทร์ ก้อนทอง ประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงินบริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน) หรือ DOD เปิดเผยว่า ขณะนี้มีลูกค้าหลายรายสนใจผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจร ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการปรับสูตรผลิตภัณฑ์ และตกลงราคากับลูกค้าอยู่ จากเดิมที่บริษัทก็มีไลน์การผลิตบ้างแล้ว และหากขั้นตอนเรียบร้อยก็สามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เลย โดยคาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือนในการขอขึ้นทะเบียนได้
“จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันที่มีความรุนแรง รวมไปถึงการหาที่ตรวจยาก ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจฟ้าทะลายโจรมากขึ้น จนกลายเป็นกระแสขึ้นมา และคาดว่าหลังจากที่สินค้าของลูกค้าออกตลาดไป จะเป็นช่วงขาดตลาดของฟ้าทะลายโจรพอดี ทำให้สินค้าดังกล่าวจะเป็นที่ต้องการของตลาด และถ้าหากกระแสตอบรับดีต่อเนื่องก็คงจะมี Repeat Order เข้ามา” นางสาวสุวารินทร์กล่าว
สำหรับ DOD มีข้อได้เปรียบมีความพร้อมในเรื่องของโรงสกัด และห้องปฏิบัติการ (LAB) ซึ่งผ่านการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2017 จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงยังได้การรับรองมาตรฐาน ISO22000:2018 (ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร) และ ISO14001:2015 (ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม) จากบริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
พร้อมด้วยบริษัทฯมีทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ( R&D) ของบริษัทเอง ที่คอยค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมและพัฒนาสารสกัดพืชสมุนไพร รวมถึงการพัฒนากระบวนการสกัด ออกแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
โดยบริษัทมีสารสกัดแล้วทั้งสิ้น 14 ชนิด สำหรับ 5 ชนิดจะเป็นตัวที่อยู่ในแผนแม่บทแห่งชาติ ได้แก่ กระชายดำ ใบบัวบก ไพล ฟ้าทะลายโจร และขมิ้นชัน ซึ่งทั้งหมด DOD จะมีการดำเนินการอย่างแน่นอนเพื่อสนับสนุนรัฐบาลส่วนอีก 9 ชนิด ก็พบว่าเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ
นอกจากนี้ นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะทำงานด้านข้อมูลโควิด-19 ส.อ.ท. เปิดเผยว่า สถาบันได้เตรียมเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร 100,000 เมล็ดพันธุ์ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับโรงงานที่เป็นสมาชิก ส.อ.ท.ที่มีอยู่ 12,000 กิจการทั่วประเทศ เพื่อนำไปเพาะปลูกในพื้นที่โรงงาน และเก็บไว้เพื่อใช้ลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ในระยะเริ่มต้นให้กับแรงงาน โดยคาดว่าจะทยอยแจกให้กับโรงงานที่สนใจลงทะเบียนเข้ามาขอรับได้ในสัปดาห์นี้
เนื่องด้วยขณะนี้ฟ้าทะลายโจรเริ่มขาดแคลน หาซื้อได้ยากในท้องตลาด ส.อ.ท.จึงต้องเร่งแจกเมล็ดพันธุ์ให้สมาชิกนำไปปลูกในพื้นที่โรงงานเพื่อเตรียมความพร้อม ลดภาระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน มีระยะเวลาปลูก 110-120วันเท่านั้น ก็เก็บเกี่ยวได้ นำใบมารับประทานลดความรุนแรงได้ หากติดเชื้อในระยะเริ่มต้น เพราะหากจะรอวัคซีนอาจไม่ทันการณ์
ด้านนายเมธา สิมะวรา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร ส.อ.ท. กล่าวว่า คาดว่าความต้องการฟ้าทะลายโจรนับจากนี้ไปจะเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงการแพร่ระบาดรอบที่ 1 ทำให้ขณะนี้ ได้ส่งผลให้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะขาดตลาดช่วง 1-2 เดือนนี้ แต่จากการที่พืชกลุ่มนี้ปลูกง่าย มีวงจรการปลูกถึงเก็บเกี่ยว (Crop) ได้ 4 เดือน ทำให้ประเมินว่าระยะ 3-4 เดือนข้างหน้า จะมีปริมาณทยอยออกมาสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และเพียงพอกับความต้องการ
ทั้งนี้เชื่อว่าจากความต้องการ “ฟ้าทะลายโจร” จำนวนมาก ซึ่งทาง DOD มีโรงสกัดพืชสมุนไพรอยู่แล้ว พร้อมที่จากเดิมก็มีไลน์การผลิตบ้างแล้ว อีกทั้งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับสูตรผลิตภัณฑ์และตกลงราคากับลูกค้าอยู่ หากขั้นตอนเรียบร้อยก็สามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เลย โดยคาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือนในการขอขึ้นทะเบียนได้นั้น จะเข้ามาเป็นตัวผลักดันผลการดำเนินงานในอนาคตเติบโตแข็งแกร่งขึ้นไปอีก
ส่วนเบื้องต้นบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ (22 มิถุนายน 2564 ) ประเมินแนวโน้มกำไรปกติไตรมาส 2/2564 อาจทำได้ราว 90 ล้านบาท ดีขึ้นจาก 66 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 แต่คาดลดลงจาก 136 ล้านบาท ในไตรมาส 1/2564 เพราะรายได้ธุรกิจขายตรงและเครื่องสำอางลดลงมากหลังเจอ COVID-19 รอบ 3 และรายได้หลักจากรับจ้างผลิตคอลลาเจนอ่อนตัวลงในเดือน เม.ย.-พ.ค. 2564 แต่จะกลับมาดีขึ้นในเดือน มิ.ย. 2564
โดยภายหลังลูกค้ากลับมาทำโปรโมชั่นที่มากขึ้น ซึ่งมองว่าแนวโน้มรายได้และกำไรของธุรกิจเดิมอาจยังไม่ตื่นเต้น แม้หากกำไรไตรมาส 2/2564 เป็นไปตามคาด DOD จะมีกำไรปกติของครึ่งปีแรก 2564 อยู่ที่ 226 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหรือคิดเป็น 58% ของประมาณการทั้งปี นั่นหมายถึงกำไรครึ่งปีหลังของปี 2564 ทั้งนี้ทำให้ทางฝ่ายวิจัยคาดไว้ไตรมาสละ 80 ล้านบาท
ทั้งนี้ยังคงประมาณการกำไรปกติปี 2564ไว้ที่ 390 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และอยู่ระหว่างทบทวนกำไรปี 2565 ด้วยการรวมกัญชงไว้ในประมาณการจากปัจจุบันที่คาดไว้ 444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.8% จากงวดเดียวกันของปีที่แล้ว โดยให้ราคาเป้าหมายปี2564 ไว้ที่ 17 บาท (อิง PE เดิม 18 เท่า) คงคำแนะนำ “ซื้อ”